ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
ความเป็นพิษของไดออกซินที่มีต่อร่างกาย (ปิยาณี ตั้งทองทวี, 2546) 
              1. พิษเฉียบพลัน ไดออกซินไม่ทำให้เกิดอาการพิษหรือตายอย่างเฉียบพลัน แต่อาการจะค่อยๆเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ภายในเวลา 14 – 28 ชั่วโมง อาการที่จัดเป็นลักษณะของพิษที่เกิดจากสาร ไดออกซินคือ อาการที่เรียกว่า “Wasting Syndrome” โดยลักษณะอาการแบบนี้จะเกิดการสูญเสียน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็วจากการได้รับสารเป็น 2-3 วัน นอกจากนี้ส่วนมากเกิดอาการฝ่อของต่อมไทมัส มีอาการผิดปกติของตับ เลือดออกในอวัยวะต่างๆ มีอาการอัณฑะฝ่อ น้ำหนักต่อมลูกหมากและมดลูกเล็กลง น้ำหนักของต่อมไทรอยด์เพิ่มขึ้น การสร้างเม็ดเลือดของไขกระดูกลดต่ำ อาการที่เห็นได้ชัดเจนคือ ผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มสิวหัวดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใบหน้าเรียกโรคผิวหนังนี้ว่า “Chloraone” ผิวหนังมีสีเข้มขึ้นและสีของเล็บจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เยื่อบุตาอักเสบ ไดออกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะตับ อีกทั้งยังทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องและทำให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ เช่น การสืบพันธุ์โดยสารไดออกซินมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ทดลองและปริมาณของสาร ซึ่งความผิดปกติของระบบสืบพันธ์ของเพศผู้และเพศเมียมีดังนี้คือในเพศเมียจะมีการผสมพันธุ์แล้วไม่สามารถตั้งท้องได้จนครบกำหนด จำนวนลูกต่อครอกลดลง การทำงานของรังไข่ผิดปกติหรือไม่ทำงาน วงจรการเป็นสัตว์ (การผสมพันธุ์) ผิดปกติ และมีเนื้อเยื่อบุมดลูกเจริญเติบโตภายนอกมดลูก  ส่วนในเพศผู้ พบว่า ไดออกซินทำให้น้ำหนักของอัณฑะและอวัยวะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ลดลง อัณฑะมีรูปร่างผิดปกติ การสร้างเชื้ออสุจิลดลง ทำให้ความสำเร็จของการผสมพันธุ์ลดลง มีความไวต่อสารไดออกซินต่างกัน เช่น ลิงและหนู จะมีความไวต่อสารในระดับต่ำสุดที่ 1 ไมโครกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน และรับสารต่อเนื่องกันนาน 13 สัปดาห์ มีผลทำให้การสร้างอสุจิลดลง
              2. พิษเรื้อรัง ไดออกซิน/ ฟิวแรน จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงและเกิดความผิดปกติที่ตับ ทำให้เซลล์ตับตาย และเกิดอาการโรคผิวหนังอักเสบ ไดออกซินที่มีความเป็นพิษมากที่สุดคือ 2,3,7,8-Tetra CDD (ประกอบด้วยคลอรีน 4 อะตอม) ซึ่งวิธีการหา total toxicity (ความเป็นพิษทั้งหมด) ของ PCDDs/PCDFs จะแสดงโดยค่า I-TEQ (International Toxic  Equivalent) โดยแต่ละสารประกอบจะประเมินจากค่า I-TEF (International Toxic  Equivalent Factor) ซึ่งค่า I-TEF ของ 2,3,7,8-Tetra CDD ที่มีความเป็นพิษมากที่สุดนี้เท่ากับ 1 (Holtzer, M., Dañko, J., and Dañko, R., 2007) ซึ่งค่าความเป็นพิษของไดออกซินและฟิวแรนแต่ละตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายไอโซเมอร์ หรือที่เรียกว่า “คอนจีเนอร์” (congeners) นั้นแสดงไว้ในตารางที่ 4
 
ตารางที่ 4  ค่าความเป็นพิษของไดออกซินและฟิวแรนกำหนดโดย NATO/CCMS( ปี 1988) และ WHO (ปี1997) 
 

congeners

TEF

NATO/CCMS(1988)

TEF

WHO (1997)

Dibenzo-p-dioxins

2,3,7,8-Tetra CDD

1,2,3,7,8-Penta CDD

1,2,3,4,7,8-Hexa CDD

1,2,3,6,7,8-Hexa CDD

1,2,3,,8,9-Hexa CDD

1,2,3,4,6,7,8-Hepta CDD

1,2,3,4,6,7,8,9-Octa CDD

Dibenzofurans

2,3,7,8-Tetra CDF

1,2,3,7,8-Perta CDF

2,3,4,7,8-PentaCDF

1,2,3,4,7,8-HexaCDF

1,2,3,6,7,8-HexaCDF

1,2,3,7,8,9-HexaCDF

2,3,4,6,7,8-HexaCDF

1,2,3,4,6,7,8-HeptaCDF

1,2,3,4,7,8,9-Hepta CDF

1,2,3,4,6,7,8,9-Octa CDF 

 

1.0

0.5

0.1

0.1

0.1

0.01

0.001

 

0.1

0.05

0.5

0.1

0.1

0.1

0.1

0.01

0.01

0.001

 

1.0

1.0

0.1

0.1

0.1

0.01

0.001

 

0.1

0.05

0.5

0.1

0.1

0.1

0.1

0.01

0.01

0.0001

 
ที่มา : จารุพงศ์ บุญหลง (2547) ; Ministry of Environment and Energy of Canada (2008)
หมายเหตุ   TEF = Toxicity Equivalent Factor
 
              จากการศึกษาผลกระทบต่อคนเนื่องจากอุบัติเหตุในอดีต เช่น การระเบิดของโรงงานผลิตสารเคมี (Seveso ประเทศอิตาลี ค.ศ.1976) ทำให้คนงานได้รับผลกระทบ คือ ตรวจพบมะเร็งที่ตับ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเอ็นไซม์ในตับ ผิวหนังมีอักเสบลักษณะเป็นสิวหัวดำมีอาการระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งมีผู้ได้รับผลต่อเนื่องนานถึง 20 ปี