
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
20 กรกฎาคม 2561 นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) เป็นประธานในการประชุมร่วมกับผู้แทนสถาบันการศึกษา 9 แห่ง ที่บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่ 10 จังหวัดยากจน ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้า และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เพื่อหารือติดตามผลการดำเนินงานรวมทั้งรายงานความก้าวหน้าและประเด็นปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
นางอุมาพรฯ กล่าวว่า วศ. ได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในพื้นที่ 10 จังหวัดยากจน ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน ชัยนาท นครพนม กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ ปัตตานี และ นราธิวาส ในปี 2561 นี้ตั้งเป้าพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP ไม่น้อยกว่า 1,000 กลุ่ม จำนวน 15,000 ราย โดยดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายสถาบันการศึกษา ซึ่งครั้งนี้มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมประชุม ได้แก่ มทร.ล้านนา มรภ.อุตรดิตถ์ มรภ.สกลนคร ม.กาฬสินธุ์ มรภ.อุบลราชธานี มรภ.บุรีรัมย์ มรภ.ร้อยเอ็ด มรภ.สงขลา และ มรภ.ยะลา
ภายหลังการประชุม นางอุมาพรฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ได้รับฟังปัญหาอุปสรรคและความคืบหน้าผลการดำเนินงานจากสถาบันการศึกษาทั้ง 9 แห่ง ในการสำรวจปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ OTOP เพื่อคัดเลือกกลุ่มผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ และการประเมินผู้นำกลุ่มและวิเคราะห์ดาวเด่น (case success) ซึ่งผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่มีบางหน่วยงานอยู่ในช่วงดำเนินการ เนื่องจากแต่ละเรื่องจะมีอุปสรรคแตกต่างกันไป การที่ได้มาประชุมร่วมกันนอกจากได้รับทราบผลดำเนินงานแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนถึงแผนการทำงานเพื่อที่จะนำข้อมูลไปต่อยอดตอบโจทย์และเติมเต็มในการแก้ปัญหาให้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ OTOP มีคุณภาพได้มาตรฐานสร้างรายได้ สร้างอาชีพชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่กำลังจะก้าวไปสู่สังคม 4.0 ต่อไป
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : ธนากร ปัญญาฤดีพร ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม