Articles
ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carthamus tinctorius L. จัดอยู่ในวงศ์ COMPOSITAE ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับเก๊กฮวย
ชื่อท้องถิ่น คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง (ลำปาง), คำ คำฝอย ดอกคำ (ภาคเหนือ), หงฮัว (จีน), ดอกคำฝอย คำทอง เป็นต้น สมุนไพรไทยดอกคำฝอยมีถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลาง ในประเทศไทยบ้านเรามีแหล่งผลิตดอกคำฝอยที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือ เพาะปลูกกันมากในอำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น :- | |
เป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 40-130 เซนติเมตร มีลำต้นเป็นสันเกลี้ยง แตกกิ่งก้านมาก เป็นพืชที่มีอายุสั้นทนแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีการระบายน้ำได้ดี โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกจะอยู่ระหว่าง 5-15 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วงออกดอกคือ 24-32 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาการปลูกประมาณ 80-120 วันจนเก็บเกี่ยว | |
ใบ :- | |
เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ใบมีความกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร | |
ดอก :- | |
ดอกรวมกันเป็นช่ออัดแน่นบนฐานดอกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกคำฝอยมีลักษณะกลมคล้ายดอกดาวเรือง เมื่อดอกคำฝอยบานใหม่ๆ จะมีกลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม เมื่อแก่จัดดอกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ที่ดอกมีใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอกอยู่ | |
ผล :- | |
เป็นผลแห้งไม่แตกมีรูปคล้ายไข่กลับ เบี้ยวๆ ขนาดผลยาว 0.6 - 0.8 เซนติเมตร สีขาวงาช้างปลายตัดมีสัน 4 สัน มีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ขนาดเล็ก | |
ส่วนที่ให้สี :- | |
คือ ดอก | |
สีที่ได้ :- | |
สีแดง | |
วิธีการย้อมสี :- | |