ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       เส้นใยธรรมชาติ (Natural fibers) เป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานาน ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากธรรมชาติ ได้แก่ พืช สัตว์ และสินแร่ต่างๆ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่น คือ น้ำหนักเบา เป็นฉนวนความร้อนที่ดี สวมใส่สบาย ปลอดภัยจากสารเคมี และมีความสวยงามเฉพาะตัว
 
 
(ที่มา : http://puntorkan.blogspot.com/2014/07/natural-fibre-project.html)
 
       โดยเส้นใยธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
       1. เส้นใยจากพืช หรือเส้นใยจากเซลลูโลส (Cellulose fibers) เป็นเส้นใยที่ประกอบด้วยเซลลูโลส ซึ่งได้จากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น
              (1) เส้นใยที่หุ้มเมล็ด ได้แก่
                      - ใยฝ้าย (Cotton) ผ้าที่ได้จากเส้นใยฝ้ายนั้นได้มาจากเมล็ดของฝ้าย โดยเมื่อแห้งจะแตกออกมาเป็นใยสีขาวมีความยาวที่แตกต่างกัน แล้วจึงนำมาทอเป็นผ้า ผ้าฝ้ายมีคุณสมบัติที่ดีและมีราคาถูกมีความทนทาน เรียบเป็นเงา ดูดซับน้ำได้ดี 
                      - ใยนุ่น (Kapok) ส่วนใหญ่มักนำเส้นใยนุ่นไปยัดเบาะ ฟูก หมอน ที่นอน ถุงนอน ตุ๊กตา เนื่องจากมีคุณสมบัติดูดความชื้นต่ำ มีน้ำหนักเบา ทนต่อแมลงและเชื้อราได้ดี
 
                                                               ใยฝ้าย                                                                                                   ใยนุ่น
    
                                                                    
 
                                 (ที่มา : https://www.ruedee.com/th/fabric/cotton/)                                                (ที่มา : https://chevitd.com/นุ่น/)
 
              (2) เส้นใยจากลำต้น ได้แก่
                      - ใยลินิน (Linen) เป็นเส้นใยที่ได้จากส่วนเปลือกของลำต้นแฟลกซ์ (Flax) มีคุณสมบัติคือ ระบายอากาศได้ดีมาก ดูซับเหงื่อได้ดี แต่ยับง่าย
                      - ใยปอ (Jute) เส้นใยปอมีความสำคัญและถูกนำมาใช้ประโยชน์มากรองจากฝ้าย แม้เป็นเส้นใยที่ไม่เหมาะสำหรับใช้ทำเป็นเสื้อผ้า เพราะมีความหยาบกระด้าง และระคายผิว แต่เหมาะสำหรับใช้ทำเชือก กระสอบ ถุง ผ้าตาข่าย และใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมบางชนิด
 
                                                                ใยลินิน                                                                                                    ใยปอ
 
                                                                    
 
                                  (ที่มา : https://thai.alibaba.com/product-detail/                                        (ที่มา : https://thai.alibaba.com/product-detail/jute-                               
                                        linen-fiber-flax-fiber--155120117.html)                                                     fiber-raw-jute-exporter-139858304.html)
 
              (3) เส้นใยจากใบ ได้แก่
                      - ใยสับปะรด (Pine apple) เส้นใยสับปะรดสามารถนำมาใช้ทำเส้นใยสิ่งทอ มีคุณสมบัติเหนียว นุ่ม มักนำมาใช้ทำเชือก ด้ายเย็บ และผ้าเนื้อผ้า 
                      - ใยป่านศรนารายณ์ (Sisal) มักนำมาใช้ประโยชน์สำหรับทำเชือกขนาดต่างๆ เพื่อใช้ในงานทางการเกษตร การเดินเรือ และเชือกห่อของ
 
                                                             ใยสับปะรด                                                                                          ใยป่านศรนารายณ์
 
                                                                    
 
                                     (ที่มา : http://www.thaiscience.info/journals/                                           (ที่มา : https://puechkaset.com/ป่านศรนารายณ์/)                                                                                      Article/SSCJ/10967028.pdf)
 
              (4) เส้นใยจากผล ได้แก่ เส้นใยมะพร้าว (Coir) เป็นเส้นใยที่ได้จากเปลือกของผลมะพร้าว ลักษณะเส้นใยแข็งกระด้าง ทนต่อความเปียกชื้นและการทำลายของจุลินทรีย์ได้ดี สามารถนำมาใช้ทำเบาะรถยนต์ ที่นอน เชือก เสื่อ แปรง และไม้กวาด
       2. เส้นใยจากสัตว์ หรือเส้นใยโปรตีน (Protein fibers) เป็นเส้นใยที่ประกอบด้วยสารประเภทโปรตีน ได้แก่ 
                      - ขนสัตว์ (Wool) ส่วนใหญ่ขนสัตว์ที่นำมาใช้ประโยชน์สำหรับทำเป็นเส้นใยมากที่สุดคือ ขนแกะ โดยเส้นใยขนแกะมีคุณสมบัติที่ดีเหมาะแก่การทำเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และความสบายแก่ผู้สวมใส่ในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นฉนวนความร้อนที่ดี ดูดความชื้นได้ดี และไม่ยับ
                      - ไหม (Silk) เป็นเส้นใยที่ได้จากหนอนไหม มีคุณสมบัติเหมาะแก่การทำเสื้อผ้า เนื่องจากผ้าไหมให้ความสบาย สวยงาม ทำให้มีราคาแพง 
 
                                                                ขนสัตว์                                                                                                  ไหม
 
                                                                   
 
(ที่มา : https://goterrestrial.com/2018/06/18/เส้นใยธรรมชาติจากขนสัต/)
 
       3. เส้นใยจากสินแร่ (Mineral fibers) เช่น แร่ใยหิน (Asbestos) มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี ทนความร้อนได้สูง มีความเหนียว และไม่นำไฟฟ้า
 
 
(ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/แร่ใยหิน)
 
       อย่างไรก็ตาม สิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติเหล่านี้อาจมีข้อเสียอยู่บ้าง แต่ผู้คนก็ยังให้ความนิยมและเลือกใช้กันเป็นจำนวนมาก โดยเส้นใยธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ เส้นใยจากพืช รองลงมาเป็น เส้นใยจากสัตว์ เนื่องจากเส้นใยจากพืชมีราคาถูก หาง่าย และมีปริมาณมากกว่าเส้นใยจากสัตว์
 
เอกสารอ้างอิง
ดรรชนี  พันธวรากร. เอกสารประกอบการสอนเทคโนโลยีสิ่งทอ (Textile technology).  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2561].  
       เข้าถึงจาก : http://www.inc.science.cmu.ac.th/thai/upload/article/file/12-11-05-37a74.pdf
บุรินทร์  พุทธโชติ. การผลิตเส้นใยสมรรถนะสูง (High performance fibers) เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม.  [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2561].  เข้าถึงจาก : http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/high_performance_fibers.pdf
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. เส้นใย (Fibers).  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2561].  
       เข้าถึงจาก : http://www2.mtec.or.th/th/research/textile/textile_sci.html