ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

การตรวจวัดสารไดออกซิน 

              การตรวจวิเคราะห์สารไดออกซินนั้นสามารถอ้างอิงได้หลายวิธี ซึ่งวิธีมาตรฐานเหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวอย่างประเภทต่างๆ  เช่น ตัวอย่างอากาศจากปล่อง ตัวอย่างในบรรยากาศ ตัวอย่างน้ำทิ้ง ตัวอย่างชีวภาพ ตัวอย่างอาหาร ฯลฯ  นอกจากนั้นแต่ละประเทศก็จะมีมาตรฐานการวิเคราะห์ด้วยวิธีต่างๆ กัน เช่น EPA1613  EPA8290 หรือ EPA23  TO-09 EN1948 (พล  สาเททอง, 2549) ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

              1. วิธีสกัดโดยเทคนิคต่างๆ เช่น Soxhlet extraction,  microwave extraction, Solid phase extraction (SPE), Liquid-Liquid extraction (LLE), Accelerated Solvent Extraction (ASE), Pressurized Solvent Extraction (PSE)
              2. วิธีการกำจัดสิ่งสกปรกออกจากตัวอย่าง (clean up) เช่น Gel Permeation Chromatography, Multi-layer Chromatography, Basic alumina Chromatography, Acid alumina Chromatography, Activated carbon Chromatography, Sulfuric acid treatment
              3. การควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ (Quality control and Quality assurance) เช่นControl chart, Solvent Blank , Sample blank, 13C12Labelled standards, Column clean up spike, Recovery test, Standard Reference Material (SRM), Certify Reference Material (CRM), Laboratory round robin
              4. การวิเคราะห์ทางปริมาณ (Quantitative analysis) เช่น High Resolution Gas Chromatography - High Resolution Mass Spectrophotometer (HRGC/HRMS), Isotope ratio dilution
              5. การรายงานผล (report)  เป็นพิโคกรัม (pictogram : pg ) คือ 1 pg = 10-12  กรัม, Toxicity Equivalent by weight of 2,3,7,8-TCDD (TEQ), I-TEF (International - Toxicity Equivalent factors), TEQ (Total concentration, I-TEF (International - Toxicity Equivalent factors)