- เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไดออกซิน
- ไดออกซินคืออะไร
- คุณสมบัติของสารไดออกซิน
- การเกิดและแหล่งกำเนิดไดออกซิน
- ความเป็นพิษของไดออกซินที่มีต่อร่างกาย
- การกระจายตัวของสารไดออกซินลงสู่สิ่งแวดล้อม
- การตรวจวัดสารไดออกซิน
- การจัดการกากของเสีย
- มาตรฐานควบคุมสารไดออกซินของประเทศไทย
- มาตรการควบคุมไดออกซินและฟิวแรนในระดับโลก
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
บทนำ
มนุษย์นำสารเคมีมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันมนุษย์ก็ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีเช่นกัน ปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนที่ได้รับผลกระทบซึ่งเกิดจากกิจกรรมอุตสาหกรรมและการเกษตร นับเป็นปัญหาสำคัญไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่ยังเป็นปัญหาระดับโลก ปัจจุบันมนุษย์จึงได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีหลายชนิด รวมทั้งสารมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและสารตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารและระบบนิเวศน์ โดย 50-60 ปีที่ผ่านมา ปัญหาสารเคมีตกค้างที่ยาวนานแสดงให้เห็นถึงพิษภัยจากการใช้สารเคมีอย่างชัดเจนมากขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดความร่วมมือและทำข้อตกลงระหว่างประเทศขึ้น หนึ่งในความร่วมมือนั้นคือข้อตกร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาสตอกโฮล์ม ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการปลดปล่อยสารมลพิษอินทรีย์กลุ่มที่ตกค้างยาวนาน (persistent organic pollutants, POPs) ซึ่งสารเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ สารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีน (organochlorine) กลุ่มพีซีบี (polychlorinated biphenyls: PCBs) และกลุ่มไดออกซิน (polychlorinated dibenzo-p-dioxins:PCDDs) และฟิวแรน (polychlorinated dibenzofurans : PCDFs) รวมทั้งสิ้น 12 ชนิดคือ อัลดริน (aldrin) คลอเดน (chlordane) ดีดีที (DDT) ดิลดริน (dieldrin) เอนดริน (endrin) เฮปตะคลอร์ (heptachlor) เอชซีบี (hexachlorobenzene) ไมเร็กซ์ (mirex) ท็อกซาฟีน (toxaphene) พีซีบี (polychlorinated biphenyls)ไดออกซิน (polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs) และฟิวแรน ( polychlorinated dibenzo furan: PCDFs) (กรมควบคุมมลพิษ, 2551)
- Prev
- Next >>