ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

คุณภาพของกล้วยสด(สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2548)

                มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กล้วย มาตรฐานเลขที่ มกอช.0006-2548 ได้กำหนดคุณภาพของกล้วยสายพันธุ์ที่ผลิตเป็นการค้าสำหรับบริโภคสดไว้ดังนี้

                (1) ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ

  (1.1) คุณภาพขั้นต่ำ กล้วยทุกชั้นคุณภาพต้องมีคุณภาพดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะมีข้อกำหนดเฉพาะ

ของแต่ละชั้น และเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้มีได้ตามที่ระบุไว้

  • เป็นกล้วยครบทั้งผล
  • เนื้อแน่น
  • ลักษณะและคุณสมบัติตรงตามพันธุ์
  • มีความสด ผลไม่เน่าเสีย ซึ่งไม่เหมาะสมในการบริโภค
  • สะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้
  • ไม่มีรอยช้ำที่เด่นชัด
  • ผลและขั้วผลมีรูปร่างปกติ ขั้วผลไม่เสียหายจากเชื้อราหรือเหี่ยวแห้ง
  • ไม่มีศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อรูปลักษณ์ทั่วไปของผลผลิต
  • ไม่มีความเสียหายของผลผลิตเนื่องจากศัตรูพืช ยกเว้นความเสียหายนั้นไม่กระทบต่อคุณภาพการบริโภค
  • ไม่มีเกสรแห้งติดอยู่
  • ไม่มีความเสียหายเนื่องจากอุณหภูมิต่ำ หรือสูง
  • ไม่มีความชื้นที่ผิดปกติจากภายนอกบนผล ทั้งนี้ไม่รวมหยดน้ำที่เกิดหลังจากนำออกจากห้องเย็น และจากการเก็บรักษาในสภาวะปรับอากาศ
  • ไม่มีกลิ่นและรสชาติแปลกปลอม หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง

สำหรับกล้วยที่เป็นหวี และหวีแบ่ง ต้องมีข้อกำหนดเพิ่มเติม คือ ขั้วหวีมีสภาพสมบูรณ์ รอยตัดด้านขวางเรียบ สะอาด ไม่ฉีกขาด ไม่มีบาดแผลจากการตัดแต่งที่มีผลกระทบต่อรูปลักษณ์ผลิตผล นอกจากนี้ กล้วยมีความแก่ได้ที่ คือ ผลที่สามารถพัฒนาเป็นสุกได้ หลังจากเก็บเกี่ยวจากต้นโดยมีความแก่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้เหมาะสมกับพันธุ์และแหล่งปลูก คุณภาพการรับประมานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และผลอยู่ในสภาพที่ยอมรับได้เมื่อถึงปลายทาง

                (1.2) การแบ่งชั้นคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ชั้นคุณภาพ คือ

  • ชั้นพิเศษ (Extra Class) ผลกล้วยในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดีที่สุด มีลักษณะรูปทรง สี และรสชาติตรงตามพันธุ์ ผลไม่มีรอยตำหนิ ยกเว้นมีรอยตำหนิผิวเผินเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และไม่มีผลกระทบต่อลักษณะโดยทั่วไปของผล คุณภาพ คุณภาพการเก็บรักษา และการจัดเรียงในบรรจุภัณฑ์
  • ชั้นหนึ่ง (Class I) ผลกล้วยในชั้นนี้มีคุณภาพดี มีลักษณะรูปทรง สี และรสชาติตรงตามพันธุ์ ผลมีตำหนิด้านสี หรือรูปร่างผลได้เล็กน้อย ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อลักษณะทั่วไปของผล คุณภาพ คุณภาพการเก็บรักษา และการจัดเรียงในบรรจุภัณฑ์ ผิวมีตำหนิได้เล็กน้อยจากการเสียดสี หรืออื่นๆ โดยรวมได้ไม่เกิน 2 ตารางเซนติเมตร (cm2) ของพื้นที่ผิวทั้งหมด และตำหนิดังกล่าวต้องไม่มีผลต่อเนื้อกล้วย
  • ชั้นสอง (Class II) ชั้นนี้รวมกล้วยที่มีคุณภาพไม่เข้าชั้นที่สูงกว่า แต่มีคุณภาพขั้นต่ำดังข้อ 1.1 มีตำหนิด้านรูปร่าง หรือสีผิดปกติได้บ้าง โดยกล้วยยังคงลักษณะที่สำคัญ เช่น คุณภาพ และคุณภาพการเก็บรักษา ผิวมีตำหนิอันเนื่องจากแผลเป็นหรือการเสียดสี ความเสียหายดังกล่าว โดยรวมไม่เกิน 4 ตารางเซนติเมตร (cm2) ของพื้นที่ผิวทั้งหมด และตำหนิดังกล่าวต้องไม่มีผลต่อเนื้อกล้วย

                (2) ข้อกำหนดเรื่องขนาด

                (2.1) ขนาดของกล้วยหอมทอง และกล้วยไข่ จะพิจารณาจากน้ำหนักผล หรือความยาวผล หรือเส้นผ่าศูนย์กลาง อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังตารางที่ 5-6

ตารางที่ 5แสดงรหัสขนาดของกล้วยหอมทอง

รหัส

ขนาด

น้ำหนักผล

(กรัม)

ความยาวผล

(เซนติเมตร)

เส้นผ่าศูนย์กลาง

(เซนติเมตร)

1

> 230

> 24

> 4.6

2

> 200-230

> 22-24

> 4.3-4.6

3

> 170-200

> 20-22

> 4.0-4.3

4

> 140-170

> 18-20

> 3.6-4.0

5

> 110-140

> 16-18

> 3.3-3.6

6

> 80-110

> 14-16

> 3.0-3.3

7

70-80

12-14

2.8-3.0

 

                                               (ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2548)

ตารางที่ 6แสดงรหัสขนาดของกล้วยไข่

รหัส

ขนาด

น้ำหนักผล

(กรัม)

ความยาวผล

(เซนติเมตร)

เส้นผ่าศูนย์กลาง

(เซนติเมตร)

1

> 100

> 13

> 3.8

2

> 85-100

> 11-13

> 3.5-3.8

3

> 70-85

> 9-11

> 3.0-3.5

4

> 55-70

> 7-9

> 2.5-3.0

5

> 40-55

> 7

> 2.0-2.5

 

                                               (ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2548)

             (2.2) วิธีการเลือกผลกล้วยในการวัดขนาดความยาวและเส้นผ่าศูนย์กลาง

  • กรณีเป็นหวี ให้ใช้ผลเดี่ยว หรือผลใดผลหนึ่งของผลคู่ที่อยู่กึ่งกลางของหวีแถวนอก
  • กรณีเป็นหวีแบ่งให้ใช้ผลเดี่ยวที่ติดกับรอยตัดหวี และอยู่แถวนอกของหวีแบ่ง กรณีที่หวีแบ่งนั้นมีรอยตัดสองข้างให้ใช้ค่าเฉลี่ยที่วัดจากผลที่ติดกับรอยตัดหวีทั้งสองข้าง และอยู่แถวนอกของหวีแบ่ง

              (2.3) วิธีวัดขนาดของผลกล้วย

  • ยาวของผลกล้วย ให้วัดจากส่วนโค้งด้านนอกจากปลายผลถึงฐานขั้วผล
  • เส้นผ่าศูนย์กลางของผลกล้วย ให้วัดจากส่วนที่กว้างที่สุดของผลกล้วย
  • น้ำหนักผลกล้วย ให้คำนวณจากน้ำหนักผลกล้วยทั้งหวีหารด้วยจำนวนผลกล้วย

 (3) สารปนเปื้อน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อกำหนดของมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง สารปนเปื้อน

 (4) สารพิษตกค้าง ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อกำหนดของมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง สารพิษตกค้าง

คุณภาพของผลิตภัณฑ์จากกล้วย

               (1) น้ำกล้วย (Banana drink) เป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการนำกล้วยที่อยู่ในสกุล Musa Linn. เช่น          กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง อาจนำไปนึ่งก่อนปอกเปลือก แล้วนำเนื้อกล้วยมาตีป่นกับน้ำ กรอง อาจมีการปรุงแต่งกลิ่นรสและเติมส่วนผสมอื่น เช่น น้ำตาล กรดซิทริก น้ำนมถั่วเหลือง ชาเขียว นมผง ครีมเทียม อาจเติม   สเตบิไลเซอร์ นำไปฆ่าเชื้อโดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์ก่อนหรือหลังบรรจุ และต้องเก็บรักษาโดยการแช่เย็น มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำกล้วย มาตรฐานเลขที่ มผช.1483/2558 (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2558) ได้กำหนดคุณภาพของน้ำกล้วยไว้ ดังนี้

(1.1) ลักษณะทั่วไป ต้องเป็นของเหลวใสหรือขุ่น อาจตกตะกอนเมื่อวางทิ้งไว้

(1.2) สี ต้องมีสีดีตามธรรมชาติของน้ำกล้วย และส่วนประกอบที่ใช้

(1.3) กลิ่นรส ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของน้ำกล้วย และส่วนประกอบที่ใช้ ไม่มีกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นแอลกอฮอล์ กลิ่นรสเปรี้ยวบูด

(1.4) สิ่งแปลกปลอม ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดินทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์

(1.5) วัตถุเจือปนอาหาร 

  • ใช้สีสังเคราะห์ทุกชนิด
  • ห้ามใช้วัตถุกันเสียทุกชนิด เว้นแต่กรณีที่ติดมากับวัตถุดิบให้เป็นตามชนิดและปริมาณที่กฎหมายกำหนด
  • หากมีการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณที่กฎหมายกำหนด 

              (1.6) จุลินทรีย์

  • จุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1 ×104 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
  • แซลโมเนลลา ต้องไม่พบในตัวอย่าง 25 มิลลิลิตร
  • สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้องน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
  • บาซิลลัส ซีเรียส ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
  • คลอสทริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
  • ลิสเทอเรีย มอนอไซโทจีเนส ต้องไม่พบในตัวอย่าง 25 มิลลิลิตร
  • โคลิฟอร์ม โดยวิธีเอ็มพีเอ็น ต้องน้อยกว่า 2.2 ต่อตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
  • เอสเชอริเชีย โคไล ต้องไม่พบในตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
  • ยีสต์และรา ต้องน้อยกว่า 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร

(2) กล้วยอบ (Dried banana) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกล้วยทั้งผลหรือกล้วยที่ตัดแต่งเป็นรูปทรงตามต้องการ มาทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือแหล่งพลังงานอื่น อาจปรุงแต่งรสก่อนหรือหลังการทำให้แห้งด้วยส่วนประกอบอื่น เช่น น้ำผึ้ง หรือวัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสอื่นก็ได้ อาจตกแต่ง เคลือบ หรือสอดไส้ด้วยส่วนประกอบอื่น เช่น ช็อกโกแลต งา ผลไม้กวน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กล้วยอบ มาตรฐานเลขที่ มผช.112/2558 (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2558) ได้กำหนดคุณภาพของกล้วยอบไว้ ดังนี้

                                (2.1) ลักษณะทั่วไป ต้องนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง ในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องมีรูปทรงและขนาดใกล้เคียงกัน

                                (2.2) สี ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของกล้วยอบและส่วนประกอบที่ใช้

                                (2.3) กลิ่น ต้องมีกลิ่นที่ดีตามธรรมชาติของกล้วยอบและส่วนประกอบที่ใช้ ไม่มีกลิ่นอื่นที่    ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน กลิ่นไหม้

                                (2.4) กลิ่นรส ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของกล้วยอบและส่วนประกอบที่ใช้ ไม่มีกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์

                                (2.5) สิ่งแปลกปลอม ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์

                                (2.6) วอเตอร์แอกทิวิตี ต้องไม่เกิน 0.85 การทดสอบให้ใช้เครื่องวัดวอเตอร์แอกทิวิตีที่ควบคุมอุณหภูมิที่ (25±2) องศาเซลเซียส

              หมายเหตุ วอเตอร์แอกทิวิตีเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมและป้องกันการเสื่อมเสียของผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งมีผลโดยตรงต่ออายุการเก็บรักษา

              ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากค่าวอเตอร์แอกทิวิตีเป็นปัจจัยที่ชี้ระดับปริมาณน้ำอิสระที่เชื้อจุลินทรีย์ใช้ในการเจริญเติบโต

                                (2.7) วัตถุเจือปนอาหาร ห้ามใช้สีและวัตถุกันเสียทุกชนิด เว้นแต่กรณีที่ติดมากับวัตถุดิบให้เป็นไปตามชนิดและปริมาณที่กฎหมายกำหนด

                                (2.8) จุลินทรีย์

  • จุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องน้อยกว่า 1 × 106 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
  • แซลโมเนลลา ต้องไม่พบในตัวอย่าง 25 กรัม
  • สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้องน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
  • เอสเชอริเชีย โคไล โดยวิธีเอ็มพีเอ็น ต้องน้อยกว่า 3 ต่อตัวอย่าง 1 กรัม
  • ยีสต์และรา ต้องน้อยกว่า 1 × 103 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม

(3) แป้งกล้วย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำผลกล้วยมาปอกเปลือก อาจนึ่งหรือลวกก่อนปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นบาง ทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือแหล่งพลังงานอื่น บดให้ละเอียด ร่อนผ่านตะแกรง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน แป้งกล้วย มาตรฐานเลขที่ มผช.1375/2550 (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2550) ได้กำหนดคุณภาพของกล้วยอบไว้ ดังนี้

                                (3.1) ลักษณะทั่วไป ต้องเป็นผงละเอียด แห้ง ไม่จับตัวเป็นก้อน

                                (3.2) สี ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของแป้งกล้วย

                                (3.3) กลิ่น ต้องมีกลิ่นที่ดีตามธรรมชาติของแป้งกล้วย ปราศจากกลิ่นอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน

                                (3.4) สิ่งแปลกปลอม ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์

                                (3.5) ความชื้น ต้องไม่เกินร้อยละ 12 โดยน้ำหนัก

                                (3.6) จุลินทรีย์ ยีสต์และรา ต้องไม่เกิน 500 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม

                นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากกล้วยอื่นๆ ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กล้วยในน้ำผึ้ง มาตรฐานเลขที่ มผช.757/2548 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซอสกล้วย มาตรฐานเลขที่ มผช.1223/2549