ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

การเกิดและแหล่งกำเนิดไดออกซิน

              สารกลุ่มไดออกซิน/ฟิวแรนที่เกิดขึ้นในรูปของผลผลิตพลอยได้จากหลายกระบวนการและแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม สามารถสรุปได้ ดังนี้

              1. กระบวนการผลิตเคมีภัณฑ์ที่มีคลอรีนโบรมีน ฟีนอล เป็นองค์ประกอบ เช่น 2,4,5 – T (herbicide) และ pentachlorophenol  (Rappe, C., 1996)
              2. กระบวนการเผาไหม้จากเตาเผาอุณหภูมิสูง (incinerator) เช่น เตาเผาขยะชุมชน เตาเผาขยะติดเชื้อ เตาเผาขยะสารอันตราย หรือ กากอุตสาหกรรม กระบวนการหลอมโลหะ ซึ่งพบสารไดออกซิน/ ฟิวแรนในกากของเถ้าลอย (fly ash) อากาศที่ปลดปล่อยจากปล่องควัน และน้ำชะเตาเผา รวมถึงเตาเผาหลอมโลหะที่มีโลหะประเภทต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น อุตสาหกรรมรีไซเคิลโลหะ อุตสาหกรรมหลอมอะลูมิเนียม  โลหะทองแดง  แมงกานีส และนิกเกิล (Olie, K., Addink, R., and Schoonenboom, M., 1998) การเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูงจะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต่างๆ เช่น ไพโรลิซิส (pyrolysis) กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (gasification) และการเผาไหม้ (combustion) และธาตุต่าง ๆ เช่น คาร์บอน คลอรีน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยการเกิดไดออกซินและฟิวแรน ดังแสดงในสมการที่ 1 (Moreno-Pirajan, JC., et al., 2007)
 
C + H2 + Cl2 + O2 + N2  → CO2 + CO + HCl + H2O + N2 + O2 + PCDD + PCDF  —  (1)
 
              3. กระบวนการทางธรรมชาติ หรือ กิจกรรมของมนุษย์ที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น chlorophenol hydrogen peroxide จากโรงงานกระดาษ การผลิตเยื่อกระดาษ หรือการทับถมของขยะ  แหล่งกำเนิดสารกลุ่ม  ไดออกซิน/ฟิวแรน ที่ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมซึ่งจากการศึกษาของประเทศเนเธอร์แลนด์ดังตารางที่ 3
 
ตารางที่ 3  แหล่งกำเนิดสารและปริมาณไดออกซิน/ฟิวแรนที่ปล่อยสู่อากาศในประเทศสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเยอรมัน (จารุพงศ์ บุญหลง, 2547) 
 

แหล่งกำเนิด

ปริมาณไดออกซิน /ฟิวแรน (g -TEQ/ year)

สหรัฐ (พ.ศ. 2538)

เยอรมัน (พ.ศ.2538)

เนเธอร์แลนด์

เตาเผาขยะโรงพยาบาล

เตาเผาขยะชุมชน

เตาเผาหลอมโลหะ

เตาเผาขยะสารอันตราย

กระบวนการแปรรูปโลหะ

 

โรงงานผลิตสารเคมี

การใช้ไม้ที่ได้รับการรักษาเนื้อไม้

การใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง

การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากยานพาหนะ

 

การเผาไม้

 

การเผาไหม้ที่ควบคุมไม่ได้

การใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง

477

1,100

0.38

5.7

17.0 (อะลูมิเนียม)

541 (ทองแดง)

-

-

72.8

33.5 (ดีเซล)

6.3 (ไร้สารตะกั่ว)

62.5 (ที่อยู่อาศัย)

29.1 (อุตสาหกรรม)

208 (ป่าไม้ฟาง)

9.3

0.1

30

168

2

5.69 (อุตสาหกรรมเหล็ก)

-

-

-

14.2

4.7

-

2.7

-

-

1.59

-

382

26

-

4.0

-

0.5

25

16.7

7.0

-

-

-

-

-

 
              4. กระบวนการเกิดปฏิกิริยาเคมีแสง (photochemical reaction) ภายใต้บรรยากาศ ทำให้ไดออกซิน ปลดปล่อยสู่บรรยากาศและเคลื่อนย้ายไปได้ไกล (Oka , H., et al., 2006; Steen, PO., et al., 2009)