ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย 

กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรตวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ โดยคุณค่าทางโภชนาการของกล้วยแสดงผลดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3แสดงคุณค่าทางโภชนาการของกล้วย

   คุณค่าทางโภชนาการ

   ของกล้วยพันธุ์ต่างๆ

   ปริมาณ ต่อ 100 กรัม

หน่วย

กล้วยไข่1

กล้วยน้ำว้า1

กล้วยหอม1

กล้วยหักมุก1

กล้วยหอม

ประเทศสหรัฐ

อเมริกา2

   พลังงาน

กิโลแคลอรี่

140

139

125

112

88

   น้ำ

กรัม

62.8

62.6

66.3

71.2

74.8

   โปรตีน

กรัม

1.5

1.1

0.9

1.2

1.2

   ไขมัน

กรัม

0.2

0.2

0.2

0.2

0.2

   คาร์โบไฮเดรต

กรัม

32.9

33.1

29.8

26.3

-

   กากอาหาร

กรัม

0.4

0.3

0.3

0.4

-

   ใยอาหาร

กรัม

1.9

2.3

1.9

-

-

   เถ้า

กรัม

0.7

0.7

0.9

0.7

0.8

   แคลเซียม

มิลลิกรัม

4

7

26

7

8

   ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม)

มิลลิกรัม

23

43

46

48

28

   เหล็ก (มิลลิกรัม)

มิลลิกรัม

1.0

0.8

0.8

0.8

0.6

   เบต้า-แคโรทีน

   (โปร-วิตามินเอ)

 ไมโครกรัม

792

54

99

-

-

   ไทอะมีน (วิตามินบี 1)

มิลลิกรัม

0.03

0.04

0.04

0.08

0.04

   ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2)

มิลลิกรัม

0.05

0.02

0.07

0.11

0.05

   ไนอะซีน

มิลลิกรัม

1.4

1.4

1

0.8

0.7

   วิตามินซี

มิลลิกรัม

2

11

27

1

10

 
                                       (ที่มา : สุนทรีย์, 2543)

                                       หมายเหตุ : 1 คือ ข้อมูลจากเอกสารของกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2535

                                                        2 คือ ข้อมูลจากหนังสือเรื่อง กล้วย กองค้นคว้าและทดลอง กรมกสิกรรม พ.ศ. 2511

                   จากตารางแสดงให้เห็นว่า กล้วยเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงานสูง มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด มีวิตามินเอและวิตามินซีสูง เมื่อเปรียบเทียบกล้วยกับแอบเปิ้ลพบว่า กล้วยมีปริมาณโปรตีนมากกว่า 4 เท่า คาร์โบไฮเดรตมากว่า 2 เท่า ฟอสฟอรัสมากกว่า 3 เท่า วิตามินเอและธาตุเหล็กมากกว่า 5 เท่า วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ มากกว่า 2 เท่า รวมถึงยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียม (สุธิดา, 2548)

                    นอกจากนี้ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้วิเคราะห์กล้วยน้ำว้าพบว่า มีส่วนประกอบของโปรตีนในปริมาณใกล้เคียงกับน้ำนมแม่มาก (ตารางที่ 4) จึงเหมาะสำหรับนำมาเป็นอาหารเสริมให้กับเด็กทารกเป็นอย่างยิ่ง (เทวี, 2531) 

ตารางที่ 4แสดงส่วนประกอบของกรดอะมิโนและโปรตีนในส่วนที่กินได้ 100 กรัม

โปรตีน(g)

และกรดอะมิโน (mg)

กล้วนน้ำว้า

กล้วยไข่

นมแม่

ไข่

   โปรตีน

1.0

1.6

1.0

13.3

   กรดอะมิโนทั้งหมด

596

1169

1111

8533

   กรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด

216

514

522

4020

       ไอโซลูซิน

28

55

64

465

       ลูซิน

45

96

108

707

       ไลซิน

36

97

83

631

   กรดอะมิโนที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ

   ทั้งหมด

12

21

36

489

       เมทิโอนิน

3

9

16

243

       ซิสตีน

9

12

20

246

   กรดอะมิโนที่มีสูตรโครงสร้างเป็นวง

49

115

84

694

       เฟนิลอลานิน

30

52

43

402

       ไทโรซิน

19

63

41

292

       ทรีโอนิน

36

50

63

357

       ทริพโตแฟน

18

26

25

193

       วาลิน

37

54

59

484

   กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น

 

 

 

 

       อาร์จินิน

31

71

49

626

       ฮิสติดิน

31

159

30

192

       อลานิน

35

52

43

410

       กรดแอสปาติค

69

103

102

1037

       กรดกลูตามิค

66

113

189

1087

       ไกลซิน

34

54

27

245

       โปรลิน

31

47

94

312

       ซีริน

38

56

55

604

 กรดอะมิโนที่มีน้อยที่สุด

 

S-c*

S-c

S-c

-

                                          (ที่มา : เทวี, 2531)

                                          หมายเหตุ : S-c* คือ กรดอะมิโนที่มีกำมะถัน

                  ดังนั้น การรับประทานกล้วยเป็นประจำสามารถช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง  และป้องกันการเกิดโรคบางชนิดได้ โดยการรับประทานกล้วยจะให้ผลดีที่สุดคือ รับประทานตอนเช้า เนื่องจากจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ดี