ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       ขยะหรือมูลฝอย (Solid waste) หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น รวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน หรือครัวเรือน ยกเว้นวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของโรงงานซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน โดยขยะนับเป็นหนึ่งในปัญหามลพิษหลักของประเทศ เนื่องจากพบว่าประเทศไทยมีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นทุกปี และมีอัตราการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ในปริมาณที่ต่ำมาก หากไม่มีการกำจัดขยะเหล่านี้ให้ถูกต้องและเหมาะสม ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม รวมถึงเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
 
 
(ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/blog/content/59995/)
 
       การลดปริมาณขยะเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องร่วมมือกัน ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งแนวทางการจัดการขยะสามารถปฏิบัติได้โดยใช้หลัก 3Rs คือ
       1. ใช้น้อย หรือลดการใช้ (Reduce) โดยลดปริมาณการใช้ลง ใช้เท่าที่จำเป็น การเลือกใช้สินค้าที่อายุการใช้งานสูง รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้อย่างฟุ่มเฟือยเพื่อลดการสูญเปล่าและลดปริมาณขยะให้มากที่สุด เช่น ใช้ตะกร้าหรือถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติกในการจับจ่ายซื้อของ ใช้แก้วส่วนตัวแทนการใช้แก้วครั้งเดียวแล้วทิ้ง ใช้ปิ่นโตหรือกล่องใส่อาหารแทนการใช้กล่องโฟมซึ่งย่อยสลายยาก และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติม (Refill)
 
                                                                                 
 
 
                      (ที่มา : http://www.slowlife.company/ใช้-ถุงผ้า-ใส่อาหารสด/)                                  (ที่มา : https://www.joom.com/th/products/
                                                                                                                                         1521621147164053434-204-1-709-3406950198)
 
       2. ใช้ซ้ำ (Reuse) เป็นการนำของเสียบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ โดยไม่ผ่านกระบวนการ  แปรรูปหรือแปรสภาพ เช่น นำถุงพลาสติกมาเป็นถุงขยะ การใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า นำเสื้อผ้าหรือของเล่นไปบริจาคให้ผู้อื่น นำไปขายสินค้ามือสอง รวมถึงการทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ จากวัสดุเหลือใช้ ได้แก่ นำยางรถยนต์มาผลิตเก้าอี้ นำขวดพลาสติกมาดัดแปลงเป็นแจกันหรือที่ใส่ของอเนกประสงค์ และนำเศษผ้ามาทำเปลนอน 
 
                                                                          
 
                       (ที่มา : http://www.vkk-packaging.com/มาตรฐานขนาดของกระดาษ/)                     (ที่มา : https://www.sanook.com/campus/1370952/)
 
       3. รีไซเคิล หรือแปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) โดยนำขยะรีไซเคิล ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต หรือเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การนำกระป๋องอะลูมิเนียมมาหลอมเป็นขาเทียม นำกล่องเครื่องดื่ม UHT มาแปรรูปเป็นกระเป๋า นำกระดาษมาแปรรูปเป็นกล่องทิชชู และการนำขวดพลาสติก (PET) มาแปรรูปเป็นเสื้อ ทั้งนี้ การรีไซเคิลนอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะแล้ว ยังสามารถช่วยลดการใช้พลังงานและลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
 
                                                                          
 
                              (ที่มา : https://ccs2-onlinemarket.tecs4.com/index.php/                   (ที่มา : https://www.isranews.org/isranews-pr-news/71388-gc.html)
                             used-osop/กระเป๋าสานจากกล่องนมพาสเจอร์ไรท์-detail.html)
 
       จะเห็นได้ว่า แนวทางการจัดการขยะโดยใช้หลัก 3Rs เป็นวิธีการง่ายๆ ที่เราทุกคนสามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อลดปริมาณขยะจากบ้านเรือนและชุมชน ส่งผลให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีความสะอาด รวมทั้งยังช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และลดการใช้พลังงานได้อีกด้วย ซึ่งหากทุกคนตระหนักและมีจิตสำนึกที่ดีในการรักษาความสะอาดทั้งในบ้านเรือนของตัวเอง ถนนหนทาง สถานที่ทำงาน หรือที่สาธารณะอื่นๆ ทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง ไม่มักง่าย เพียงเท่านี้โลกของเราก็จะน่าอยู่ไปอีกนานแสนนาน
 
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คู่มือปฏิบัติการ 3 ใช้ (3R) เพื่อจัดการขยะชุมชน. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://www.pcd.go.th/file/06-09-61/16.pdf
สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือแนวทางการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย สำหรับอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
       และสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2562].  เข้าถึงจาก : http://www.mt.mahidol.ac.th/MT_Green/images/knowledge/แนวทางการลดคัดแยก%20
       และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย.pdf
สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือประชาชน การคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีและเพิ่มมูลค่า. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://infofile.pcd.go.th/waste/3Rs.pdf?CFID=1792856&CFTOKEN=41292535