ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
การแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพถ่านอัดแท่ง 
              กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพถ่านอัดแท่งและถ่านผลไม้ดูดกลิ่นให้ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปถ่ายทอดให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อนำไปพัฒนากระบวนการผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งและถ่านผลไม้ดูดกลิ่นจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อยกระดับให้ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้ง และเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2558-2559 มีรายละเอียด ดังนี้
              1. ปีงบประมาณ 2558 (กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
                    (1) ลงพื้นที่สำรวจปัญหา ความต้องการ และแนวทางแก้ไขแก่ผู้ประกอบการ 
                         -  สำรวจปัญหาในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ผู้ประกอบในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านบัวสวรรค์ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเผาถ่านผลไม้ดูดกลิ่นเพื่อใช้ประโยชน์จากผลไม้ในสวนที่เหลือทิ้ง โดยแนวทางแก้ไขปัญหาคือ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตถ่านผลไม้ดูดกลิ่นและประดับตกแต่ง” ในระหว่างวันที่ 22-23 พฤศจิกายน    พ.ศ. 2557 
                         -  สำรวจปัญหาในพื้นที่จังหวัดลำปาง พะเยา และเชียงราย พบว่า ผู้ประกอบการในพื้นที่ 3 จังหวัด ประสบปัญหาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง ถ่านผลไม้ดูดกลิ่น และถ่าน ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน แนวทางแก้ไขปัญหาคือ ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มผู้ประกอบการ และเก็บตัวอย่างถ่านอัดแท่ง ถ่านผลไม้ดูดกลิ่น และถ่าน นำมาทดสอบคุณภาพประกอบในการปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการขอการรับรอง มผช.
                         -  สำรวจปัญหาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ประกอบการยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตถ่านดูดกลิ่นและบรรจุภัณฑ์ แนวทางแก้ไขปัญหาคือ ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและฉลากที่ถูกต้อง
                    (2) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ/สัมมนา/ถ่ายทอดเทคโนโลยี 
                         -  วันที่ 22-23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 อบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตถ่านผลไม้ ดูดกลิ่นและประดับตกแต่ง” ให้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านบัวสวรรค์ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 63 ราย (ภาพที่ 15)
 
                          
 
 
                          
 
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
ภาพที่ 15 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตถ่านผลไม้ดูดกลิ่นและประดับ
 
                    (3) ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์ จำนวน 10 ราย คือ
                          -  ให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ผู้ประกอบการกลุ่มจรูญวัตต์ ถ่านอัดแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (ภาพที่ 16) โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีถ่านอัดแท่งจากวัสดุทางการเกษตรให้ผู้ประกอบการ เพื่อนำมาพัฒนากระบวนการผลิตให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน พร้อมเก็บตัวอย่างมาเพื่อทดสอบตามมาตรฐาน
 
 
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
ภาพที่ 16 ผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งของกลุ่มจรูญวัตต์ ถ่านอัดแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
 
                           -  ให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง (นายศรีนวล แสงสีจันทร์) อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งมีค่าความร้อนไม่ผ่าน มผช. พร้อมเก็บตัวอย่างมาเพื่อทดสอบตามมาตรฐาน
                           -  ให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง (นายสุรชัย คำอ้าย) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง การใช้เตาอบไล่ความชื้น และกระบวนการขอ มผช. พร้อมเก็บตัวอย่างมาเพื่อทดสอบตามมาตรฐาน
                           -  ให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง (นายประธาน กลิ่นหอม) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง และกระบวนการขอ มผช. พร้อมเก็บตัวอย่างมาเพื่อทดสอบตามมาตรฐาน
                           -  ให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่น (นายคงเดช เขื่อนเพชร) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (ภาพที่ 17) โดยแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ พร้อมเก็บตัวอย่างมาเพื่อทดสอบตามมาตรฐาน
 
 
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
ภาพที่ 17 ผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นของผู้ประกอบการ นายคงเดช เขื่อนเพชร
 
                          -  ให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง (นายสานิตย์ ต๊ะปวง) อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย โดยแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง และกระบวนการขอ มผช. พร้อมเก็บตัวอย่างมาเพื่อทดสอบตามมาตรฐาน
                          -  ให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง (นายสมศักดิ์ คำอุปละ) อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย โดยแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการขอ มผช. ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะส่งตัวอย่างถ่านอัดแท่งมาทดสอบตามมาตรฐานในภายหลัง เนื่องจากเครื่องผลิตชำรุด จึงหยุดการผลิตชั่วคราว
                          -  ให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ถ่านหุงต้ม (นายวิฑูรย์ สาริวงศ์) อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย โดยแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการเผาผลิตภัณฑ์ และกระบวนการขอ มผช. พร้อมเก็บตัวอย่างมาเพื่อทดสอบตามมาตรฐาน
                          -  ให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง (นายมนตรี กาวิจันทร์) อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย โดยแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง และกระบวนการขอ มผช. ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะส่งตัวอย่างถ่านอัดแท่งมาทดสอบตามมาตรฐานในภายหลัง เนื่องจากหยุดการผลิตชั่วคราว
                          -  ให้คำแนะนำและปรึกษาแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง (นายสถาพร อินทำ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการทดสอบคุณภาพตามมาตรฐานของถ่านอัดแท่ง และกระบวนการขอ มผช. พร้อมเก็บตัวอย่างมาเพื่อทดสอบตามมาตรฐาน
                    (4) ติดตามการยื่นขอการรับรอง มผช. 
                          -  วันที่ 20-21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้คำปรึกษาและแก้ไขแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านบัวสวรรค์ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และฉลากติดบรรจุภัณฑ์ และสามารถสนับสนุนให้ยื่นขอการรับรอง มผช. จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ 
              จากการดำเนินงาน พบว่า ผู้ประกอบการถ่านอัดแท่งและถ่านผลไม้ดูดกลิ่นได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้คำปรึกษา จำนวน 63 ราย และสินค้าได้รับการผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช.จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
 
              2. ปีงบประมาณ 2559 (กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
                    (1) การสำรวจข้อมูลผู้ประกอบการ ดังตารางที่ 2
 
                                              ตารางที่ 2 สำรวจข้อมูลผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดต่างๆ
                                            (ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
 
                                             ตารางที่ 2 สำรวจข้อมูลผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดต่างๆ (ต่อ)
                                           (ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
 
                    (2) การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ/สัมมนา/ถ่ายทอดเทคโนโลยี ดังตารางที่ 3
 
                                            ตารางที่ 3 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ/สัมมนา/ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผุ้ประกอบการจังหวัดชุมพร (รูปที่ 18)
                                             (ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
 
                       
 
 
                       
 
 
                      
 
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
รูปที่ 18 การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ/สัมมนา/ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผุ้ประกอบการ
กลุ่มถ่านช่องไม้แก้ว ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
 
                    (3) การให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์ ดังตารางที่ 4
 
                                              ตารางที่ 4 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์
                                             (ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
 
              จากการดำเนินงาน พบว่า ผู้ประกอบการถ่านอัดแท่งและถ่านผลไม้ดูดกลิ่นได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้คำปรึกษา จำนวน 35 ราย และสินค้าได้รับการผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช.จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559)