ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

              รังนกแห้งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากเป็นผลิตผลจากน้ำลายนกที่มีเอนไซม์ซึ่งเป็นโปรตีนประเภทหนึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก รังนกจึงเป็นอาหารในกลุ่มโปรตีนที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย โดยพบปริมาณโปรตีนสูงถึงร้อยละ 50-60 และมีแร่ธาตุหลายชนิด (จรรยา, 2540) การวิเคราะห์ส่วนประกอบและคุณค่าทางโภชนาการของรังนกสามารถสรุปได้ดังนี้

              (1) การสำรวจโภคกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2473-2474 โดย ดร.คาร์ล ซี. ซิมเมอร์แมน รายงานผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบของรังนกจากจังหวัดชุมพร พบว่า ส่วนประกอบของรังนกมีเถ้าปูนอยู่เป็นจำนวนมาก โปรตีนร้อยละ 49.8 ความชื้นร้อยละ 16.3 และไขมันร้อยละ 0.06
              (2) การวิเคราะห์รังนก ในปี พ.ศ.2479 โดยบริษัทไทยรังนก ถนนราชวงศ์ กรุงเทพมหานคร ส่งรังนกให้นักเคมีชาวเยอรมันวิเคราะห์ พบว่า ส่วนประกอบของรังนกมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักร้อยละ 53.69 และความชื้นร้อยละ 10.4
              (3) การวิเคราะห์รังนก ในปี พ.ศ.2543 โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบว่า ส่วนประกอบของรังนกประกอบด้วย ความชื้นร้อยละ 5.11 โปรตีนร้อยละ 60.9 แคลเซียมร้อยละ 0.85 และโพแทสเซียมร้อยละ 0.03 ส่วนรังนกสำเร็จรูปพร้อมบริโภคที่มีจำหน่ายในท้องตลาดประกอบด้วย รังนกร้อยละ 1 และน้ำตาลกรวดประมาณร้อยละ 12 
              (4) การวิเคราะห์รังนก ในปี พ.ศ.2545 โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้นำรังนกถ้ำจากบริษัทรังนกแหลมทองสยาม ซึ่งเป็นรังนกจากภาคใต้มาวิเคราะห์ส่วนประกอบ แสดงผลดังตารางที่ 1
 

                                 ตารางที่ 1 การวิเคราะห์ส่วนประกอบของรังนก 

รายการ

หน่วย

*รังนก รังสีขาว

**รังนก รังสีแดง

***รังนก รังสีแดง

ความชื้น

ร้อยละ

17.8

18.2

18.1

คาร์โบไฮเดรต

ร้อยละ

22.3

22.7

21.0

(โดยการคำนวณ)

โปรตีน

ร้อยละ

52.8

56.9

56.6

ไขมัน

ร้อยละ

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

เถ้า

ร้อยละ

7.03

8.08

1.02

กาก

ร้อยละ

0.08

0.08

0.07

โซเดียม

มิลลิกรัม/100กรัม

1 572.1

1 282.5

1 182.9

โพแทสเซียม

มิลลิกรัม/100กรัม

11.5

28.7

60.1

แคลเซียม

มิลลิกรัม/100กรัม

814.0

1 569.4

2 115.2

ฟอสฟอรัส

มิลลิกรัม/100กรัม

9.04

8.50

13.8

เหล็ก

มิลลิกรัม/กิโลกรัม

11.7

36.8

56.3

ทองแดง

มิลลิกรัม/กิโลกรัม

3.81

4.52

5.48

สังกะสี

มิลลิกรัม/กิโลกรัม

1.60

2.58

2.71

ตะกั่ว

มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ไม่พบ

0.04

ไม่พบ

สารหนู

มิลลิกรัม/กิโลกรัม

0.07

0.07

0.21

แมงกานีส

มิลลิกรัม/กิโลกรัม

1.47

11.6

5.51

แคดเมียม

มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

                                    (ที่มา : บังอร, 2547)

                                                             หมายเหตุ *รังนก รังสีขาว       จังหวัดชุมพร
                                                                               **รังนก รังสีแดง      จังหวัดชุมพร
                                                                                ***รังนก รังสีแดง    จังหวัดสงขลา
 
              ทั้งนี้ กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพได้ทำการวิเคราะห์เครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป พบโปรตีน ร้อยละ 0.53-1.45 และเป็นโปรตีนขนาดใหญ่ไม่ละลายน้ำ เมื่อทำการย่อยโปรตีนในเครื่องรังนกเช่นเดียวกับกระบวนการย่อยของร่างกาย แล้ววิเคราะห์ชนิดและปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นในเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป และนำมาเปรียบเทียบกับกรดอะมิโนจำเป็นที่กำหนดการจัดรูปแบบโดยคณะกรรมการร่วม FAO/WHO ดังตารางที่ 2
 
                      ตารางที่ 2 การวิเคราะห์ชนิดและปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นในเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูปเปรียบเทียบกับ กรดอะมิโนจำเป็นที่กำหนดการจัดรูปแบบโดย FAO/WHO
 

กรดอะมิโนจำเป็น

FAO/WHO, 1973

เครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป

มิลลิกรัม/กรัมโปรตีน

มิลลิกรัม/กรัมโปรตีน

Amino acid score

          ไอโซลิวซีน

40

21.78

54

          ลิวซีน

70

57.86

83

          ไลซีน

55

25.61

47

          เมโทโอนีน + ซีสตีน

35

42.52

121

          (5-containing amino acids)

 

 

 

          ฟีนิลอะลานีน + ไทโรซีน

60

137.02

228

          (Aromatic amino acids)

 

 

 

          ทรีโอนีน

40

53.33

133

          ทริพโตเฟน

10

13.55

136

          วาลีน

50

47.62

95

รวม

360

399.28

111

                                               (ที่มา : จรรยา และคณะ, 2540)

              จากตารางจะเห็นได้ว่า เครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูปมีกรดอะมิโนจำเป็นหลายชนิดที่มีปริมาณสูงกว่าค่าอ้างอิง ได้แก่  ทรีโอนีน ทริพโตเฟน เมไทโอนีน ซีสตีน ฟีนิลอะลานีน และไทโรซีน ส่วนกรดอะมิโนจำเป็นที่มีปริมาณต่ำกว่าค่าอ้างอิง ได้แก่  ไอโซลิวซีน ลิวซีน และไลซีน ส่วนวาลีนมีค่าใกล้เคียงกัน นั่นคือ รังนกให้โปรตีนไม่สมบูรณ์เท่ากับโปรตีนจากไข่ 

              นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างสารอาหารในรังนกสำเร็จรูป 2 ยี่ห้อ กับไข่ไก่และนม โดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ผลดังตารางที่ 3

 

                                     ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบสารอาหารระหว่างรังนก ไข่ไก่ และนม

สารอาหาร

ยี่ห้อที่ 1

ยี่ห้อที่ 2

ไข่ไก่

นม

(70 มิลลิลิตร)

(75 มิลลิลิตร)

(1 ฟอง)

(250 มิลลิลิตร)

พลังงาน(กิโลแคลอรี)

52

52

81

155

ความชื้น(%)

57

62

37

88

โปรตีน(กรัม)

0.28

0.22

6.5

8.5

ไขมัน(กรัม)

0.01

0.02

5.8

8

คาร์โบไฮเดรต(กรัม)

11.8

12.6

0.4

12.2

เถ้า(กรัม)

0.18

0.19

 

 

วิตามิน

 

 

 

 

     บี 1 (มิลลิกรัม)

0.001

0.001

0.05

0.1

     บี 2 (มิลลิกรัม)

0.018

0.014

0.19

0.4

แร่ธาตุ

 

 

 

 

     แคลเซียม (มิลลิกรัม)

17.0

23.8

30

29.5

     ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม)

2.3

1.5

111

248

     เหล็ก (มิลลิกรัม)

0.06

0.05

1.6

0.25

                                          (ที่มา : ประไพศรี, 2554)
 
              จากตารางที่ 3 จะเห็นได้ว่า พลังงานที่ได้จากรังนกสำเร็จรูปที่ได้จากน้ำตาลกรวดนั้น มีปริมาณน้อยกว่า ไข่ไก่ 1 ฟอง หรือประมาณ 1 ใน 3 ของนม 1 กล่อง และถ้าต้องการได้โปรตีนจากรังนกสำเร็จรูปเท่ากับ ไข่ไก่ 1 ฟอง และนม 1 กล่อง จะต้องรับประทานรังนกมากถึง 296 ขวด และ 34 ขวด ตามลำดับ นั่นคือ ปริมาณโปรตีนในรังนกสำเร็จรูป 1 ขวด (70-75 มิลลิลิตร) เท่ากับนมคิดเป็นประมาณครึ่งช้อนโต๊ะ หรือถั่วลิสง 2 เมล็ด
(ประไพศรี, 2554)