Page 3 of 10
วัสดุที่ใช้ในการผลิตถ่านอัดแท่ง
วัตถุดิบจากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตถ่านอัดแท่งมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ กะลามะพร้าว ซังข้าวโพด แกลบ ขี้เลื่อย ฟางข้าว ชานอ้อย ลำต้นมันสำปะหลัง เหง้ามันสำปะหลัง หญ้าคา หญ้าขจรจบ ไมยราบ ผักตบชวา ใบจามจุรี กะลาปาล์ม ต้นฝ้าย ต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากทานตะวัน เปลือกทุเรียน เศษถ่านหุงต้มที่เหลือจากการใช้แล้ว (อุกฤษฏ์, 2551) โดยตัวอย่างวัตถุดิบที่สำคัญและนิยมนำมาผลิตถ่านอัดแท่งกันมาก คือ
1. กะลามะพร้าว มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สามารถนำส่วนต่างๆ มาทำประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน เช่น ลำต้นนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ยอดมะพร้าวนำมาปรุงอาหาร ใบนำมาทำของใช้ เปลือกนอกผลมะพร้าวนำมาใช้ในด้านการเกษตร เนื้อมะพร้าวใช้รับประทาน รวมถึงกะลามะพร้าวนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว (ภาพที่ 3) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพอย่างเป็นทางการ และมีคุณสมบัติดีกว่าถ่านไม้ทั่วไป โดยสามารถให้ความร้อนอย่างสม่ำเสมอและสูงกว่าถ่านไม้ถึง 2 เท่า มีขี้เถ้าน้อย ไม่มีประกายไฟปะทุ ไม่มีควัน ไม่ก่อสารพิษจากการเผาไหม้ (ปิยนุช, 2545) จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย สร้างรายได้ที่ดีให้กับชุมชน รวมถึงเป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลงด้วย
(ที่มา : http://igetweb.com/www/charcoalthais/news/ (ที่มา : http://boc.dip.go.th/index.php?option=com
389011_150326074330.jpg) _content&view=article&id=391&Itemid=48)
ภาพที่ 3 ถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว
2. แกลบ เป็นผลิตผลที่ได้มาจากเมล็ดข้าวโดยผ่านการกระเทาะจากโรงสีข้าว แกลบถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางเกษตรหลายด้าน เช่น นำมาทำปุ๋ย ใช้ในฟาร์มเลี้ยงไก่ ใช้ในงานก่อสร้าง ใช้เป็นฉนวนป้องกันความร้อน และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรูปแบบของถ่านอัดแท่งสำหรับใช้ในการหุงต้มอาหาร (ภาพที่ 4)โดยค่าความร้อนของถ่านอัดแท่งจากแกลบจะต่ำกว่าถ่านไม้ทั่วไป แต่เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการเผาไหม้ พบว่า ถ่านอัดแท่งจากแกลบมีเวลาการเผาไหม้นานกว่าถ่านไม้ทั่วไป (อุกฤษฏ์, 2549)
(ที่มา : http://puechkaset.com/แกลบ/) (ที่มา : http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.
php/knowledge/2010/119-husk)
ภาพที่ 4 ถ่านอัดแท่งจากแกลบ