- เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไดออกซิน
- ไดออกซินคืออะไร
- คุณสมบัติของสารไดออกซิน
- การเกิดและแหล่งกำเนิดไดออกซิน
- ความเป็นพิษของไดออกซินที่มีต่อร่างกาย
- การกระจายตัวของสารไดออกซินลงสู่สิ่งแวดล้อม
- การตรวจวัดสารไดออกซิน
- การจัดการกากของเสีย
- มาตรฐานควบคุมสารไดออกซินของประเทศไทย
- มาตรการควบคุมไดออกซินและฟิวแรนในระดับโลก
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
การรับสารไดออกซินของมนุษย์ |
ระดับของสารไดออกซิน/น้ำหนักตัว (body weight)/วัน |
ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา เดนมาร์ก คณะกรรมการยุโรป ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา(EPA 1996) องค์การอนามัยโลก (WHO) |
2.33 pg TEQ/kg bw/day 10pg TCDD /kg bw/day 10pg TEQ/kg bw/day 5 pg TCDD /kg bw/day 2 pg TEQ/kg bw/day 5 pg TCDD /kg bw/day 1 pg TCDD /kg bw/day 1 pg TCDD /kg bw/day 10 pg TCDD /kg bw/day 4 pg TEQ/kg bw/day 1 pg TEQ/kg bw/day 5 pg TCDD /kg bw/day 1 pg TCDD /kg bw/day 10pg TEQ/kg bw/day 0.006 pg TEQ/kg bw/day 1-4 pg TEQ/kg bw/day |
ที่มา : Rodriguez, C., et al. (2008)
2. การกระจายสู่ดิน ไดออกซินสามารถปนเปื้อนได้ในดินจากกระบวนการเผาไหม้และการทับถม (deposition) ของไดออกซินและฟิวแรน ซึ่งพบได้ที่ชั้นบนสุดของผิวหน้าดิน (Brambilla, G., et al., 2004) เนื่องจากไดออกซินมีความสามารถในการละลายน้ำ(water solubility) ต่ำ โดยพบว่าสารในกลุ่มคลอโรฟีนอล (chlorophenol) PCDDs มีการปนเปื้อนในดินมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ polychlorinated phenoxy phenols (PCPPs), polychlorinated diphenyl ethers (PCDEs) และ polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) นอกจากนี้ยังพบ PCDDs และ PCDFs ที่ความลึกสุดของชั้นดิน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีการเคลื่อนที่ของ PCDDs และ PCDFs ลงไปในชั้นดินและมีการอิ่มตัว (saturation) ของสารอินทรีย์ (organic matters) เกิดขึ้นที่ผิวหน้าดินโดยที่สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายในน้ำและเป็นสารแขวนลอย (particulate organic matters) และสารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ (dissolved organic matters) และตกค้างอยู่ในดินเป็นตัวช่วยให้สารในกลุ่มคลอโรฟีนอลเคลื่อนที่ลงสู่ดิน (Frankki, S., et al., 2007)
3. การปะปนของไดออกซินในน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมโดยตรง เช่น น้ำเสียจากโรงงานกระดาษ โรงงานผลิตสารเคมี โรงงานที่นำโลหะกลับมาใช้ใหม่จากการใช้สารล้างที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ลำดับที่ |
วัสดุ |
ร้อยละของคลอรีนในวัสดุ |
Dioxins (µg/kg emission) |
1 2 3 4 5 |
PVC Hospital waste Hazardous waste Municipal waste Wood composition |
45 7 5.5 0.4 0.2 |
0.4* 20 1 10 1* |
ตารางที่ 6 ปริมาณของสารไดออกซินที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการเผาไหม้วัสดุ (ต่อ)
ลำดับที่ |
วัสดุ |
ร้อยละของคลอรีนในวัสดุ |
Dioxins (µg/kg emission) |
6 7 8 9 10 |
Coal combustion Leaded gasoline Unleaded gasoline Heavy fuel Diesel rhinebarge |
0.02 0.002 0.001 0.005 Nd. |
1* 0.03 0.003 0.4* 0.1* |
ที่มา : พล สาเททอง (2549)
7. การแพร่กระจายสารไดออกซินจากการไม้ฟืนในครัวเรือนโดยทั่วไปในไม้จะมีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ จากการประมาณการพบว่า มีการแพร่กระจายของสารไดออกซินที่มีความเข้มข้นต่อพื้นที่สูงสุดประมาณ 0.2 ng/m2 ต่อพื้นที่ที่มีบ้าน 50 หลัง โดยแต่ละหลังห่างกันในรัศมี 1 กิโลเมตร
(Roeder, RA., Garber, RJ., and Schelling, GT., 1998)
ผลิตภัณฑ์ |
ปริมาณของ PCDDs และ PCDFs สูงสุด (pgWHO-TE/g lipid base) |
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ของเนื้อสัตว์จาก สัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์ปีกและสัตว์ป่าที่เลี้ยงในฟาร์ม หมู ตับและผลิตภัณฑ์จากตับ เนื้อปลาและผลิตภัณฑ์สืบเนื่องจากการประมง นมและผลิตภัณฑ์นม (เนยเหลว) ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์จากไข่ น้ำมันและไขมัน ไขมันสัตว์ จากสัตว์เคี้ยวเอื้อง จากสัตว์ปีกและสัตว์ป่าที่เลี้ยงในฟาร์ม จากไขมันสัตว์ผสม น้ำมันพืช น้ำมันปลาที่มนุษย์ใช้บริโภค |
3 2 1 6 4 (น้ำหนักสด) 3 3
3 2 1 0.75 2 |
นอกจากนี้ยังสามารถพบไดออกซินในน้ำลาย (saliva) ของมนุษย์ด้วย จากการทดลองของ Ogawa, T., et al (2003) ได้วิเคราะห์ polychlorinated biphenyls (PCBs) และ PCDDs ในตัวอย่างน้ำลายและเลือดของมนุษย์ที่มีผลต่อเซลล์เยื่อบุผิวจากชิ้นเนื้อเหงือกมนุษย์ (human gingival epithelial cell : HGEC) พบว่ามีระดับของ tri- และ tetrachlorinated PCBs สูงในตัวอย่างน้ำลาย ขณะที่ในเลือดจะพบ hexa- และ heptachlorinated PCBs โดยทั่วไปแล้วในตัวอย่างน้ำลายและเลือดจะพบ 1,2,3,4,6,7,8,9-octachlorodibenzo-p-dioxin (OCDD) เป็นสารหลัก ผลที่ได้นี้ชี้ให้เห็นว่าไดออกซินในน้ำลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดโรคปริทันต์(periodontal disease) ได้และปริมาณน้อยที่สุดของไดออกซินที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติจากการได้รับสารไดออกซินทางปากของมนุษย์โดยมีอาการเฉียบพลัน ปานกลาง และเรื้อรัง เท่ากับ 200, 20 และ 1 พิโคกรัม ต่อกิโลกรัม ต่อ วัน ตามลำดับ (ATSDR, 2008)