ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

Notice: Trying to get property of non-object in D:\xampp\htdocs\otopinfo\modules\mod_menu\helper.php on line 36

Notice: Trying to get property of non-object in D:\xampp\htdocs\otopinfo\modules\mod_menu\helper.php on line 44

Notice: Trying to get property of non-object in D:\xampp\htdocs\otopinfo\modules\mod_menu\mod_menu.php on line 19

       วิตามินอี หรือ โทโรพีรอล (Tocopherol) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน จัดเป็นแอลกอฮอล์ชนิดไม่อิ่มตัว มีลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อน ทนต่อความร้อนและกรด แต่ไม่ทนต่อด่าง รังสีอัลตราไวโอเลต และออกซิเจน จะถูกทำลายเมื่อสัมผัสกับน้ำมันที่เหม็นหืน ตะกั่ว และเหล็ก วิตามินอีมีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดออกซิเดชัน (oxidation) ของกรดไขมันไม่อิ่มตัว มีการดูดซึมโดยอาศัยเกลือน้ำดีและไขมัน ถูกเก็บสะสมในร่างกายบริเวณตับ หัวใจ อัณฑะ มดลูก กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อไขมัน ต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมอง 

ที่มา : https://biopharm.co.th/วิตามิน-อี-vitamin-e/

       วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยป้องกันเซลล์และเนื้อเยื่อร่างกายจากอนุมูลอิสระ จำเป็นต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานของเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายให้นานขึ้น ช่วยผลิตฮอร์โมนต่างๆ ทำให้เกิดความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ป้องกันเซลล์สมอง และป้องกันเซลล์ปอด ทำให้ระบบการหายใจและระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ป้องกัน LDL ของคอเลสเตอรอลไม่ให้เกาะและพอกผนังหลอดเลือด (ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ) ช่วยให้เลือดไม่เกาะเหนียวเป็นเกล็ดเม็ดเลือด นอกจากนี้ยังทำให้ระบบประสาทกล้ามเนื้อรวมถึงสายตาดีขึ้น และช่วยขจัดสาร Prostaglandin E2 ไม่ให้เป็นอันตรายต่อระบบคุ้มกัน 
 
       วิตามินอีพบมากในพืชประเภทที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วลิสง เมล็ดพืช น้ำมันพืช  น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันจากจมูกข้าวสาลี (wheat germ) น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดฝ้าย อัลมอนด์ และผักใบเขียว นอกจากนี้ยังพบในเนื้อสัตว์ ได้แก่ ปลาแซวมอน เนย นม และไข่
 
   
        ที่มา : https://bit.ly/34UBwyv                 ที่มา : https://bit.ly/2s3JZ3C         ที่มา : https://medthai.com/อัลมอนด์/
 
       ร่างกายมนุษย์ควรได้รับวิตามินอีในปริมาณที่เพียงพอ โดยปริมาณวิตามินอีที่ควรได้รับในเด็กคือ 6-7 มิลลิกรัม วัยรุ่นและผู้ใหญ่คือ 11-15 มิลลิกรัม สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรเพิ่มปริมาณจากเดิมขึ้นอีก 2-4 มิลลิกรัม เพราะหากร่างกายขาดวิตามินอีจะทำให้เม็ดเลือดเปราะ เกิดภาวะโลหิตจาง เนื้อเยื่อเสื่อมสภาพเร็ว นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว ระบบประสาททำงานผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรง สำหรับหญิงมีครรภ์อาจแท้งบุตรได้ง่าย แต่หากร่างกายได้รับวิตามินอีมากเกินไปจะมีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามั่ว อ่อนเพลีย อึดอัดในช่องท้อง และท้องเสีย ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง วิตามินอี โดยเอกสารอ้างอิงทั้งหมด สามารถขอรับบริการได้ที่สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ หรือสามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติในเว็บไซต์ http://siweb.dss.go.th/ จากคำสืบค้น วิตามินอี (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=วิตามินอี)
 
 
 
 
เอกสารอ้างอิง
พวงผกา แก้วมณี. มหัศจรรย์วิตามินยอดนิยม A-Z. วิตามินอี ผู้สร้างคุณค่าแห่งความงามและอายุวัฒนะ.  
       กรุงเทพฯ : เบสบุ๊ค, 2554, หน้า 203-205.
ลักษณา อินทร์กลับ. โภชนาศาสตร์เชิงชีวเคมี วิตามิน เกลือแร่ น้ำ และใยอาหาร. วิตามินอี.
       กรุงเทพฯ : มีเดียการพิมพ์, 2543, หน้า 48-51.
วิชัย คงสุวรรณ. แร่ธาตุจำเป็นต่อสุขภาพ เล่ม2. วิตามินอี. กรุงเทพฯ : เอ็ม.ที.พริ้นท์, 2547, หน้า 94-99.
สุพัตรา แซ่ลิ่ม. วิตามินกินถูกสุขภาพดี. วิตามินอี. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553, หน้า 152-153.