ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       ปัจจุบันปัญหาขยะกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมีจำนวนมาก สาเหตุเกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และการขยายตัวของชุมชนเมือง ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในสังคมมากมาย ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนได้ร่วมกันดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่หากการจัดการขยะถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมมือกัน แนวทางหนึ่งที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้ด้วยตัวเอง คือ การแยกขยะก่อนทิ้ง 

 

(ที่มา : https://thematter.co/sponsor/pepsi_csr/68436)

       โดยการแยกขยะอย่างถูกวิธี สามารถแยกตามประเภทของขยะได้ 4 ประเภท ดังนี้

       1. ขยะย่อยสลาย (Compostable waste) หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น แต่ไม่รวมถึง ซากหรือเศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ ขยะย่อยสลายนี้เป็นขยะที่พบมากที่สุด โดยพบมากถึง 64 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ และถังรองรับขยะย่อยสลาย คือ ถังสีเขียว

       2. ขยะรีไซเคิล (Recyclable waste) หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเครื่องดื่มแบบ UHT กระป๋องเครื่องดื่ม เศษโลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์ เป็นต้น ขยะรีไซเคิลนี้เป็นขยะที่พบมากเป็นอันดับที่สองในกองขยะ โดยพบประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ และถังรองรับขยะรีไซเคิล คือ ถังสีเหลือง

                                                            ขยะย่อยสลาย                                                                                            ขยะรีไซเคิล

                                                         

(ที่มา : file:///C:/Users/SI4-22/Downloads/3886-12745-2-PB.pdf)

       3. ขยะอันตราย (Hazardous waste) หรือ มูลฝอยอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ ได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น ขยะอันตรายนี้เป็นขยะที่มักพบได้น้อยที่สุด โดยพบประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ และถังรองรับขยะอันตราย คือ ถังสีส้ม หรือถังสีเทาฝาส้ม 

       4. ขยะทั่วไป (General waste) หรือ มูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยาก และไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอล์ยเปื้อนอาหาร เป็นต้น ขยะทั่วไปนี้เป็นขยะที่มีปริมาณใกล้เคียงกับขยะอันตราย โดยพบประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณขยะทั้งหมดในกองขยะ และถังรองรับขยะทั่วไป คือ ถังสีน้ำเงิน

                                                             ขยะอันตราย                                                                                              ขยะทั่วไป

                                                         

(ที่มา : file:///C:/Users/SI4-22/Downloads/3886-12745-2-PB.pdf)

       หากทุกคนช่วยกันแยกขยะอย่างถูกวิธีจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน นอกจากจะช่วยสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบที่ดีในการทิ้งขยะแล้ว ยังก่อให้เกิดคุณประโยชน์ในหลายๆ ด้าน คือ

              - ช่วยลดปริมาณขยะ เพราะเมื่อแยกวัสดุที่มีประโยชน์ออก เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก จะเหลือปริมาณขยะจริงที่ต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง
              - ประหยัดงบประมาณที่ใช้ในการกำจัดขยะ เมื่อปริมาณขยะจริงที่ต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง ส่งผลให้ใช้งบประมาณในการเก็บขนและกำจัดขยะน้อยลงไปด้วย ทำให้สามารถนำงบประมาณที่เหลือไปพัฒนาด้านอื่นเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนได้  
              - สามารถนำวัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก 
              - ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน เนื่องจากสามารถนำวัสดุประเภท แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก มารีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์ใหม่ ทำให้ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน 
              - ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม หากขยะมีปริมาณลดน้อยลง สิ่งแวดล้อมก็จะมีคุณภาพดีขึ้น สะอาด และปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน 
 
 
(ที่มา : https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=23116)
 
       ดังนั้น เราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปริมาณขยะได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง โดยการแยกประเภทของขยะก่อนนำไปทิ้งในถังขยะสาธารณะทุกครั้ง เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการคัดแยกขยะก่อนนำไปกำจัดหรือใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งหากปริมาณขยะลดน้อยลงก็ส่งผลให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศดีขึ้นด้วย  
 

เอกสารอ้างอิง

กองส่งเสริมบำรุงความรู้ กรมยุทธศึกษาทหารบก. การจัดการและการคัดแยกขยะ. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://nrei.rmutsv.ac.th/sites/default/files/poprosal/บทความการจัดการและการคัดแยกขยะ%20S.pdf
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ขยะมูลฝอยและการใช้ประโยชน์ : ความรู้ด้าน 3Rs. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2562].  
       เข้าถึงจาก : http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_3r.htm
สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือแนวทางการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
       สำหรับอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2562].  
       เข้าถึงจาก : http://www.mt.mahidol.ac.th/MT_Green/images/knowledge/แนวทางการลดคัดแยก%20และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย.pdf
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ. การจัดการขยะมูลฝอย วาระแห่งชาติ…เริ่มต้นได้ที่ตัวเรา. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2562]. 
       เข้าถึงจาก : https://www.prachachat.net/columns/news-292725