Articles
บัญชีตารางสีย้อมที่ได้มาจากวัสดุธรรมชาติและการเลือกใช้สารช่วยติดสี
บัญชีตารางสีย้อมที่ได้มาจากวัสดุธรรมชาติและการเลือกใช้สารช่วยติดสี
สีที่ได้จากธรรมชาติ |
ส่วนที่ให้สี |
สารช่วยติดสี |
สีที่ได้จากการย้อม |
กระถินณรงค์ |
ใบ |
สารส้ม น้ำด่าง |
น้ำตาลอ่อน (สีเนื้อ) น้ำตาล |
กระโดน |
เปลือก |
สารส้ม |
น้ำตาล |
กล้วยน้ำว้า |
กาบหุ้มลำต้น |
สารส้ม |
ชมพูอ่อนอมน้ำตาล |
กอกกัน |
เปลือก |
สารส้ม |
น้ำตาล |
แก/ สะแก/ สะแกนา |
เปลือก |
สารส้ม |
น้ำตาล |
แก้ว ดอกแก้ว |
ใบ |
จุนสี |
เขียวตองอ่อน |
กรรณิการ์/ ปาริชาติ/ สบันงา |
ดอกส่วนที่เป็นสีส้ม (ตากแห้ง) |
สารส้ม |
ส้ม |
เข |
แก่น ลำต้น |
สารส้ม |
เหลืองทองเข้ม |
ขนุน |
แก่น ลำต้น |
ไม่ใช้สารช่วยติดสี ใช้สารส้มหลังการย้อมสี |
เหลืองอมส้ม เหลืองทอง |
ขี้เหล็ก |
ใบ |
ไม่ใช้สารช่วยติดสี ใช้สารส้มหลังการย้อมสี ใช้น้ำด่าง หลังการย้อมสี |
เหลืองอมเขียว เหลืองอ่อน เหลืองอ่อน |
ขมิ้น |
หัว |
น้ำด่าง |
เหลือง |
ครั่ง |
รัง ขี้ครั่ง |
น้ำมะขามเปียก + เกลือ |
แดงเข้ม |
คำแสด/ คำเงาะ/ คำไทย |
ผลและเมล็ด |
สารส้ม หมักโคลน |
ส้มอมเหลือง เทาเข้ม |
คูณ/ ราชพฤกษ์ |
ฝักคูณสด |
สารส้ม น้ำปูนใส |
กากี น้ำตาลแดง |
มะกอกไทย |
เปลือกลำต้น |
สารส้ม |
น้ำตาลชมพู |
มะพูด/ ประโหด |
เปลือก |
สารส้ม ใช้น้ำด่าง หลังการย้อมสี |
เหลืองอ่อน เหลืองทอง |
มะพร้าวแก่ |
เปลือก |
ไม่ใช้สารช่วยติดสี น้ำสนิมเหล็ก/ โคลน |
น้ำตาล น้ำตาลเข้ม |
มะพร้าวอ่อน |
เปลือก |
ไม่ใช้สารช่วยติดสี น้ำสนิมเหล็ก/ โคลน |
น้ำตาลชมพูอ่อน เทาอมม่วง |
มะเกลือ |
ผล |
น้ำด่าง + โคลน |
ดำ |
มะขาม |
เปลือก |
สารส้ม |
น้ำตาล |
มะยม |
เปลือก |
สารส้ม |
น้ำตาล |
มะม่วงแก้ว |
เปลือก |
สารส้ม น้ำมะขามเปียก จุนสี |
เหลืองอมน้ำตาล น้ำตาลส้ม น้ำตาลเขียว |
มะม่วงแก้ว |
ใบ |
สารส้ม จุนสี |
เหลืองอมน้ำตาล เขียวขี้ม้า |
มังคุด |
เปลือก |
น้ำสนิมเหล็ก จุนสี สารส้ม |
น้ำตาล น้ำตาลแดง แดงอมชมพู |
ตะขบไทย |
ใบ |
สารส้ม |
เหลืองน้ำตาล |
ตะแบก |
เปลือก |
สารส้ม |
น้ำตาล |
เทียนกิ่ง |
ใบ |
ใช้สารส้มขณะย้อม ใช้สารส้มหลังย้อม |
เหลือง เขียว |
เทียนทอง |
ใบ |
ใช้สารส้มหลังย้อม |
เหลือง |
ฉำฉา, จามจุรี |
ดอก |
เกลือ |
นวลอมชมพู |
คราม |
ใบ |
น้ำด่าง + ใบโมง (ชะมวง) |
น้ำเงิน |
งิ้วผา |
เปลือก |
สารส้ม |
น้ำตาล |
ชงโคนา |
ใบ |
สารส้ม |
เหลืองเขียว |
ทองกวาว/ ทองธรรมชาติ |
เปลือก |
สารส้ม |
น้ำตาล |
ประดู่บ้าน ประดู่ลาย |
เปลือก |
สารส้ม จุนสี |
น้ำตาลเหลือง น้ำตาลแดง |
ยอป่า |
ราก ใบ |
สารส้ม สารส้ม |
ส้ม เหลืองอมน้ำตาล |
ปีบ |
เปลือก |
สารส้ม |
เหลือง |
ฝรั่ง |
เปลือก |
สารส้ม |
น้ำตาล |
พะยอม |
เปลือก |
สารส้ม |
น้ำตาลเหลือง |
พุทรา |
เปลือก |
สารส้ม |
เขียว |
สีเสียด |
ก้อนยางสีเสียด |
สารส้ม |
น้ำตาล น้ำตาลแดง |
ยูคาลิปตัส |
ใบ |
สารส้ม |
เหลืองอมเขียว |
หมากลิ้นฟ้า |
เปลือก |
สารส้ม |
เหลือง |
ส้มป่อย |
ใบ |
สารส้ม โคลน |
เหลืองเขียว เขียวขี้ม้า |
สะเดา |
ใบ |
สารส้ม สนิมเหล็ก |
เขียวอ่อน เทา |
สบู่เลือด/ สบู่แดง |
ใบ |
จุนสี สารส้ม |
เขียวมะกอก เขียว |
หูกวาง |
ใบ |
สารส้ม น้ำบาดาล จุนสี |
เขียว เขียวไพร เขียวอมน้ำตาล |
ฝางแดง |
แก่น |
สารส้ม ใช้น้ำปูนใสหลังย้อม |
ชมพู แดง ม่วงอ่อน |
สาบเสือ/ เบญจมาศ/ ผักคราด/ ยี่สุ่นเถื่อน/ รำเคย |
ใบ |
สารส้ม |
เหลืองอมเขียวน้ำตาล |
นนทรี/ อะราง |
เปลือก กิ่ง |
ไม่ใช้สารช่วยติดสี ใช้สารส้มหลังการย้อมสี โคลน/ น้ำสนิมเหล็ก |
ส้ม น้ำตาลเหลือง น้ำตาลดำ |
ดินแดง |
เนื้อดินแดง |
ไม่ระบุ |
แดงอิฐ |
โคลน |
โคลน |
ไม่ระบุ |
เทาอ่อน เทาเข้ม |
สัก |
ใบ |
สารส้ม จุนสี |
ส้มอ่อน น้ำตาลอ่อน เขียวขี้ม้า |
สุพรรณิการ์ |
แก่น |
สารส้ม |
เหลืองทอง |
สมอ |
เปลือก |
สารส้ม จุนสี |
น้ำตาลออกเหลือง น้ำตาลออกเขียวเข้ม |
(ที่มา : เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอด้วยสีย้อมธรรมชาติ
ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ โดยกองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ)
มะพร้าว (Coconut)
![]() |
ชื่อท้องถิ่น : หมากอูน หมากอู๋น ดุง (จันทบุรี) โพล (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ภาคเหนือเรียกว่าบ่าป้าว คอส่า (แม่ฮ่องสอน) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) ภาคใต้เรียกว่าพร้าว พร้าวย่อ |
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง สูงชะลูด ที่ลำต้นมีรอยกาบใบชัดเจนตลอดความสูงของลำต้น ใบเป็นใบประกอบขนาดใหญ่และยาวประกอบด้วยใบย่อยเรียงสลับกันเป็นรูปขนนก ใบย่อยเป็นแผ่นแคบยาวปลายใบแหลม พื้นผิวเรียบเป็นมัน มีสีเขียวแก่ ดอกออกเป็นช่อที่บริเวณกาบหุ้มดอก ผลมีทรงกลมหรือรี เปลือกนอกเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยแต่ชั้นในจะแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อมีสีขาวนุ่มและภายในมีน้ำใส รสจืด หรือหวาน | |
ส่วนให้สี : เปลือก |
การย้อมสีเส้นไหม เส้นด้าย โดยเปลือกมะพร้าว | |
1) ใช้เปลือกมะพร้าว 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ต้มจนเดือดอย่างน้อย ครึ่งชั่วโมง ใช้สนิมเหล็ก (FeSO4) เป็นสารช่วยติดสี | |
สีที่ได้ ขึ้นกับเปลือกมะพร้าวที่ใช้ ถ้าเป็นมะพร้าวอ่อนจะได้สีเทา ถ้าเป็นมะพร้าวทึนทึกจะได้สีน้ำตาล | |
เปลือกมะพร้าวทึนทึก จะได้สีน้ำตาล
เปลือกมะพร้าวอ่อน จะได้สีเทา |
|
น้ำย้อมเปลือกมะพร้าวอ่อนที่ใส่สนิมเหล็กแล้ว เส้นไหมที่ย้อมด้วยเปลือกมะพร้าวทึนทึก |
|
เส้นฝ้ายที่ย้อมด้วยน้ำย้อมมะพร้าว หากนำมาขยำในน้ำโคลน ก็จะทำให้ได้สีที่เข้มขึ้น และเส้นด้ายจะอ่อนนุ่ม |
|
โคลนตม ก่อนใช้ต้องกรองด้วยผ้าขาวบาง |
|
กรองโคลน เส้นด้ายที่ย้อมด้วยน้ำย้อมมะพร้าวแล้วมาลงโคลน |
ครั่ง (Lac)
![]() |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Laccifer lacca Kerr |
ลักษณะ : ครั่งเป็นแมลงขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีตัวสีแดง มีงวงเจาะลงในกิ่งไม้เพื่อดูดน้ำเลี้ยง ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ สร้างรังห่อหุ้มป้องกันตัว รังประกอบด้วยสารสีม่วงแดง ครั่งจะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ เช่น จามจุรี(ฉำฉา) พุทรา สะแก เป็นต้น ครั่งจะวางไข่ทีละฟองหรือวางติดต่อกันเป็นสาย ไข่จะฟักตัวภายใน 20 นาที เมื่อครั่งตัวเมียอายุได้ 1 เดือนจะเปลี่ยนรูปร่างเป็นถุงกลม หนวดและตาหายไป และได้รับการผสมพันธุ์ หลังจากนั้นจะขยายตัวใหญ่ขึ้นจนเกือบกลมในตัวเต็มไปด้วยน้ำสีแดง (สารให้สี) และมีไข่เป็นจำนวนมากในท้อง ครั่งที่นำมาใช้ประโยชน์จึงเป็นครั่งตัวเมีย | |
ส่วนให้สี : รัง |
การย้อมสีเส้นไหม เส้นด้าย โดยใช้ครั่ง | |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เส้นฝ้ายที่ย้อมด้วยครั่งแล้วนำไปแช่ในน้ำปูนใส จะได้เป็นสีม่วง |
มะพูด (Gourka)
![]() |
ชื่อท้องถิ่น : ปะหูด มะหูด (อีสาน) ประโฮด (เขมร) มะนู ตะพูด จําพูด พะวาใบใหญ่ ส้มปอง ส้มม่วง มะพูด (ปัตตานี) |
ลักษณะ : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบ เป็นใบเดี่ยว เนื้อใบหนา เรียบ ผิวมัน มีสีเขียวเข้ม รูปใบเป็นรูปหอก ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ก้านสั้น กลีบดอกเป็นทรงกลมหนา มีสีขาวแกมเหลือง หรือ ขาวแกมเขียว ผลเป็นทรงกลม เรียบ ผิวมัน ผลดิบมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลือง เมื่อสุกจะมีสีส้ม มีรสเปรี้ยวอมหวาน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด | |
ส่วนให้สี : เปลือก |
การย้อมสีเส้นไหม เส้นด้าย โดยใช้มะพูด | |
ใช้แก่นต้นมะพูด ดำเนินการเช่นเดียวกับการย้อมด้วยไม้เข โดยใช้สารส้มเป็นตัวช่วยติดสีจะได้สีเหลืองอ่อนกว่าสีเหลืองจากการย้อมด้วยเข | |
|
|
แก่นมะพูดแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน น้ำย้อมมะพูดที่ใส่สารส้มเป็นตัวช่วยติดสี |
|
การย้อมเส้นฝ้าย/ไหม ด้วยน้ำย้อมมะพูดที่ใส่สารส้มเป็นตัวช่วยติดสี จะได้เป็นสีเหลืองอ่อน |
ต้นสบู่แดง / สบู่เลือด (Bellyache Bush)
![]() |
ชื่อเรียกท้องถิ่น : ละหุ่งแดง สบู่เลือด สลอดแดง สีลอด หงษ์เทศ เยาป่า ยาเกาะ
|
ลักษณะ : ไม้พุ่ม ทุกส่วนมียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ ขอบใบหยัก ใบอ่อนมีสีแดงอมม่วง เมื่อใบแก่จะมีสีเขียวอมแดง ดอกออกเป็นช่อ ที่ปลายยอด มีสีแดงเข้มและมีสีเหลืองอยู่ตรงกลาง ผลรูปรียาวมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองและแตกออก ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาล จำนวน 3 เมล็ด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือปักชำ | |
ส่วนให้สี : ใบ |
การย้อมสีเส้นไหม เส้นฝ้าย โดยใช้สบู่แดง มีวิธีดังต่อไปนี้ | |
|
|
|
|
|
|
|
|
ใบสบู่เลือดต้มในน้ำ ตักใบสบู่เลือดออก |
|
ใส่จุนสี เป็นสารช่วยติดสี จะได้สีเขียวมะกอก |