ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

คุณสมบัติของพืชสมุนไพรในการรักษาในด้านต่างๆ  (Bombeli, T., 2010)

              จากคุณสมบัติของพืชสมุนไพรในการรักษาด้านต่างๆ นั้น  ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติในการรักษาโรคผิวหนัง  ต้านอาการอักเสบ  ต้านรังแค  จึงมีการนำพืชสมุนไพรเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง  ซึ่งมีดังต่อไปนี้

              1. สมุนไพรที่มีคุณสมบัติรักษาโรคผิวหนัง

              โรคผิวหนังหรือผิวหนังอักเสบ  เป็นสภาวะที่ผิวหนังมีลักษณะต่างๆ   เช่น  มีรอยแดง  ตกสะเก็ดและมีอาการคัน  สำหรับสมุนไพรที่สามารถนำมารักษาโรคผิวหนังได้  เช่น

                    1.1 ขมิ้น  (curcuma  longa)  โดยการนำเหง้าของขมิ้นมาบดให้เป็นผงสีเหลือง  ซึ่งขมิ้นจะทำหน้าที่ในการลดอาการอักเสบ  ฯลฯ

              2. สมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการรักษาสิว

              สิว  เป็นสภาวะที่เกิดจากการที่ต่อมเหงื่อและรูขุมขนเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบและเป็นหนอง (หัวสีขาว)  พืชที่มีคุณสมบัติในการรักษาสิว  ได้แก่

                    2.1 Artemisia  (Artemisia  vulgaris & absinthum)  โดยการนำส่วนของพืชทั้งหมด  หรือใบแห้งของพืชมาต้ม  แล้วสกัดเอาน้ำออกมา

                    2.2 โหระพา  (basileus)  โดยการสกัดเอาน้ำมันออกมา  โดยน้ำมันโหระพาจะมีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบและเชื้อแบคทีเรีย

                    2.3 ถั่วลันเตา  (pisum  sativum)  โดยวิธีการนำถั่วลันเตามาบดละเอียด  แล้วนำมาพอกหน้า

                    2.4 ฟักทอง  (cucurbita  pepo)  โดยการใช้น้ำมันเมล็ดฟักทอง  ใบฟักทองแห้ง  หรือนำรากฟักทองมาชงไว้สำหรับดื่ม 

                    2.5 หอมแดง  (allium  cepa)  น้ำหอมแดงจะมีคุณสมบัติในการต้านจุลินทรีย์และต้านการอักเสบ

              3. สมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการชะลอความแก่

              ผิวหนังที่เหี่ยวย่นคือ  ลักษณะที่เกิดจากการบางลงและเกิดรอยย่นของผิวหนังชั้นนอกเป็นเส้นๆ  จนเกิดรอยแตก  และรอยย่น  ที่เรียกว่า  รอยตีนกา  ผลของการชะลอความแก่คือ  การเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในผิวหนังและทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง  พืชที่มีคุณสมบัติในการชะลอความแก่  ได้แก่  

                    3.1 โสม  (panax  ginseng)  พืชชนิดนี้จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นเมทาบอลิซึมของผิวหนังและการไหลเวียนของเลือด  การสร้างเคราติน  ให้ความชุ่มชื้นและความอ่อนนุ่ม  ลดรอยเหี่ยวย่นและทำให้ผิวขาวขึ้น

                    3.2 ชาเขียว/ดำ  ประกอบด้วยโพลีฟีนอล  เช่น  catechain

                    3.3 สารสกัดจากเมล็ดองุ่น  (vitis  vinifera)  ประกอบด้วย  procyanidins  สารต้านอนุมูลอิสระและต้านประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ที่ลดลง  และนิยมใช้ในเครื่องสำอางที่ทำให้ผิวกระจ่างใส

                    3.4 โคเอนไซม์  Q10  (ubiquinone)  เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพียงชนิดเดียวที่ร่างกายสามารถผลิตได้เอง  มีประสิทธิภาพในการชะลอความแก่

              4. สมุนไพรที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ

              การอักเสบเป็นลักษณะของสภาวะที่ผิวหนังเกิดการติดเชื้อ  พืชที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ  ได้แก่

                    4.1 Red  clover (trifolium  pretense)  ประกอบด้วย  isoflavones  มีการนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในโลชั่นกันแดด

                    4.2 คาโมไมล์  (matricaria  recutita)  ส่วนผสมที่สำคัญ  ได้แก่  flavonoids, apigenin  และ bisabolol  (ต้านการอักเสบของ leukotriens)  คาโมไมล์สามารถนำไปใช้ได้หลายกระบวนการ  เช่น  การสกัด  ชง  หรือทำเป็นน้ำมันหอมระเหย

                    4.3 ลูกซัค  (trigonella  foenum)  เป็นสมุนไพรที่เก่าแก่ของโลก  เมล็ดของลูกซัคมีประสิทธิภาพในการต้านการอักเสบ

                    4.4 โจโจ้บา  (buxus  chinensis)  ประกอบด้วยกรดไขมันที่มีความหลากหลาย  มีประสิทธิภาพในการต้านการอักเสบ  เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลินทรีย์

                    4.5 รากชะเอมเทศ  (glycyrrhiza  glabra)  ประกอบด้วยสาร glycyrrhizin  ที่มีประสิทธิภาพ

              5. สมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการปกป้องผิว

              เครื่องสำอางหลายชนิดประกอบด้วยสูตรต่างๆ ที่ปกป้องผิวจากสารอันตรายภายนอก  พืชที่มีคุณสมบัตินี้  ได้แก่

                    5.1 ว่านหางจระเข้  (aloe  barbadensis)  มีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  ต้านการอักเสบและรักษาบาดแผลได้เป็นอย่างดี

                    5.2 โอ๊ต  เช่น  ข้าวโอ๊ตบดหยาบๆ  รำข้าว  ดอกโอ๊ต  น้ำมันโอ๊ต  hydrolyse oat  protein  หรือ  oat beta-glucan  มีประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นและชะลอความแก่

              6. สมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการรักษารังแค

              รังแค  เป็นลักษณะของการตกสะเก็ดที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของไขมันในชั้นผิวหนัง  ซึ่งทำให้เกิดแนวโน้มในการติดเชื้อของจุลินทรีย์และฟังไจได้  พืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการรักษารังแค  ได้แก่  เสจ (Sage),  โรสแมรี่ (Rosemary),  ไทม์ (Thyme),  กระเทียม (Garlic) และผลวอลนัท (Walnut)