- เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไดออกซิน
- ไดออกซินคืออะไร
- คุณสมบัติของสารไดออกซิน
- การเกิดและแหล่งกำเนิดไดออกซิน
- ความเป็นพิษของไดออกซินที่มีต่อร่างกาย
- การกระจายตัวของสารไดออกซินลงสู่สิ่งแวดล้อม
- การตรวจวัดสารไดออกซิน
- การจัดการกากของเสีย
- มาตรฐานควบคุมสารไดออกซินของประเทศไทย
- มาตรการควบคุมไดออกซินและฟิวแรนในระดับโลก
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
บทนำ
มนุษย์นำสารเคมีมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันมนุษย์ก็ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีเช่นกัน ปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนที่ได้รับผลกระทบซึ่งเกิดจากกิจกรรมอุตสาหกรรมและการเกษตร นับเป็นปัญหาสำคัญไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่ยังเป็นปัญหาระดับโลก ปัจจุบันมนุษย์จึงได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีหลายชนิด รวมทั้งสารมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและสารตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารและระบบนิเวศน์ โดย 50-60 ปีที่ผ่านมา ปัญหาสารเคมีตกค้างที่ยาวนานแสดงให้เห็นถึงพิษภัยจากการใช้สารเคมีอย่างชัดเจนมากขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดความร่วมมือและทำข้อตกลงระหว่างประเทศขึ้น หนึ่งในความร่วมมือนั้นคือข้อตกร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาสตอกโฮล์ม ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการปลดปล่อยสารมลพิษอินทรีย์กลุ่มที่ตกค้างยาวนาน (persistent organic pollutants, POPs) ซึ่งสารเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ สารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีน (organochlorine) กลุ่มพีซีบี (polychlorinated biphenyls: PCBs) และกลุ่มไดออกซิน (polychlorinated dibenzo-p-dioxins:PCDDs) และฟิวแรน (polychlorinated dibenzofurans : PCDFs) รวมทั้งสิ้น 12 ชนิดคือ อัลดริน (aldrin) คลอเดน (chlordane) ดีดีที (DDT) ดิลดริน (dieldrin) เอนดริน (endrin) เฮปตะคลอร์ (heptachlor) เอชซีบี (hexachlorobenzene) ไมเร็กซ์ (mirex) ท็อกซาฟีน (toxaphene) พีซีบี (polychlorinated biphenyls)ไดออกซิน (polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs) และฟิวแรน ( polychlorinated dibenzo furan: PCDFs) (กรมควบคุมมลพิษ, 2551)
ไดออกซินคืออะไร
ไดออกซิน (dioxins) เป็นผลิตผลทางเคมีที่เกิดขึ้นมาโดยมิได้ตั้งใจผลิตขึ้น (unintentional products) จากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เป็นสารประกอบในกลุ่มคลอริเนตเตท อะโรเมติก (chlorinated aromatic compounds) ที่มีออกซิเจน (O) และคลอรีน (Cl) เป็นองค์ประกอบ 1 ถึง 8 อะตอม ไดออกซิน มีชื่อเรียกเต็ม คือ โพลีคลอริเนตเตทไดเบนโซ พารา-ไดออกซิน (polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs) มีทั้งหมด 75 ชนิด และสารอีกกลุ่มที่มีโครงสร้าง และความเป็นพิษคล้ายกับไดออกซิน เรียกว่า Dioxin like สารกลุ่มนี้คือ ฟิวแรน มีชื่อเรียกเต็มคือ โพลีคลอริเนตเตทไดเบนโซฟิวแรน (polychlorinated dibenzo furan: PCDFs) มีอยู่ 135 ชนิด โดยไดออกซิน/ฟิวแรน มีทั้งหมด 210 ชนิด (75+135) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มีสารคลอรีน (Cl) บนวงแหวนของเบนซีน (benzene ring) (จารุพงศ์ บุญหลง, 2547) ดังแสดงในรูปที่ 1 และจำนวนไอโซเมอร์ (isomer) ของไดออกซินและฟิวแรน ดังแสดงในตารางที่ 1
รูปที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานของไดออกซิน (PCDDs)และฟิวแรน (PCDFs) (Holtzer,Dañko, and Dañko, 2007)
ตารางที่ 1 ไอโซเมอร์ของไดออกซินและฟิวแรน
จำนวน คลอรีนอะตอม |
จำนวนไอโซเมอร์ของไดออกซิน (PCDDs) |
จำนวนไอโซเมอร์ของ ฟิวแรน (PCDFs) |
1 2 3 4 5 6 7 8 รวม |
2 10 14 22 14 10 2 1 75 |
4 16 28 38 28 16 4 1 135 |
ที่มา : Rappe, C. (1996)
คุณสมบัติของสารไดออกซิน
โครงสร้างของสารไดออกซิน/ฟิวแรน ที่ประกอบด้วยคลอรีนอะตอมเกาะเกี่ยวด้วยพันธะทางเคมีกับวงแหวนเบนซีน ละลายได้ดีในไขมัน ทำให้สารในกลุ่มนี้มีความคงทนสูงอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ละลายน้ำได้น้อย สามารถถ่ายทอดและสะสมได้ในห่วงโซ่อาหาร (food chain) สามารถเคลื่อนย้ายและแพร่กระจายในอากาศและตกลงสู่ดิน รวมทั้งแหล่งน้ำ สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความเป็นพิษโดยมีการจัดการลำดับความเป็นพิษของ WHO ซึ่งเทียบให้เป็นสารที่มีความเป็นพิษระดับ 1 ซึ่งคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของไดออกซินและฟิวแรน ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของสารไดออกซินและฟิวแรน
คุณสมบัติ |
PCDDs |
PCDFs |
จุดหลอมเหลว (°C) |
89 -322 |
184-258 |
จุดเดือด(°C) |
284-510 |
375-537 |
Log Kow |
4.3-8.2 |
5.4-8.0 |
Half life (อากาศ) |
2 วัน –3 สัปดาห์ |
1 –3 สัปดาห์ |
Half life (น้ำ) |
2 เดือน –6 ปี |
3วัน –8 เดือน |
Half life(ดิน) |
2 เดือน –6 ปี |
8 เดือน –6 ปี |
Half life (ตะกอนดิน) |
8 เดือน –6ปี |
2 ปี –6 ปี |
การเกิดและแหล่งกำเนิดไดออกซิน
สารกลุ่มไดออกซิน/ฟิวแรนที่เกิดขึ้นในรูปของผลผลิตพลอยได้จากหลายกระบวนการและแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม สามารถสรุปได้ ดังนี้
แหล่งกำเนิด |
ปริมาณไดออกซิน /ฟิวแรน (g -TEQ/ year) |
||
สหรัฐ (พ.ศ. 2538) |
เยอรมัน (พ.ศ.2538) |
เนเธอร์แลนด์ |
|
เตาเผาขยะโรงพยาบาล เตาเผาขยะชุมชน เตาเผาหลอมโลหะ เตาเผาขยะสารอันตราย กระบวนการแปรรูปโลหะ
โรงงานผลิตสารเคมี การใช้ไม้ที่ได้รับการรักษาเนื้อไม้ การใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากยานพาหนะ
การเผาไม้
การเผาไหม้ที่ควบคุมไม่ได้ การใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง |
477 1,100 0.38 5.7 17.0 (อะลูมิเนียม) 541 (ทองแดง) - - 72.8 33.5 (ดีเซล) 6.3 (ไร้สารตะกั่ว) 62.5 (ที่อยู่อาศัย) 29.1 (อุตสาหกรรม) 208 (ป่าไม้ฟาง) 9.3 |
0.1 30 168 2 5.69 (อุตสาหกรรมเหล็ก) - - - 14.2 4.7 - 2.7 - - 1.59 |
- 382 26 - 4.0 - 0.5 25 16.7 7.0 - - - - - |
congeners |
TEF NATO/CCMS(1988) |
TEF WHO (1997) |
Dibenzo-p-dioxins 2,3,7,8-Tetra CDD 1,2,3,7,8-Penta CDD 1,2,3,4,7,8-Hexa CDD 1,2,3,6,7,8-Hexa CDD 1,2,3,,8,9-Hexa CDD 1,2,3,4,6,7,8-Hepta CDD 1,2,3,4,6,7,8,9-Octa CDD Dibenzofurans 2,3,7,8-Tetra CDF 1,2,3,7,8-Perta CDF 2,3,4,7,8-PentaCDF 1,2,3,4,7,8-HexaCDF 1,2,3,6,7,8-HexaCDF 1,2,3,7,8,9-HexaCDF 2,3,4,6,7,8-HexaCDF 1,2,3,4,6,7,8-HeptaCDF 1,2,3,4,7,8,9-Hepta CDF 1,2,3,4,6,7,8,9-Octa CDF |
1.0 0.5 0.1 0.1 0.1 0.01 0.001
0.1 0.05 0.5 0.1 0.1 0.1 0.1 0.01 0.01 0.001 |
1.0 1.0 0.1 0.1 0.1 0.01 0.001
0.1 0.05 0.5 0.1 0.1 0.1 0.1 0.01 0.01 0.0001 |
การรับสารไดออกซินของมนุษย์ |
ระดับของสารไดออกซิน/น้ำหนักตัว (body weight)/วัน |
ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา เดนมาร์ก คณะกรรมการยุโรป ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา(EPA 1996) องค์การอนามัยโลก (WHO) |
2.33 pg TEQ/kg bw/day 10pg TCDD /kg bw/day 10pg TEQ/kg bw/day 5 pg TCDD /kg bw/day 2 pg TEQ/kg bw/day 5 pg TCDD /kg bw/day 1 pg TCDD /kg bw/day 1 pg TCDD /kg bw/day 10 pg TCDD /kg bw/day 4 pg TEQ/kg bw/day 1 pg TEQ/kg bw/day 5 pg TCDD /kg bw/day 1 pg TCDD /kg bw/day 10pg TEQ/kg bw/day 0.006 pg TEQ/kg bw/day 1-4 pg TEQ/kg bw/day |
ที่มา : Rodriguez, C., et al. (2008)
2. การกระจายสู่ดิน ไดออกซินสามารถปนเปื้อนได้ในดินจากกระบวนการเผาไหม้และการทับถม (deposition) ของไดออกซินและฟิวแรน ซึ่งพบได้ที่ชั้นบนสุดของผิวหน้าดิน (Brambilla, G., et al., 2004) เนื่องจากไดออกซินมีความสามารถในการละลายน้ำ(water solubility) ต่ำ โดยพบว่าสารในกลุ่มคลอโรฟีนอล (chlorophenol) PCDDs มีการปนเปื้อนในดินมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ polychlorinated phenoxy phenols (PCPPs), polychlorinated diphenyl ethers (PCDEs) และ polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) นอกจากนี้ยังพบ PCDDs และ PCDFs ที่ความลึกสุดของชั้นดิน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีการเคลื่อนที่ของ PCDDs และ PCDFs ลงไปในชั้นดินและมีการอิ่มตัว (saturation) ของสารอินทรีย์ (organic matters) เกิดขึ้นที่ผิวหน้าดินโดยที่สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายในน้ำและเป็นสารแขวนลอย (particulate organic matters) และสารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ (dissolved organic matters) และตกค้างอยู่ในดินเป็นตัวช่วยให้สารในกลุ่มคลอโรฟีนอลเคลื่อนที่ลงสู่ดิน (Frankki, S., et al., 2007)
3. การปะปนของไดออกซินในน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมโดยตรง เช่น น้ำเสียจากโรงงานกระดาษ โรงงานผลิตสารเคมี โรงงานที่นำโลหะกลับมาใช้ใหม่จากการใช้สารล้างที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ลำดับที่ |
วัสดุ |
ร้อยละของคลอรีนในวัสดุ |
Dioxins (µg/kg emission) |
1 2 3 4 5 |
PVC Hospital waste Hazardous waste Municipal waste Wood composition |
45 7 5.5 0.4 0.2 |
0.4* 20 1 10 1* |
ตารางที่ 6 ปริมาณของสารไดออกซินที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการเผาไหม้วัสดุ (ต่อ)
ลำดับที่ |
วัสดุ |
ร้อยละของคลอรีนในวัสดุ |
Dioxins (µg/kg emission) |
6 7 8 9 10 |
Coal combustion Leaded gasoline Unleaded gasoline Heavy fuel Diesel rhinebarge |
0.02 0.002 0.001 0.005 Nd. |
1* 0.03 0.003 0.4* 0.1* |
ที่มา : พล สาเททอง (2549)
7. การแพร่กระจายสารไดออกซินจากการไม้ฟืนในครัวเรือนโดยทั่วไปในไม้จะมีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ จากการประมาณการพบว่า มีการแพร่กระจายของสารไดออกซินที่มีความเข้มข้นต่อพื้นที่สูงสุดประมาณ 0.2 ng/m2 ต่อพื้นที่ที่มีบ้าน 50 หลัง โดยแต่ละหลังห่างกันในรัศมี 1 กิโลเมตร
(Roeder, RA., Garber, RJ., and Schelling, GT., 1998)
ผลิตภัณฑ์ |
ปริมาณของ PCDDs และ PCDFs สูงสุด (pgWHO-TE/g lipid base) |
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ของเนื้อสัตว์จาก สัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์ปีกและสัตว์ป่าที่เลี้ยงในฟาร์ม หมู ตับและผลิตภัณฑ์จากตับ เนื้อปลาและผลิตภัณฑ์สืบเนื่องจากการประมง นมและผลิตภัณฑ์นม (เนยเหลว) ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์จากไข่ น้ำมันและไขมัน ไขมันสัตว์ จากสัตว์เคี้ยวเอื้อง จากสัตว์ปีกและสัตว์ป่าที่เลี้ยงในฟาร์ม จากไขมันสัตว์ผสม น้ำมันพืช น้ำมันปลาที่มนุษย์ใช้บริโภค |
3 2 1 6 4 (น้ำหนักสด) 3 3
3 2 1 0.75 2 |
นอกจากนี้ยังสามารถพบไดออกซินในน้ำลาย (saliva) ของมนุษย์ด้วย จากการทดลองของ Ogawa, T., et al (2003) ได้วิเคราะห์ polychlorinated biphenyls (PCBs) และ PCDDs ในตัวอย่างน้ำลายและเลือดของมนุษย์ที่มีผลต่อเซลล์เยื่อบุผิวจากชิ้นเนื้อเหงือกมนุษย์ (human gingival epithelial cell : HGEC) พบว่ามีระดับของ tri- และ tetrachlorinated PCBs สูงในตัวอย่างน้ำลาย ขณะที่ในเลือดจะพบ hexa- และ heptachlorinated PCBs โดยทั่วไปแล้วในตัวอย่างน้ำลายและเลือดจะพบ 1,2,3,4,6,7,8,9-octachlorodibenzo-p-dioxin (OCDD) เป็นสารหลัก ผลที่ได้นี้ชี้ให้เห็นว่าไดออกซินในน้ำลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดโรคปริทันต์(periodontal disease) ได้และปริมาณน้อยที่สุดของไดออกซินที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติจากการได้รับสารไดออกซินทางปากของมนุษย์โดยมีอาการเฉียบพลัน ปานกลาง และเรื้อรัง เท่ากับ 200, 20 และ 1 พิโคกรัม ต่อกิโลกรัม ต่อ วัน ตามลำดับ (ATSDR, 2008)
การตรวจวัดสารไดออกซิน
การตรวจวิเคราะห์สารไดออกซินนั้นสามารถอ้างอิงได้หลายวิธี ซึ่งวิธีมาตรฐานเหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวอย่างประเภทต่างๆ เช่น ตัวอย่างอากาศจากปล่อง ตัวอย่างในบรรยากาศ ตัวอย่างน้ำทิ้ง ตัวอย่างชีวภาพ ตัวอย่างอาหาร ฯลฯ นอกจากนั้นแต่ละประเทศก็จะมีมาตรฐานการวิเคราะห์ด้วยวิธีต่างๆ กัน เช่น EPA1613 EPA8290 หรือ EPA23 TO-09 EN1948 (พล สาเททอง, 2549) ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
การจัดการกากของเสีย (ปิยาณี ตั้งทองทวี, 2546)
วิธีจัดการกากของเสียไดออกซินที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยและเป็นวิธีที่ USEPA แนะนำคือ การเผา (Incineration) โดยเตาเผาที่เหมาะสมมี 3 แบบ คือ
ตารางที่ 8 เปรียบเทียบค่ามาตรฐาน PCDDs/PCDFs จากเตาเผาอุณหภูมิสูงของประเทศต่างๆ
ประเทศ |
ค่ามาตรฐาน |
ประเภทเตาเผา |
ออสเตรีย แคนาดา สหภาพยุโรป เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น(มาตรฐานเก่า) ญี่ปุ่น(มาตรฐานใหม่) สหรัฐอเมริกา(มาตรฐานเก่า) สหรัฐอเมริกา(มาตรฐานใหม่) |
0.1ng. I-TEQ/Nm3 0.1 ng. I-TEQ/Nm3 0.1ng. I-TEQ/Nm3 1.0 ng. I-TEQ/Nm3 0.5 ng. I-TEQ/Nm3 0.5 ng. I-TEQ/Nm3 0.1ng. I-TEQ/Nm3 30 ng-Total/Nm3 13 ng-Total/Nm3 |
เตาเผาทุกขนาด เตาเผาทุกขนาด เตาเผาทุกขนาด เตาเผาทุกขนาด เตาเผาทุกขนาด เตาเผาทุกขนาด เตาเผาขนาดใหญ่ เตาเผาขนาดใหญ่ เตาเผาขนาดใหญ่ |
ตารางที่ 8 เปรียบเทียบค่ามาตรฐาน PCDDs/PCDFs จากเตาเผาอุณหภูมิสูงของประเทศต่างๆ (ต่อ)
ประเทศ |
ค่ามาตรฐาน |
ประเภทเตาเผา |
ประเทศไทย (2540)
ประเทศไทย (2545) |
30 ng-Total/Nm3
0.5 ng. I-TEQ/Nm3 |
เตาเผามูลฝอยชุมชนขนาดตั้งแต่ 1 ตัน/วันขึ้นไป เตาเผาสิ่งปฏิกูลหรือเตาเผาที่ไม่ใช้แล้ว |
ที่มา : จารุพงศ์ บุญหลง (2547)
ตารางที่ 9 ค่ามาตรฐานของสารไดออกซินจากตัวกลางสิ่งแวดล้อมที่กำหนดโดยประเทศแคนาดา
ตัวกลางสิ่งแวดล้อม |
ค่ามาตรฐาน |
|
อากาศ น้ำดื่ม น้ำผิวดิน ดิน |
บรรยากาศ (24 ชั่วโมง) ปริมาณมากที่สุดที่อนุญาตให้ตรวจพบได้ กำลังดำเนินการพิจารณา - พื้นที่ที่อยู่อาศัย - พื้นที่การเกษตร |
5 พิโคกรัม TEQ ต่อคิวบิกเมตร 15 พิโคกรัม TEQ ต่อลิตร - 1000 พิโคกรัม TEQ ต่อกรัม 10 พิโคกรัม TEQ ต่อกรัม |
ที่มา : Ministry of Environment and Energy of Canada (2008)
มาตรฐานควบคุมสารไดออกซินของประเทศไทย
ประเทศไทยเริ่มมีการกำหนดให้เตาเผามูลฝอยเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่จะต้องควบคุมการปล่อยอากาศเสียออกสู่บรรยากาศและกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย โดยจัดทำเป็นประกาศ 4 ฉบับ ประกอบด้วย
ฉบับที่ 1 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2540 เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย ซึ่งกำหนดค่าสารประกอบไดออกซินรวมไม่เกิน 30 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2540)
บทสรุป
ไดออกซิน (dioxins) เป็นผลิตผลทางเคมีที่เกิดขึ้นมาโดยมิได้ตั้งใจผลิตขึ้น (unintentional products) และเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูงที่สุดที่ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม มนุษย์สามารถรับสารไดออกซินได้จากกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวเราโดยมีแหล่งกำเนิดทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือแม้แต่การจราจรซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวเรามาก ภาครัฐเห็นความสำคัญของปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อประชาชนโดยมีนโยบายและกฎหมายเพื่อควบคุมแก้ไขและพยายามปรับลดการปลดปล่อยของสารกลุ่มไดออกซินจากแหล่งกำเนิด ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้เหมาะสมต่อไปในอนาคตและต้องมีการติดตามตรวจสอบเพื่อควบคุมการปลดปล่อยสารไดออกซินอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศที่เจริญแล้วนั้น การบังคับใช้กฎหมายและความรับผิดชอบต่อสังคมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการปรับลดสารมลพิษไม่ใช่แต่เฉพาะสารไดออกซินเท่านั้นแต่สารพิษกลุ่มอื่นๆ ก็สามารถบริหารจัดการให้ปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนั้นการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อความเข้าใจและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเพื่อมิให้เป็นผู้สร้างมลพิษก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มีส่วนช่วยแก้ปัญหามลพิษให้ลดลงด้วย
อ้างอิง
Ministry of Environment and Energy of Canada. Dioxins and Furans. [Online] [cited 8 April 2008]
Available from internet : http://www.mywaterlooregion.com/website/references/dioxinsandfurans.pdf
Moreno-Pirajan, JC., et al. Evaluation of dioxin and furan formation thermodynamics in combustion process of urban solid waste. Ecl. Quim.
São Paulo, 2007, vol. 32, no. 1, p. 15-18.
Ogawa, T., et al. Detectable dioxins in human saliva and their effects on gingival epithelial cells. J Dent Res, 2003, vol. 82, no. 10, p. 849-853.
Oka, H., et al. Atmospheric deposition of polychlorinated dibenzo-p-dioxins (PCDDs) and polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) in Kanazawa, Japan.
Journal of Health Science, 2006, vol. 52, no. 3, p. 300-307.