ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมกับ มจธ. พัฒนาผ้าทอ OTOP ภาคเหนือนำร่องอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งเสริมผ้าทอพื้นบ้านให้มีคุณภาพ มาตรฐาน

ผ้าทอ OTOP ในภาคเหนือ เป็นสินค้าเชิงวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เช่น ผ้าทอมือ ผ้าฝ้าย ผ้าลายพื้นเมือง เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความประณีตเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น รวมทั้งมีประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกเรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากสินค้าผ้าทอ OTOP นี้ได้รับการยกระดับให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ จะสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าช่วยเพิ่มรายได้ชุมชนให้สูงขึ้นได้

นางสาวเสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับผ้าทอ OTOP ในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ เริ่มที่อำเภอแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน

เป้าหมายพัฒนาการผลิตผ้าทอตั้งแต่การตรวจสอบลักษณะผ้า ชนิดเส้นใย การวัดขนาด การเย็บ การย้อมสีด้วยวัสดุธรรมชาติและสีสังเคราะห์ การทดสอบความเป็นกรดด่างของผ้า การตรวจสอบทางเคมีและความปลอดภัยของการใช้สารเคมี รวมทั้งถ่ายทอดเทคนิคการบำบัดน้ำเสียจากการฟอกย้อมด้วย ส่งเสริมผ้าทอพื้นบ้านให้มีคุณภาพและสามารถยื่นขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)ประเภทผ้าทอได้

ซึ่งเมื่อได้รับการรับรองจะทำให้สินค้าได้รับการยอมรับสามารถจำหน่ายในราคาที่เพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่าสินค้าผ้าทอ ที่มีปัญหาไม่ผ่านมาตรฐาน มผช. มีสาเหตุจากการผลิตที่ไม่ตรงตามมาตรฐาน อีกทั้งมีการย้อมสีเส้นด้ายด้วยสีสังเคราะห์มากขึ้นเพราะให้สีสันที่สดใสและกรรมวิธีการย้อมรวดเร็วไม่ยุ่งยาก ซึ่งการย้อมสีสังเคราะห์สีย้อมประเภทเอโซเมื่อสัมผัสผิวหนังแล้วเข้าสู่ร่างกาย สีเอโซบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ผศ.ดร.วรนุช เกิดสินธ์ชัย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หัวหน้าโครงการฯ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าผ้าทอOTOP สู่การรับรองมาตรฐานในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี สุพรรณบุรี แพร่ อุทัยธานี โดยเริ่มที่แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดแรก เพื่อคัดเลือกกลุ่มผู้ประกอบการผ้าทอ OTOP ประเภทผ้าทอในจังหวัดที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เข้าร่วมโครงการฯพร้อมจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสินค้าสอดคล้องตามสภาพปัญหาของชุมชน

โดยจำแนกเป็นรายกลุ่ม และรายผลิตภัณฑ์ ตั้งเป้าหมายไว้จำนวนไม่น้อยกว่า 50 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งการพัฒนาคุณภาพของผ้าทอมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจในการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพ ให้คำปรึกษา ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต วิธีการทดสอบผ้าเบื้องต้น เช่น ทดสอบความเป็นกรด-ด่าง ทดสอบความคงทนของสีต่อการซัก ถ่ายทอดความรู้การย้อมเส้นด้ายด้วยสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมการผลิตผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ ซึ่งนอกจากจะมีคุณค่าและมีราคาสูงแล้วยังปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้ใช้ เป็นที่นิยมของตลาดในประเทศและต่างประเทศด้วย

รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการผลิตการขยายตลาดต่อไป โดยการเปิดสัมมนาชี้แจงโครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทผ้าทอในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าผ้าทอ OTOP ที่เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านศรีดอนชัย กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงพะมะลอ กลุ่มทอผ้าบ้านโป่งหมู่ 12 บ้านโป่งดอยช้าง บ้านห้วยโพ บ้านแพะคะปอง บ้านป่าแป๋ บ้านไร่

นางโชติธา ไชยชนะ หัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผนอุตสาหกรรม ผู้แทนอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้กล่าวในการสัมมนาฯ ว่า การตรวจสินค้าผ้าทอแต่ก่อนตรวจดูด้วยตา แต่ปัจจุบันมาตรฐาน มผช. สินค้าผ่านยากขึ้นตรวจดูด้วยตาอย่างเดียวไม่ได้ และพบว่าสินค้าไม่ผ่านจำนวนมากเกิดจากเรื่องของสารเคมีจากการย้อม ทำให้เมื่อตรวจไม่ผ่านผู้ผลิตเกิดการท้อทั้งๆ ที่ฝีมือการผลิต ลวดลายผ้ามีความสวยงามผ่านมาตรฐาน ดังนั้นการที่กลุ่มผู้ผลิตได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาสินค้าผ้าทอฯ นี้ เป็นโอกาสที่ทำให้แก้ไขปัญหาได้ ลดเวลา ลดต้นทุนในการขอ มผช.ได้

นางพรทิพย์ ไชยวัฒน์ พัฒนาการอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้กล่าวในการสัมมนาฯ ว่า พัฒนาชุมชนจังหวัดมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการนำข้อมูลเบื้องต้นในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถช่วยแก้ปัญหาได้จากฐานข้อมูล และจัดกลุ่มเพื่อพัฒนาได้ตรงความต้องการ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันในการเพิ่มรายได้ชุมชน

นางยูเชอ บูเน่ ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านศรีดอนชัย ให้ข้อมูลว่ากลุ่มมีสมาชิก 20 คน ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 40 ปีขึ้นไปจนถึง 70 ปี ผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มมีทั้งเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายอื่นๆ คาดหวังว่าการช่วยพัฒนาสินค้าผ้าทอของชุมชนจะทำให้จำหน่ายสินค้าได้ดีขึ้น และสินค้ามีคุณภาพเพิ่มขึ้น การย้อมสีได้สวยมีความปลอดภัยต่อตนเอง และผู้ซื้อไปใช้

วันที่เผยแพร่ : 11 พฤษภาคม 2557

แหล่งที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ http://bit.ly/1fTx0Fj