- สารกันเสียจากสมุนไพรในเครื่องสำอาง
- ความหมายของเครื่องสำอาง
- ส่วนประกอบหลักในเครื่องสำอาง
- ความหมายของสารกันเสีย
- ชนิดของสารกันเสีย
- ลักษณะที่ดีและการเสื่อมของสารกันเสีย
- อันตรายที่เกิดจากการใช้เครื่องสำอาง
- ความสำคัญของพืชสมุนไพร
- คุณสมบัติของพืชสมุนไพรในการรักษาในด้านต่างๆ
- ตัวอย่างพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการนำไปใช้เป็นสารกันเสียในเครื่องสำอาง
- การประเมินประสิทธิภาพของสารกันเสียในผลิตภัณฑ์
- ตัวอย่างความเหมาะสมของช่วงอายุครีมกับสารกันเสีย
- วิธีการเก็บรักษาเครื่องสำอาง
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
อันตรายที่เกิดจากการใช้เครื่องสำอาง (Lundov, MD., et al., 2009)
ในปี 1960 และ 1970 การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในเครื่องสำอางมีปริมาณเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้ผลิตภัณฑ์เกิดการเน่าเสีย เป็นตัวก่อโรค จึงทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และยังเป็นสาเหตุให้องค์ประกอบต่างๆ กลิ่นหรือสีในเครื่องสำอางเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยจุลินทรีย์สามารถปนเปื้อนในเครื่องสำอางได้ 2 ทางคือ 1. ระหว่างขั้นตอนการผลิต 2. ขั้นตอนการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น ครีม โลชั่น แชมพู คอนดิชันเนอร์ สบู่เหลว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้น้ำเป็นองค์ประกอบหลัก จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ได้ง่าย แนวทางการแก้ไขการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในเครื่องสำอางคือ การใส่สารกันเสียเข้าไปเพื่อป้องกันการเจริญของจุลินทรีย์เหล่านั้น แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ผู้บริโภคเกิดอาการแพ้เครื่องสำอางขึ้น โดยพบว่า ประมาณ 6% ของผู้บริโภค มีสาเหตุหลักมาจากสารกันเสียหรือน้ำหอมที่ใส่ในเครื่องสำอางนั่นเอง
สารกันเสียสังเคราะห์เป็นชนิดที่นิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมากกว่าสารกันเสียจากธรรมชาติ เพราะมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการและค่อนข้างครบถ้วนในการเป็นสารกันเสียที่ดี แต่มีรายงานพบว่า สารกันเสียสังเคราะห์บางชนิดไม่ปลอดภัยกับผู้บริโภค เพราะนอกจากจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแพ้เป็นเวลานานแล้ว ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมในเพศหญิง และยังทำให้อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายบกพร่อง รวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งอัณฑะและทำลายระบบประสาทอีกด้วย ดังนั้นวิธีทางแก้ไขที่จะหลีกเลี่ยงการใช้สารกันเสียสังเคราะห์คือ การหันมาใช้สารกันเสียที่มาจากธรรมชาติ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย สารสกัดจากพืชสมุนไพร วิตามินชนิดต่างๆ เป็นต้น ปัจจุบันการใช้สารกันเสียจากสมุนไพรมีจำนวนมากขึ้น แต่เกิดจากกระบวนการลองผิดลองถูกมากกว่า แต่เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีหลักฐานที่แสดงว่าพืชสมุนไพรนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถฟื้นฟู รักษาและปกป้องผิวได้อีกด้วย (Bombeli, T., 2010) นอกจากนี้โดยพื้นฐานของพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติเป็นยาอยู่แล้ว จึงเหมาะที่จะนำมาทำเป็นสารกันเสียในเครื่องสำอางเพื่อความมีประสิทธิภาพและเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค