ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

Notice: Trying to get property of non-object in D:\xampp\htdocs\otopinfo\modules\mod_menu\helper.php on line 36

Notice: Trying to get property of non-object in D:\xampp\htdocs\otopinfo\modules\mod_menu\helper.php on line 44

Notice: Trying to get property of non-object in D:\xampp\htdocs\otopinfo\modules\mod_menu\mod_menu.php on line 19

     

 

     

 

วันที่ 21 กรกฎาคม 2562 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยนางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ นางสาวนงนุช เมธียนต์พิริยะ ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์อาหารฯ และรักษาการผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีชุมชน และคณะเจ้าหน้าที่ ได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Bigrock ณ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง และกลุ่มทิวาพัชรสมุนไพร จังหวัดนครพนม

                นางอุมาพรฯ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ดำเนินงานโครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดเป้าหมาย โดยจังหวัดนครพนม ได้เข้าไปช่วยพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผนวกกับภูมิปัญญาและวัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแก้ไขปัญหาและยกระดับการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ เช่น กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตและจำหน่ายครกที่มีความแกร่ง กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ถ่ายทอดองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเข้าไปช่วยพัฒนาบุคลากรของหมู่บ้านให้มีการผลิตที่ถูกวิธี ลดการสูญเสียระหว่างผลิต และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างเตาเผาแก๊ส ตลอดจนการพัฒนาเนื้อดินและการเผาเคลือบครั้งเดียวให้สุกตัวที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส และผลักดันสู่การยื่นขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ต่อไป

                ทางด้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทิวาพัชรสมุนไพร เป็นกลุ่มผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรหลายประเภท เช่น ยาหม่อง ลิปบาล์ม แชมพู เป็นต้น เน้นการนำสมุนไพรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ ได้แก่ โปรตีนกาวไหม หญ้าเอ็นยืด ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการมีแนวคิดในการนำสมุนไพรหลายชนิดมาทดลองผลิต แต่ผลิตภัณฑ์มีปัญหาในเรื่องของความคงสภาพ จึงต้องการให้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้ามาให้ความรู้ในเรื่องสุขลักษณะที่ดีในการผลิต กระบวนการผลิตที่ถูกต้องฯลฯ เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด พบว่าหลังจากผู้ประกอบได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงลึก ผู้ประกอบการสามารถนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนากระบวนการผลิต ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภาพ/ข่าว : จิตลดา คณีกุล  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม