ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
 
ประโยชน์ของข้าวโพด
 

              ข้าวโพดนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน แต่ส่วนใหญ่มักนำเมล็ดมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากภายในเมล็ดมีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ ดังตารางที่ 2

                       ตารางที่ 2 ส่วนประกอบและองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดข้าวโพด (เปอร์เซ็นต์)

ส่วนของเมล็ด

ทั้งเมล็ด

แป้ง

โปรตีน

น้ำมัน

น้ำตาล

เถ้าถ่าน

ทั้งหมด

100

73.5

9

4.3

1.9

1.5

เอนโดสเปิร์ม

82.6

87.6

7

0.83

0.62

0.33

คัพภะ

11.1

8.0

18.3

33.5

10.5

10.6

Hull

6.2

7.0

4.3

1.4

-

0.9

(ที่มา : ชูศักดิ์ และทิวา, 2547)

              จากองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดข้างต้น ส่งผลให้มีการนำข้าวโพดมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง   (คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา, 2547) ได้แก่ 

              (1) ใช้เป็นอาหารมนุษย์ ในประเทศไทยผู้บริโภคนิยมรับประทานฝักสดของข้าวโพดโดยการต้ม หรือเผาให้สุก และฝักอ่อนของข้าวโพดนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร (ภาพที่ 16) ซึ่งนอกจากจะรับประทานในประเทศแล้ว ยังบรรจุกระป๋องส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย ส่วนในต่างประเทศนิยมนำเมล็ดข้าวโพดมาบดให้แตก หรือละเอียด แล้วนำมาหุง หรือต้มเป็นอาหาร หรือใช้ทำขนมปัง ใช้เป็นอาหารหลักของมนุษย์ในหลายประเทศ เช่น เม็กซิโก สเปน อิตาลี แอฟริกาใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
 
                                              
 
                    (ที่มา : https://kasetlibrary.com/2018/04/12/ปรับนาเปลี่ยนมาปลูกข้า/)                         (ที่มา : https://www.dhammatueansathi.com/?p=2837)
 
ภาพที่ 16 ข้าวโพดใช้เป็นอาหารมนุษย์
 
              (2) ใช้เป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากองค์ประกอบของส่วนใหญ่ของเมล็ดข้าวโพดเป็นแป้ง และโปรตีน จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพและราคาถูก ซึ่งพบว่าผลผลิตเมล็ดข้าวโพดจำนวนมากถูกนำไปใช้ในการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ หมู เป็ด และโคนม (ภาพที่ 17A) ทั้งนี้ บางประเทศโดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปจะปลูกข้าวโพดแล้วตัดข้าวโพดทั้งต้นเพื่อนำไปทำหญ้าหมัก (Silage) สำหรับเลี้ยงสัตว์
              (3) ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ เมล็ดข้าวโพดสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมได้หลายประเภท ทั้งอุตสาหกรรมอาหาร  เช่น แป้ง น้ำมัน น้ำเชื่อม น้ำตาล น้ำส้ม อาหารกระป๋อง เป็นต้น รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น พลาสติก ฟิล์ม เชื้อเพลิง สิ่งทอ เป็นต้น (ภาพที่ 17B) ซึ่งนอกจากเมล็ดแล้ว ส่วนของฝัก ใบ และลำต้น อาจนำไปใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด  เช่น กระดาษ ปุ๋ย และฉนวนไฟฟ้า
 
                                                              A                                                                                                                 B 
 
                                                
 
                                     (ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/                                                          (ที่มา : http://biology.ipst.ac.th/?p=927)                           
                                      knowledge/content/59483/-agrliv-agr-)
 

ภาพที่ 17ข้าวโพดใช้เป็นอาหารสัตว์ (A) และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ (B)