Page 7 of 9
การแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก
กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเซรามิก ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด และสถาบันการศึกษา มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปถ่ายทอดให้แก่ผู้ประกอบการระดับ SMEs และวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปพัฒนากระบวนการผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้า และผลักดันให้ผู้ประกอบการนำสินค้าเซรามิกเข้าสู่กระบวนการขอรับรับรอง มผช. รวมถึงพัฒนารูปแบบสินค้าใหม่ เพื่อขยายโอกาสทางการตลาดให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดอาเซียนและตลาดโลก (สำนักเทคโนโลยีชุมชน, 2557) โดยการดำเนินงานในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเซรามิกระหว่างปีงบประมาณ 2557-2559 มีรายละเอียด ดังนี้
1. ปีงบประมาณ 2557 (กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
(1) สำรวจปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ ในพื้นที่ต่างๆ (ภาพที่ 10)
- วันที่ 14-17 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ณ จังหวัดนครราชสีมา อุดรธานี มหาสารคาม สกลนคร และหนองบัวลำภู
- วันที่ 16-19 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ณ จังหวัดพิษณุโลก เชียงใหม่ ลำพูน และพะเยา
- วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ณ จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ชัยนาท และอ่างทอง
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
ภาพที่ 10 การลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการเซรามิก
(2) การฝึกอบรมให้กลุ่มผู้ประกอบการที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ลงพื้นที่ในภาคต่างๆ
(2.1) ภาคเหนือ ประกอบดัวย
• วันที่ 25-26 ตุลาคม พ.ศ. 2556 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปโดยการหล่อน้ำดิน ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ และจัดการกระบวนการผลิตเซรามิก” ให้แก่ กลุ่มประติมากรรม ดินเผาบ้านป่าตาล ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 46 ราย และเข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ เครื่องปั้นดินเผาเขียนลาย และ เครื่องปั้นดินเผา (ภาพที่ 11)
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
ภาพที่ 11 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปโดยการหล่อน้ำดิน ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ และจัดการกระบวนการผลิตเซรามิก ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
• วันที่ 25-27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การขึ้นรูปโดยการหล่อแบบและการปั้นต้นแบบ” ให้แก่ กลุ่มปั้นหม้อบ้านสันเหมือง ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 38 ราย (ภาพที่ 12)
• วันที่ 25-27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตกแต่งสีและการเพิ่มประสิทธิภาพการเผา” ให้แก่ กลุ่มปั้นซะป๊ะดงหลวง ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 28 ราย และเข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ คือ ตุ๊กตาปั้นเขียนลาย ตุ๊กตาปั้น และแจกันเขียนลาย (ภาพที่ 12)
A B C
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
ภาพที่ 12 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การขึ้นรูปโดยการหล่อแบบและการปั้นต้นแบบ (A) และเรื่อง การตกแต่งสีและการเพิ่มประสิทธิภาพการเผา (B และ C) ในพื้นที่จังหวัดลำพูน
• วันที่ 10-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การขึ้นรูปและการตกแต่งสี” ให้แก่ กลุ่มเซรามิกส์สองแคว ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 27 ราย และเข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ดินเผา ผลิตภัณฑ์ดินเผาเขียนลาย และเครื่องปั้นดินเผาเออร์เทนแวร์ (ภาพที่ 13)
• วันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การทำผลิตภัณฑ์เซรามิก” ให้แก่ กลุ่มผลิตเครื่องถ้วยชามสันกำแพง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 28 ราย (ภาพที่ 13)
• วันที่ 20-22 มีนาคม พ.ศ. 2557 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตกแต่งและการทำสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์” ให้แก่ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 27 ราย และขอรับรอง มผช. จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ (ภาพที่ 13)
- อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การขึ้นรูปและการตกแต่งสี ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
- อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์เซรามิก ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
- อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตกแต่งและการทำสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
ภาพที่ 13 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และเชียงใหม่
(2.2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย
• วันที่ 11-12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตกแต่งและการทำสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์” และ วันที่ 7-8 มีนาคม พ.ศ. 2557 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การออกแบบการจัดการกระบวนการผลิตเซรามิก และการส่งเสริมการตลาดและทดลองตลาด” ให้แก่ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 61 ราย และเข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ดินเผา ผลิตภัณฑ์ดินเผาเขียนลาย เครื่องปั้นดินเผาเออร์เทนแวร์ และเครื่องปั้นดินเผาสโตนแวร์ (ภาพที่ 14)
A B
C D
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
ภาพที่ 14 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตกแต่งและการทำสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ (A) และเรื่อง การออกแบบการจัดการกระบวนการผลิตเซรามิก
และการส่งเสริมการตลาด และทดลองตลาด (B-D) ในพื้นที่จังหวัดนครพนม
• วันที่ 17-19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกขนาดเล็กอัตลักษณ์บ้านหม้อ” ให้แก่ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 41 ราย และเข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 7 ผลิตภัณฑ์ คือ เครื่องปั้นดินเผาเออร์เทนแวร์ (ภาพที่ 15)
• วันที่ 6-7 มกราคม พ.ศ. 2557 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้ได้คุณภาพ” ให้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 49 ราย และเข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ คือ เครื่องปั้นดินเผาเออร์เทนแวร์ (ภาพที่ 15)
A B
C D
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
ภาพที่ 15 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกขนาดเล็กอัตลักษณ์บ้านหม้อ (A-B)
และ เรื่อง เทคนิคการผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้ได้คุณภาพ (C-D) ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม และนครราชสีมา ตามลำดับ
• วันที่ 15-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา แนะนำ และฝึกอบรม ทดลองการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิก ให้แก่ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านเบญจรงค์แกลลอรี ตำบลโครกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเชียงก้าวหน้า ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มปั้นหม้อเขียนลายไหบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 16 ราย (ภาพที่ 16)
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
ภาพที่ 16 ให้คำปรึกษา แนะนำ และฝึกอบรม ทดลองการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม อุดรธานี และสกลนคร
(2.3) ภาคกลาง ประกอบด้วย
• วันที่ 2-4 ธันวาคม พ.ศ. 2556 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตกแต่งสีผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาเซรามิก” ให้แก่ กลุ่มชัยนาทเซรามิก ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 16 ราย และเข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ตุ๊กตาชาววัง (ชาย-หญิง) (ภาพที่ 17)
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
ภาพที่ 17 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตกแต่งสีผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาเซรามิก ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท
• วันที่ 16-18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตเซรามิก” และ วันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การออกแบบ การจัดการกระบวนการผลิตเซรามิก และการส่งเสริมการตลาดและทดลองตลาด” ให้แก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 32 ราย และเข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ คือ เครื่องปั้นดินเผาเออร์เทนแวร์ (ภาพที่ 18)
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
ภาพที่ 18 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตเซรามิก และ เรื่อง การออกแบบการจัดการกระบวนการผลิตเซรามิก
และการส่งเสริมการตลาดและทดลองตลาด ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
• วันที่ 24-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาชาววัง” ให้แก่ ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 34 ราย และเข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ตุ๊กตาชาววังแบบดั้งเดิม และตุ๊กตาชาววังแบบสมัยนิยม (ภาพที่ 19)
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
ภาพที่ 19 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาชาววัง ในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง
(2.4) ภาคใต้ ประกอบด้วย
• วันที่ 30-31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตเซรามิก” และ วันที่ 3-5 มีนาคม พ.ศ. 2557 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การออกแบบ การจัดการกระบวนการผลิตเซรามิก และการส่งเสริมการตลาดและทดลองตลาด” ให้แก่กลุ่มเซรามิกบ้านหาดส้มแป้น ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง พบว่า ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 28 ราย และเข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ คือ เครื่องปั้นดินเผา สโตนแวร์ (ภาพที่ 20)
A B C
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2557)
ภาพที่ 20 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตเซรามิก (A) และ เรื่อง การออกแบบการจัดการกระบวนการผลิตเซรามิก
และการส่งเสริมการตลาดและทดลองตลาด (B-C) ในพื้นที่จังหวัดระนอง
จากการดำเนินงาน พบว่า ผู้ประกอบการเซรามิกได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 471 ราย และสินค้าเซรามิกได้รับการผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 35 ผลิตภัณฑ์ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
2. ปีงบประมาณ 2558 (กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
(1) ลงพื้นที่สำรวจปัญหา ความต้องการ และแนวทางแก้ไขแก่ผู้ประกอบการ
• สำรวจปัญหาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้ประกอบการกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกวน ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 21) ต้องการผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่พร้อมบรรจุภัณฑ์ และต้องการเทคนิคการตกแต่งและทำสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยแนวทางแก้ไขปัญหาคือ จัดทำแผนฝึกอบรม หลักสูตร เทคนิคการตกแต่งและทำสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ในปีงบประมาณ 2559
• สำรวจปัญหาในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ผู้ประกอบการกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาพที่ 21) ต้องการเทคนิคการตกแต่งลวดลาย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปใหม่ และขาดเทคนิคการทำสีผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยแนวทางแก้ไขปัญหาคือ จัดทำแผนฝึกอบรม หลักสูตร เทคนิคการตกแต่งและทำสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ในปีงบประมาณ 2559
A B
C D
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
ภาพที่ 21 ลงพื้นที่สำรวจปัญหา ความต้องการ และแนวทางแก้ไขแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (A-B) และจังหวัดนครศรีธรรมราช (C-D)
(2) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ/สัมมนา/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
• วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ฝึกอบรม หลักสูตร “การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทของใช้ ของประดับ และของที่ระลึก” ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการเซรามิกในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น (ภาพที่ 22)
• วันที่ 19-20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ฝึกอบรม หลักสูตร “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก” ให้แก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา (ภาพที่ 22)
A B C
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
ภาพที่ 22 จัดฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทของใช้ ของประดับ
และของที่ระลึก ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น (A) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (B-C)
• วันที่ 21-22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ฝึกอบรม หลักสูตร “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก ครั้งที่ 3” ให้แก่กลุ่มปั้นซะป๊ะดงหลวง ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน (ภาพที่ 23)
• วันที่ 30 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ฝึกอบรม หลักสูตร “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก ครั้งที่ 2” ให้แก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (ภาพที่ 23)
A B
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
ภาพที่ 23 จัดฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก ครั้งที่ 3 ในพื้นที่จังหวัดลำพูน (A)
และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก ครั้งที่ 2 ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม (B)
• วันที่ 27-28 มกราคม พ.ศ. 2558 ฝึกอบรม หลักสูตร “การตกแต่งและการทำสีผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า” ให้แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเชียงก้าวหน้า ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี (ภาพที่ 24)
• วันที่ 27-28 มกราคม พ.ศ. 2558 ฝึกอบรม หลักสูตร “การตกแต่งและการทำสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ครั้งที่ 2” ให้แก่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 24)
A B
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
ภาพที่ 24 จัดฝึกอบรม หลักสูตร การตกแต่งและการทำสีผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี (A)
และการตกแต่งและการทำสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ครั้งที่ 2 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (B)
• วันที่ 4-5 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ฝึกอบรม หลักสูตร “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการรับรองมาตรฐาน” ให้แก่กลุ่มเฮือนปฏิมา ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา (ภาพที่ 25)
• วันที่ 5-6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ฝึกอบรม หลักสูตร “การตกแต่งและการทำสีผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า” ให้แก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกวน ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 25)
A B C
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
ภาพที่ 25 จัดฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการรับรองมาตรฐาน ในพื้นที่จังหวัดพะเยา (A)
และการตกแต่งและการทำสีผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (B-C)
(3) ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์
• วันที่ 1-2 เมษายน พ.ศ. 2558 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเชียงก้าวหน้า และโรงเรียนบ้านเชียงวิทยา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี (ภาพที่ 26) โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการผลิตและการตกแต่งเพื่อประหยัดเวลาและเพิ่มมูลค่า ด้วยการทำแบบพิมพ์ การขึ้นรูปด้วยวิธีการอัดแบบ และการตกแต่งชิ้นงานด้วยลวดลายบ้านเชียงที่หลากหลาย
• วันที่ 1-2 เมษายน พ.ศ. 2558 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (ภาพที่ 26) โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการผลิตและการตกแต่งเพื่อประหยัดเวลาและเพิ่มมูลค่า ด้วยการขึ้นรูปชิ้นงานขนาดเล็กด้วยวิธีการอัด และการตกแต่งชิ้นงานดั้งเดิมด้วยสี
A B
C D
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
ภาพที่ 26 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์
ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี (A-B) และพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม (C-D)
• วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มเซรามิกสองแคว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (ภาพที่ 27) โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตกแต่งสี ซึ่งให้คำนึงถึงเรื่องแสงเงา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามมากขึ้น
• วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มปั้นซะป๊ะดงหลวง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน (ภาพที่ 27) โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปั้นตุ๊กตาชาวเหนือ เน้นเรื่องสัดส่วน และความอ่อนช้อย รวมถึงผลักดันให้ผู้ประกอบการยื่นขอรับรอง มผช.
A B C
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
ภาพที่ 27 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์
ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก (A-B) และพื้นที่จังหวัดลำพูน (C)
• วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 28) โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการผลักดันผู้ประกอบการให้ยื่นขอรับรอง มผช.
• วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มสตูลดินเผา อำเภอเมือง จังหวัดสตูล (ภาพที่ 28) โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงเตาเผา และการบำรุงรักษาเตา เพื่อให้สามารถใช้เตาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• วันที่ 15-16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (ภาพที่ 28) โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการผลักดันผู้ประกอบการให้ยื่นขอรับรอง มผช.
A B C
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2558)
ภาพที่ 28 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์
ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (A) จังหวัดสตูล (B) และจังหวัดนครพนม (C)
จากการดำเนินงาน พบว่า ผู้ประกอบการเซรามิกได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 315 ราย และสินค้าเซรามิกได้รับการผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 22 ผลิตภัณฑ์ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
3. ปีงบประมาณ 2559 (กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
(1) การสำรวจข้อมูลผู้ประกอบการ ระหว่างวันที่ 9-10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ในพื้นที่ต่างๆ
• ผู้ประกอบการกลุ่มเฮือนปฏิมา ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต คือ ชุดถ้วยชา กาแฟ สไตล์ญี่ปุ่น (ภาพที่ 29)
• ผู้ประกอบการกลุ่มพญาดิน ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต คือ เชิงเทียน ตุ๊กตาดินเผา (ภาพที่ 29)
• ผู้ประกอบการกลุ่มกระถางสุนันทา ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต คือ กระถาง อ่าง ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน (ภาพที่ 29)
A B C
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
ภาพที่ 29 สำรวจข้อมูลผู้ประกอบการกลุ่มเฮือนปฏิมา (A) กลุ่มพญาดิน (B) และกลุ่มกระถางสุนันทา (C) ในพื้นที่จังหวัดพะเยา
• ผู้ประกอบการศูนย์หัตถกรรมเตาลุงศรี ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต คือ จาน ชาม ตุ๊กตา อ่างล้างมือ ลวดลายเวียงกาหลง (ภาพที่ 30)
• ผู้ประกอบการกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านโป่งเทวี ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต คือ กระถาง อ่าง ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน (ภาพที่ 30)
A B
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
ภาพที่ 30 สำรวจข้อมูลผู้ประกอบการศูนย์หัตถกรรมเตาลุงศรี (A) และกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านโป่งเทวี (B) ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
(2) การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ/สัมมนา/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
• วันที่ 1-4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ฝึกอบรม หลักสูตร “เทคนิคการตกแต่งสีตุ๊กตาเพื่อเพิ่มมูลค่า” ให้แก่กลุ่มปั้นประติมากรรมบ้านป่าตาล ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 31)
• วันที่ 15-19 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ฝึกอบรม หลักสูตร “เทคนิคการปั้นแป้นหมุนและปั้นลอยตัว” ให้แก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านวังถั่ว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (ภาพที่ 31)
A B
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
ภาพที่ 31 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เทคนิคการตกแต่งสีตุ๊กตาเพื่อเพิ่มมูลค่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (A)
และเทคนิคการปั้นแป้นหมุนและแป้นลอยตัว ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น (B)
• วันที่ 16-18 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ฝึกอบรม หลักสูตร “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า” ให้แก่ศูนย์หัตถกรรมเตาลุงศรี ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย (ภาพที่ 32)
• วันที่ 24-25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ฝึกอบรม หลักสูตร “เทคนิคการแกะลวดลายและตกแต่งสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์” ให้แก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาพที่ 32)
• วันที่ 20-22 เมษายน พ.ศ. 2558 ฝึกอบรม หลักสูตร “การปั้นแป้นหมุนและการตกแต่ง” ให้แก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกวน ตำบลสันหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 32)
A B C
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
ภาพที่ 32 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย (A) เทคนิคการแกะลวดลายและตกแต่งสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (B) และการปั้นแป้นหมุนและการตกแต่ง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (C)
(3) การให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์
• วันที่ 20-23 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มหนุ่ยดินเผา จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเชียงก้าวหน้า กลุ่มแอ้ดแอนบ้านเชียง และโรงเรียนบ้านเชียงวิทยา จังหวัดอุดรธานี (ภาพที่ 33) โดยผู้ประกอบการต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับและถ้วยกาแฟรูปแบบใหม่ รวมถึงต้องการวิธีการขึ้นรูปด้วยเทคนิคใหม่ แนวทางแก้ไขปัญหาคือ ออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับรูปแบบต่างๆ และถ้วยกาแฟสไตล์ญี่ปุ่นให้ผู้ประกอบการ และสอนวิธีการขึ้นรูปด้วยเทคนิคใหม่
• วันที่ 14-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (ภาพที่ 33) โดยผู้ประกอบการต้องการเทคนิคตกแต่งผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า การทำแบบพิมพ์และการบำรุงรักษาเตาเผา แนวทางแก้ไขปัญหาคือ สอนเทคนิคการออกแบบ การร่างหรือคัดลอกลวดลายลงบนผลิตภัณฑ์ และการผสมสี เพื่อนำไปตกแต่งให้มีความสวยงาม สอนเทคนิคการทำแบบพิมพ์สำหรับจิ๊กเกอร์ และสอนการซ่อมแซมและการบำรุงรักษาเตาเผาแก๊ส
A B
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
ภาพที่ 33 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์
ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม หนองบัวลำภู อุดรธานี (A) และจังหวัดนครพนม (B)
• วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาพที่ 34) โดยผู้ประกอบการต้องการเทคนิคการตกแต่งสีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ แนวทางแก้ไขปัญหาคือ สอนเทคนิคการผสมสี และการตกแต่งสีให้มีความสวยงามและสม่ำเสมอ
• วันที่ 25-26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มเซรามิกบ้านหาดส้มแป้น ตำบลส้มแป้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง (ภาพที่ 34) โดยผู้ประกอบการต้องการเทคนิคการตกแต่งสีและการทำแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์สำหรับจิ๊กเกอร์ แนวทางแก้ไขปัญหาคือ สอนเทคนิคการตกแต่งสีภาพนูนต่ำ และสอนเทคนิคการทำแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์สำหรับจิ๊กเกอร์
• วันที่ 15-16 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ศูนย์หัตถกรรมเตาลุงศรี ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย (ภาพที่ 34) โดยผู้ประกอบการต้องการการตกแต่งลวดลายด้วยรูปลอก แนวทางแก้ไขปัญหาคือ สอนเทคนิคการทำรูปลอกและการตกแต่งผลิตภัณฑ์ด้วยรูปลอก
A B C
(ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559)
ภาพที่ 34 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์
ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (A) จังหวัดระนอง (B) และจังหวัดเชียงราย (C)
จากการดำเนินงาน พบว่า ผู้ประกอบการเซรามิกได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 175 ราย และสินค้าเซรามิกได้รับการผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. จำนวน 15 ผลิตภัณฑ์ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559)