ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

คุณภาพตามมาตรฐานของข้าวโพดและผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด

              1. มาตรฐานของข้าวโพด (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2558)

                    1.1 ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn) มาตรฐานสินค้าเกษตร ข้าวโพดฝักอ่อน มาตรฐานเลขที่ มกษ. 1504-2550 ได้กำหนดคุณภาพของข้าวโพดฝักอ่อนสายพันธุ์ที่ผลิตเป็นการค้าไว้ดังนี้

                         (1) คุณภาพ 

                         (1.1) คุณภาพขั้นต่ำ ข้าวโพดฝักอ่อนทุกชั้นคุณภาพต้องมีคุณภาพดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะมีข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละชั้นคุณภาพ และเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้มีได้ตามที่ระบุไว้
                                  -  เป็นข้าวโพดฝักอ่อนทั้งฝัก
                                  -  มีความสด
                                  -  ไม่เน่าเสีย หรือเสียหาย ทำให้ไม่เหมาะสมกับการบริโภค
                                  -  สะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้
                                  -  ผลิตผลต้องปราศจากความชื้นที่ผิดปกติจากภายนอกภายหลังการบรรจุ ยกเว้นหยดน้ำที่เกิดหลังการนำออกจากห้องเย็น
                                  -  ไม่มีกลิ่น และ/หรือรสชาติแปลกปลอม
                                  -  ปราศจากศัตรูพืช และ/หรือความเสียหายเนื่องจากศัตรูพืช ที่มีผลกระทบต่อรูปลักษณ์ทั่วไปของผลิตผลที่เห็นได้ชัด
                          (1.2) การแบ่งชั้นคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ชั้นคุณภาพ คือ
                                  -  ชั้นพิเศษ (Extra class) ข้าวโพดฝักอ่อนในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดีที่สุด ตัดแต่งให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีเปลือก ก้าน และเส้นไหมติดอยู่ มีลักษณะฝักอ่อนสมบูรณ์ ฝักต้องปราศจากตำหนิ ยกเว้นตำหนิผิวเผินที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยไม่มีผลต่อรูปลักษณ์ทั่วไปของผลิตผลในด้านคุณภาพ คุณภาพการเก็บรักษา และการจัดเรียงผลิตผลในภาชนะบรรจุ
                                  -  ชั้นหนึ่ง (Class I) ข้าวโพดฝักอ่อนในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดี ตัดแต่งให้อยู่สภาพเรียบร้อย ไม่มีเปลือก และก้านติดอยู่ ฝักมีตำหนิได้เล็กน้อยในด้านรูปร่าง สี การเรียงของรังไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ ผิวของฝัก และเส้นไหมที่ติดและที่ขาดจากฝัก โดยตำหนิเหล่านี้ต้องไม่มีผลต่อรูปลักษณ์ทั่วไปของผลิตผลในด้านคุณภาพ คุณภาพการเก็บรักษา และการจัดเรียงผลิตผลในภาชนะบรรจุ
                                  -  ชั้นสอง (Class II) ข้าวโพดฝักอ่อนในชั้นนี้ รวมข้าวโพดฝักอ่อนที่ไม่เข้าชั้นคุณภาพที่สูงกว่า แต่มีคุณภาพขั้นต่ำเป็นไปตามข้อ (1.1) ฝักอาจมีตำหนิในด้านรูปร่าง สี การเรียงของรังไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ ผิวของฝัก และเส้นไหมที่ติดและที่ขาดจากฝัก หากฝักของข้าวโพดฝักอ่อนเหล่านี้ต้องยังคงคุณลักษณะที่สำคัญของผลิตผลในด้านคุณภาพ คุณภาพการเก็บรักษา และการจัดเรียงผลิตผลในภาชนะบรรจุ
                        (2) ขนาด ขนาดของข้าวโพดฝักอ่อนพิจารณาจากความยาวของฝักจากรอยตัดที่โคนถึงปลายฝัก แสดงดังตารางที่ 3
                                         ตารางที่ 3 ขนาดของข้าวโพดฝักอ่อน 
 

รหัสขนาด

ความยาว (เซนติเมตร)

1

> 9.0 ถึง 13.0

2

> 7.0 ถึง 9.0

3

4.0 ถึง 7.0

                                        (ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2558)

                                        หมายเหตุ  :  ทุกขนาดต้องมีความกว้าง 1.0 ถึง 2.5 เซนติเมตร วัดจากส่วนที่กว้างที่สุด
 
                         (3) สารปนเปื้อน ชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนในข้าวโพดฝักอ่อนให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                         (4) สารพิษตกค้าง ชนิดและปริมาณของสารพิษตกค้างในข้าวโพดฝักอ่อนให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 
                    1.2 ข้าวโพดหวาน (Sweet corn) มาตรฐานสินค้าเกษตร ข้าวโพดหวาน มาตรฐานเลขที่ มกษ.1512-2554 ได้กำหนดคุณภาพของข้าวโพดหวานสายพันธุ์ที่ผลิตเป็นการค้าไว้ดังนี้

                         (1) คุณภาพ 

                         (1.1) คุณภาพขั้นต่ำ ข้าวโพดหวานทุกชั้นคุณภาพอย่างน้อยต้องมีคุณภาพดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะมีข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละชั้นคุณภาพ และเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้มีได้ตามที่ระบุไว้
                                 -  เป็นข้าวโพดหวานทั้งฝักที่มีหรือไม่มีเปลือกหุ้ม ถ้ามีเปลือกหุ้ม เปลือกต้องสด
                                 -  เมล็ดข้าวโพดหวานมีความสด
                                 -  ไม่เน่าเสีย หรือเสื่อมคุณภาพที่ไม่เหมาะกับการบริโภค
                                 -  สะอาด และปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้
                                 -  ไม่มีศัตรูพืช และไม่มีความเสียหายเนื่องจากศัตรูพืชที่อาจมีผลกระทบต่อรูปลักษณ์ หรือคุณภาพของเมล็ดข้าวโพดหวาน
                                 -  ไม่มีความเสียหายทางกายภาพ เนื่องจากการเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
                                 -  ไม่มีการเพิ่มความชื้นจากภายนอก เพื่อเพิ่มความสดของฝักข้าวโพดหวาน
                                 -  ไม่มีกลิ่นแปลกปลอม และ/หรือรสชาติที่ผิดปกติ
                         (1.2) การแบ่งชั้นคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ชั้นคุณภาพ คือ
                                 -  ชั้นพิเศษ (Extra class) ข้าวโพดหวานในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดีที่สุด มีลักษณะตรงตามพันธุ์ คือ ไม่มีความผิดปกติด้านรูปทรงของฝักและสีของเมล็ด การติดและการเรียงของเมล็ดสม่ำเสมอ และไม่มีตำหนิ ยกเว้นตำหนิเล็กน้อยที่ไม่ชัดเจน โดยตำหนินั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อลักษณะทั่วไปของข้าวโพดหวาน คุณภาพระหว่างการเก็บรักษา และการจัดเรียงในภาชนะบรรจุ 
                                 -  ชั้นหนึ่ง (Class I) ข้าวโพดหวานในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดี มีลักษณะตรงตามพันธุ์ มีตำหนิได้เล็กน้อย คือ มีความผิดปกติเล็กน้อยด้านรูปทรงของฝักและสีของเมล็ด การติดและการเรียงของเมล็ดไม่สม่ำเสมอ มีตำหนิที่ผิวเมล็ด โดยตำหนินั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อลักษณะทั่วไปของข้าวโพดหวาน คุณภาพระหว่างการเก็บรักษา และการจัดเรียงในภาชนะบรรจุ
                                 -  ชั้นสอง (Class II) ข้าวโพดหวานชั้นนี้ รวมข้าวโพดหวานที่มีคุณภาพไม่เข้าชั้นคุณภาพที่สูงกว่า แต่มีคุณภาพขั้นต่ำตามที่กำหนดในข้อ (1.1) ข้าวโพดหวานชั้นนี้มีตำหนิได้ คือ มีความผิดปกติด้านรูปทรงของฝักและสีของเมล็ด การติดและการเรียงของเมล็ดไม่สม่ำเสมอ มีตำหนิที่ผิวเมล็ด โดยตำหนินั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อลักษณะทั่วไปของข้าวโพดหวาน คุณภาพระหว่างการเก็บรักษา และการจัดเรียงในภาชนะบรรจุ
                    (2) ขนาด ขนาดของข้าวโพดหวานพิจารณาจากความยาวของฝักทั้งเปลือก และปอกเปลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงดังตารางที่ 4-5

                                       ตารางที่ 4 ขนาดของข้าวโพดหวานทั้งเปลือก

รหัสขนาด

ความยาวของฝักทั้งเปลือก (เซนติเมตร)

1

> 25

2

> 20 ถึง 25

3

≥15 ถึง 20

                                       (ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2558)

                                       หมายเหตุ  :  ความยาวของฝักทั้งเปลือก วัดจากรอยตัดที่โคนจนถึงปลายฝัก

 

                                       ตารางที่ 5 ขนาดของข้าวโพดหวานปอกเปลือก

รหัสขนาด

ความยาวของฝักปอกเปลือก (เซนติเมตร)

1

> 20

2

> 15 ถึง 20

3

≥10 ถึง 15

                                      (ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2558)
                                      หมายเหตุ  :  ความยาวของฝักปอกเปลือก วัดจากโคนฝักที่ติดเมล็ดถึงปลายฝักที่ติดเมล็ด

 

                    (3) สารปนเปื้อน ชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนในข้าวโพดหวานให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                    (4) สารพิษตกค้าง ชนิดและปริมาณของสารพิษตกค้างในข้าวโพดหวานให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มกษ. 9002 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด และ มกษ. 9003 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่ปนเปื้อนจากสาเหตุที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
 
              2 มาตรฐานของผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด

              มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด ได้แก่

                    (1) ข้าวโพดทอด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเมล็ดข้าวโพดแห้งมาแช่น้ำให้นิ่ม คัดเลือกเอาเฉพาะเมล็ดที่อยู่ในสภาพดี ทำให้สะเด็ดน้ำ นำมาทอดในน้ำมันจนสุกกรอก ทำให้สะเด็ดน้ำมัน อาจเติมแป้ง งา อาจปรุงรสด้วยเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำตาล เนย เนยเทียม วัตถุปรุงแต่งกลิ่นรส อาจนำมาทอดหรืออบอีกครั้ง(สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2558) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ข้าวโพดทอด มาตรฐานเลขที่ มผช.1330/2549 ได้กำหนดคุณภาพของข้าวโพดทอดไว้ดังนี้

                    (1.1) ลักษณะทั่วไปต้องแห้ง ไม่เกาะติดกัน อาจแตกหักได้บ้างเล็กน้อย
                    (1.2) สี ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของข้าวโพดและสม่ำเสมอ อาจมีสีคล้ำได้บ้าง แต่ต้องไม่  ไหม้เกรียม 
                    (1.3) กลิ่นรส ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของข้าวโพดทอด ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน รสขม
                    (1.4) ลักษณะเนื้อสัมผัส ต้องกรอบ ไม่เหนียวหรือแข็งกระด้าง
                    (1.5) สิ่งแปลกปลอม ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
                    (1.6) ความชื้น ต้องไม่เกินร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก
                    (1.7) ค่าเพอร์ออกไซด์ ต้องไม่เกิน 30 มิลลิกรัมสมมูลเพอร์ออกไซด์ออกซิเจนต่อกิโลกรัม
                    (1.8) วัตถุเจือปนอาหาร หากมีการใช้สีสังเคราะห์และวัตถุกันเสีย ให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณที่กฎหมายกำหนด 
                    (1.9) จุลินทรีย์ 
                             -  จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องน้อยกว่า 1 x 106  โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
                             -  เอสเชอริเชีย โคไล โดยวิธีเอ็มพีเอ็น ต้องน้อยกว่า 3 ต่อตัวอย่าง 1 กรัม
                             -  ยีสต์ และรา ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
 
                    (2) ข้าวโพดอบเนย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเมล็ดข้าวโพดแห้งมาผสมเนยสด หรือเนยเทียม อย่าง
ใดอย่างหนึ่ง หรือผสมกัน คั่วให้พอง พร้อมกับส่วนผสมอื่น เช่น น้ำมัน เกลือ น้ำตาล งาดำ หรืออาจนำเมล็ดข้าวโพดแห้งมาคั่วให้พองก่อนแล้วคลุกกับเนยสด หรือเนยเทียม อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผสมกัน (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2558) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ข้าวโพดอบเนย มาตรฐานเลขที่ มผช.744/2548 ได้กำหนดคุณภาพของข้าวโพดอบเนยไว้ดังนี้
                    (2.1) ลักษณะทั่วไปต้องพอง ส่วนผสมมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ อาจมีเมล็ดที่ไม่พองอยู่บ้างเล็กน้อย
                    (2.2) สี ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของข้าวโพดอบเนย
                    (2.3) กลิ่นรส ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของข้าวโพดอบเนย ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน
                    (2.4) ลักษณะเนื้อสัมผัส ต้องกรอบ ไม่เหนียว
                    (2.5) สิ่งแปลกปลอม ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
                    (2.6) ความชื้น ต้องไม่เกินร้อยละ 12 โดยน้ำหนัก
                    (2.7) ค่าเพอร์ออกไซด์ ต้องไม่เกิน 30 มิลลิกรัมสมมูลเพอร์ออกไซด์ออกซิเจนต่อกิโลกรัม
                    (2.8) อะฟลาทอกซิน ต้องไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
                    (2.9) จุลินทรีย์
                            -  จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องน้อยกว่า 1 x 103  โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
                            -  รา ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
 
                    (3) น้ำนมข้าวโพด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จาการนำข้าวโพดสดระยะน้ำนมที่อยู่ในสภาพดี มาปอกเปลือก ล้าง แยกเมล็ดออก อาจเติมน้ำแล้วนำไปปั่น คั้น และกรองแยกกากออก อาจนำมาปรุงแต่งรสด้วยน้ำตาล เกลือ อาจเติมส่วนประกอบอื่น นมผง น้ำนมถั่วเหลือง สเตบิไลเซอร์ เช่น กัม แป้งดัดแปร นำไปฆ่าเชื้อโดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์ก่อนหรือหลังบรรจุ และต้องเก็บรักษาโดยการแช่เย็น (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2558) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำนมข้าวโพด มาตรฐานเลขที่ มผช.124/2554 ได้กำหนดคุณภาพของน้ำนมข้าวโพดไว้ดังนี้
                    (3.1) ลักษณะทั่วไปต้องเป็นของเหลวขุ่น ข้นพอประมาณ อาจตกตะกอนเมื่อตั้งทิ้งไว้
                    (3.2) สี ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของน้ำนมข้าวโพด และส่วนประกอบที่ใช้
                    (3.3) กลิ่นรส ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของน้ำนมข้าวโพด และส่วนประกอบที่ใช้ ไม่มีกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นรสเปรี้ยวบูด กลิ่นไหม้
                    (3.4) สิ่งแปลกปลอม ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
                    (3.5) วัตถุเจือปนอาหาร
                             -  ห้ามใช้สีสังเคราะห์ทุกชนิด
                             -  ห้ามใช้วัตถุกันเสียทุกชนิด เว้นแต่กรณีที่ติดมากับวัตถุดิบ ให้เป็นไปตามชนิดและปริมาณที่กฎหมายกำหนด
                    (3.6) จุลินทรีย์ 
                             -  จุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1 x 104  โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
                             -  ซาลโมเนลลา ต้องไม่พบในตัวอย่าง 25 มิลลิลิตร
                             -  สตาฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้องน้อยกว่า 10  โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
                             -  บาซิลลัส ซีเรียส ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
                             -  คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
                             -  ลิสเทอเรีย มอนอไซโทจีเนส ต้องไม่พบในตัวอย่าง 25 มิลลิลิตร
                             -  โคลิฟอร์ม โดยวิธีเอ็มพีเอ็น ต้องน้อยกว่า 2.2 ต่อตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
                             -  เอสเชอริเชีย โคไล ต้องไม่พบในตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
                             -  ยีสต์ และรา ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
 
              นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดอีกมากมาย เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์จากเปลือกข้าวโพด มาตรฐานเลขที่ มผช.968/2559 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ตุ๊กตาเปลือกข้าวโพด มาตรฐานเลขที่ มผช.77/2546 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กระดาษเส้นใยพืช มาตรฐานเลขที่ มผช.41/2560 เป็นต้น