- เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไดออกซิน
- ไดออกซินคืออะไร
- คุณสมบัติของสารไดออกซิน
- การเกิดและแหล่งกำเนิดไดออกซิน
- ความเป็นพิษของไดออกซินที่มีต่อร่างกาย
- การกระจายตัวของสารไดออกซินลงสู่สิ่งแวดล้อม
- การตรวจวัดสารไดออกซิน
- การจัดการกากของเสีย
- มาตรฐานควบคุมสารไดออกซินของประเทศไทย
- มาตรการควบคุมไดออกซินและฟิวแรนในระดับโลก
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
คุณสมบัติของสารไดออกซิน
โครงสร้างของสารไดออกซิน/ฟิวแรน ที่ประกอบด้วยคลอรีนอะตอมเกาะเกี่ยวด้วยพันธะทางเคมีกับวงแหวนเบนซีน ละลายได้ดีในไขมัน ทำให้สารในกลุ่มนี้มีความคงทนสูงอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ละลายน้ำได้น้อย สามารถถ่ายทอดและสะสมได้ในห่วงโซ่อาหาร (food chain) สามารถเคลื่อนย้ายและแพร่กระจายในอากาศและตกลงสู่ดิน รวมทั้งแหล่งน้ำ สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความเป็นพิษโดยมีการจัดการลำดับความเป็นพิษของ WHO ซึ่งเทียบให้เป็นสารที่มีความเป็นพิษระดับ 1 ซึ่งคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของไดออกซินและฟิวแรน ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของสารไดออกซินและฟิวแรน
คุณสมบัติ |
PCDDs |
PCDFs |
จุดหลอมเหลว (°C) |
89 -322 |
184-258 |
จุดเดือด(°C) |
284-510 |
375-537 |
Log Kow |
4.3-8.2 |
5.4-8.0 |
Half life (อากาศ) |
2 วัน –3 สัปดาห์ |
1 –3 สัปดาห์ |
Half life (น้ำ) |
2 เดือน –6 ปี |
3วัน –8 เดือน |
Half life(ดิน) |
2 เดือน –6 ปี |
8 เดือน –6 ปี |
Half life (ตะกอนดิน) |
8 เดือน –6ปี |
2 ปี –6 ปี |