ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
การกระจายตัวของสารไดออกซินลงสู่สิ่งแวดล้อม (พล  สาเททอง, 2549)
              การกระจายของสารไดออกซินสู่สิ่งแวดล้อมมีหลายวิธี  ดังนี้
              1. การกระจายสู่แหล่งน้ำ ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้กำหนดปริมาณไดออกซินที่มนุษย์สามารถรับเข้าไปในร่างกายทางน้ำและยอมรับได้ (acceptable human intake limits) ดังแสดงในตารางที่ 5 โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมืองออนตาริโอ ประเทศแคนาดาได้กำหนดปริมาณไดออกซินในน้ำดื่ม (drinking water) ไว้ที่ 15 pg/L TCDD TEQ และระดับการปนเปื้อนของสูงสุดสำหรับ TCDD กำหนดโดยประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S EPA) เท่ากับ 0.03 ng/L และเนื่องจากไดออกซินเป็นสารที่ละลายน้ำได้ต่ำจึงถูกดูดซับอยู่บนตะกอน ดังนั้นจะพบว่าในน้ำดื่มจะมีสารไดออกซินอยู่น้อยมากคือ น้อยกว่า 1 พิโครกรัม (pg) น้ำดื่มที่มีสารไดออกซิน 0.5 พิโครกรัม จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของสารไดออกซินเข้าสู่ร่างกายมนุษย์สูงถึง 1,000 พิโครกรัม ต่อ วัน หรือมากกว่า 10 พิโครกรัม ต่อ กิโลกรัม ต่อ วัน สำหรับคนที่มีน้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม
 
ตารางที่ 5  ปริมาณไดออกซินที่มนุษย์สามารถรับเข้าไปในร่างกายทางน้ำและยอมรับได้ กำหนดโดย WHO
 

การรับสารไดออกซินของมนุษย์

ระดับของสารไดออกซิน/น้ำหนักตัว (body weight)/วัน

ออสเตรเลีย

ออสเตรีย

แคนาดา

เดนมาร์ก

คณะกรรมการยุโรป

ฟินแลนด์

ฝรั่งเศส

เยอรมนี

อิตาลี

ญี่ปุ่น

นิวซีแลนด์

สวีเดน

เนเธอร์แลนด์

อังกฤษ

สหรัฐอเมริกา(EPA 1996)

องค์การอนามัยโลก (WHO)

2.33 pg TEQ/kg bw/day

10pg TCDD /kg bw/day

10pg TEQ/kg bw/day

5 pg TCDD /kg bw/day

2 pg TEQ/kg bw/day

5 pg TCDD /kg bw/day

1 pg TCDD /kg bw/day

1 pg TCDD /kg bw/day

10 pg TCDD /kg bw/day

4 pg TEQ/kg bw/day

1 pg TEQ/kg bw/day

5 pg TCDD /kg bw/day

1 pg TCDD /kg bw/day

10pg TEQ/kg bw/day

0.006 pg TEQ/kg bw/day

1-4 pg TEQ/kg bw/day

ที่มา : Rodriguez, C., et al. (2008)

 

              2. การกระจายสู่ดิน ไดออกซินสามารถปนเปื้อนได้ในดินจากกระบวนการเผาไหม้และการทับถม (deposition) ของไดออกซินและฟิวแรน ซึ่งพบได้ที่ชั้นบนสุดของผิวหน้าดิน (Brambilla, G., et al., 2004)  เนื่องจากไดออกซินมีความสามารถในการละลายน้ำ(water solubility) ต่ำ โดยพบว่าสารในกลุ่มคลอโรฟีนอล (chlorophenol) PCDDs มีการปนเปื้อนในดินมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ polychlorinated phenoxy phenols (PCPPs), polychlorinated diphenyl ethers (PCDEs) และ polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) นอกจากนี้ยังพบ PCDDs และ PCDFs ที่ความลึกสุดของชั้นดิน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีการเคลื่อนที่ของ PCDDs และ PCDFs ลงไปในชั้นดินและมีการอิ่มตัว (saturation) ของสารอินทรีย์ (organic matters) เกิดขึ้นที่ผิวหน้าดินโดยที่สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายในน้ำและเป็นสารแขวนลอย (particulate organic matters) และสารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ (dissolved organic matters) และตกค้างอยู่ในดินเป็นตัวช่วยให้สารในกลุ่มคลอโรฟีนอลเคลื่อนที่ลงสู่ดิน (Frankki, S., et al., 2007)

              3. การปะปนของไดออกซินในน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมโดยตรง เช่น น้ำเสียจากโรงงานกระดาษ โรงงานผลิตสารเคมี โรงงานที่นำโลหะกลับมาใช้ใหม่จากการใช้สารล้างที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ 

              4. การแพร่กระจายจากสัตว์น้ำ เช่น  ปลามีโอกาสที่จะรับสารไดออกซิน โดยพบว่าในปลาจะมีสาร   ไดออกซินสูงสุดถึง  85  พิโคกรัม ต่อ กรัม (ค่าเฉลี่ยประมาณ 0.4  พิโคกรัม ต่อ กรัม) ซึ่งจะทำให้คนที่บริโภคเนื้อปลาจะมีสารไดออกซินเข้าสู่ร่างกายประมาณ  0.5  พิโคกรัม ต่อ กิโลกรัม ต่อ วัน ซึ่งมาตรฐานของ FDA ระบุว่า สารไดออกซินระดับ 25 พิโคกรัม ต่อ กรัม ในเนื้อปลาจะไม่มีอันตราย ดังนั้นคนที่บริโภคเนื้อปลาเฉลี่ยแล้วจะบริโภคไดออกซินในแต่ละวันได้ประมาณ 2 พิโคกรัม ต่อ กิโลกรัม ต่อ วัน 
              5. การแพร่กระจายจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงโดยไดออกซินส่วนหนึ่งมาจากการเผาไหม้ก๊าซเชื้อเพลิง เช่น ใน Lead Gasoline ที่มีคลอรีน (Cl)  เป็นองค์ประกอบประมาณ 700 ppm. 
              6. การแพร่กระจายของไดออกซินจากการเผาไหม้วัสดุที่มีคลอรีนในการเผาไหม้วัสดุหรือมูลฝอยที่มีสารต่างๆ ที่มีองค์ประกอบเป็นคลอรีนอยู่มากน้อยต่างกัน เมื่อนำมาเผาไหม้ก็จะมีโอกาสเกิดสารไดออกซินขึ้นในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 6
 
ตารางที่ 6  ปริมาณของสารไดออกซินที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการเผาไหม้วัสดุ

 

ลำดับที่

วัสดุ

ร้อยละของคลอรีนในวัสดุ

Dioxins (µg/kg emission)

1

2

3

4

5

PVC

Hospital waste

Hazardous waste

Municipal waste

Wood composition

45

7

5.5

0.4

0.2

0.4*

20

1

10

1*

 

ตารางที่ 6  ปริมาณของสารไดออกซินที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการเผาไหม้วัสดุ (ต่อ)

 

ลำดับที่

วัสดุ

ร้อยละของคลอรีนในวัสดุ

Dioxins (µg/kg emission)

6

7

8

9

10

Coal combustion

Leaded gasoline

Unleaded gasoline

Heavy fuel

Diesel rhinebarge

0.02

0.002

0.001

0.005

Nd.

1*

0.03

0.003

0.4*

0.1*

ที่มา : พล  สาเททอง (2549)

 

              7. การแพร่กระจายสารไดออกซินจากการไม้ฟืนในครัวเรือนโดยทั่วไปในไม้จะมีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ จากการประมาณการพบว่า มีการแพร่กระจายของสารไดออกซินที่มีความเข้มข้นต่อพื้นที่สูงสุดประมาณ 0.2 ng/m2 ต่อพื้นที่ที่มีบ้าน 50 หลัง โดยแต่ละหลังห่างกันในรัศมี  1 กิโลเมตร 

              8. การแพร่กระจายของสารไดออกซินในนมมารดา จากการศึกษาของ WHO 1989 และในยุโรปในปี 1994 พบว่า มีไดออกซินในนมมารดาของประชากรในประเทศต่างๆ ดังนี้
                                  - ไทย                        4.9 pg/g fat
                                  - สหรัฐอเมริกา 16.6            pg/g fat
                                  - เบลเยียม 39.524 pg/g fat
 
              ในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้มีการทดลองเลี้ยงเด็กด้วยนมแม่ (mother’s milk) 200 คน และนมวัว (cow’s milk) 200 คน พบว่า เด็กที่เลี้ยงโดยนมแม่จะรับสารไดออกซินเข้าสู่ร่างกายสูงกว่าเด็กที่เลี้ยงโดยนมวัวถึง 10 เท่า
              9. การแพร่กระจายของไดออกซินในอาหารจากการปนเปื้อนของไดออกซินในอาหารเลี้ยงสัตว์ (animal feed) ผ่านทางห่วงโซ่อาหารและเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ สามารถแสดงได้ในรูปที่ 2 โดยสหภาพยุโรปได้บังคับใช้กฎหมาย Council Regulation 2375/2001/EC เกี่ยวกับสารตกค้างในอาหารและกำหนดปริมาณไดออกซินสูงสุด (maximum levels : MLs) ในอาหาร ดังแสดงในตารางที่ 7 
 
รูปที่ 2 ไดอะแกรมการได้รับสารไดออกซินผ่านทางห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ 

              (Roeder, RA., Garber, RJ., and Schelling, GT., 1998)

 

ตารางที่ 7 ปริมาณของ PCDDs และ PCDFs สูงสุดในอาหารตามกฎหมาย Council Regulation 2375/2001/EC (Brambilla, G., et al., 2004) 
 

ผลิตภัณฑ์

ปริมาณของ PCDDs และ PCDFs สูงสุด

(pgWHO-TE/g lipid base)

เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ของเนื้อสัตว์จาก

           สัตว์เคี้ยวเอื้อง

           สัตว์ปีกและสัตว์ป่าที่เลี้ยงในฟาร์ม

           หมู

ตับและผลิตภัณฑ์จากตับ

เนื้อปลาและผลิตภัณฑ์สืบเนื่องจากการประมง

นมและผลิตภัณฑ์นม (เนยเหลว)

ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์จากไข่

น้ำมันและไขมัน

            ไขมันสัตว์

                  จากสัตว์เคี้ยวเอื้อง

                  จากสัตว์ปีกและสัตว์ป่าที่เลี้ยงในฟาร์ม

                  จากไขมันสัตว์ผสม

              น้ำมันพืช

น้ำมันปลาที่มนุษย์ใช้บริโภค

 

3

2

1

6

4 (น้ำหนักสด)

3

3

 

 

3

2

1

0.75

2

              นอกจากนี้ยังสามารถพบไดออกซินในน้ำลาย (saliva) ของมนุษย์ด้วย จากการทดลองของ Ogawa, T., et al (2003)  ได้วิเคราะห์ polychlorinated biphenyls (PCBs) และ PCDDs ในตัวอย่างน้ำลายและเลือดของมนุษย์ที่มีผลต่อเซลล์เยื่อบุผิวจากชิ้นเนื้อเหงือกมนุษย์ (human gingival epithelial cell : HGEC) พบว่ามีระดับของ tri- และ tetrachlorinated PCBs สูงในตัวอย่างน้ำลาย ขณะที่ในเลือดจะพบ  hexa- และ heptachlorinated PCBs โดยทั่วไปแล้วในตัวอย่างน้ำลายและเลือดจะพบ 1,2,3,4,6,7,8,9-octachlorodibenzo-p-dioxin (OCDD) เป็นสารหลัก ผลที่ได้นี้ชี้ให้เห็นว่าไดออกซินในน้ำลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดโรคปริทันต์(periodontal disease) ได้และปริมาณน้อยที่สุดของไดออกซินที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติจากการได้รับสารไดออกซินทางปากของมนุษย์โดยมีอาการเฉียบพลัน ปานกลาง และเรื้อรัง เท่ากับ 200, 20 และ 1 พิโคกรัม ต่อกิโลกรัม ต่อ วัน ตามลำดับ (ATSDR, 2008)