- ยาสีฟัน
- ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ (caries formation)
- ส่วนประกอบหลักของยาสีฟัน (components of toothpaste)
- สูตรยาสีฟัน (toothpaste formulation)
- การผสมยาสีฟันและเครื่องมือที่ใช้ (processing and equipment)
- การตรวจสอบคุณภาพของยาสีฟันหลังการผลิต (Quality testing of toothpaste)
- ส่วนผสมในยาสีฟันที่อาจเป็นอันตราย
- บทสรุป
- อธิบายคำศัพท์เฉพาะ
- อ้างอิง
- All Pages
อธิบายคำศัพท์เฉพาะ
1. สารเคลือบฟันตามธรรมชาติ (tooth enamel) เคลือบฟันตามธรรมชาติประกอบด้วยสารประกอบของแคลเซียมฟอสเฟต (calcium phosphate compound) Ca10(PO4)6(OH)2 ⇔ 10Ca+2 + 6PO4-3 + 2OH เมื่อกรดทำปฏิกิริยากับกลุ่ม OH- จะเป็นการส่งเสริมให้สารเคลือบฟันตามธรรมชาติลดลง (demineralization)
2. คราบแบคทีเรียที่เกาะบนคราบฟัน (plaque) แผ่นฟิลม์บางๆ ของแบคทีเรียและเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันหลังการรับประทานอาหารเรียกว่า “พลัก” (plaque) แบคทีเรียเหล่านี้เปลี่ยนคาร์โบโฮเดรต (carbohydrates) ให้เป็นน้ำตาลชนิดต่างๆ ที่เป็นอาหารของแบคทีเรียและเปลี่ยนเป็นกรดแลกติก (lactic acid) ที่มาสลายเคลือบฟันตามธรรมชาติ (demineralization)
3. ฟันผุ (caries) ฟันผุเกิดจากเคลือบฟันตามธรรมชาติมีแผ่นฟิลม์บางๆ ของแบคทีเรีย (plaque) มาเกาะ ทำให้คาร์โบโฮเดรต (carbohydrates) เช่น น้ำตาลถูกเปลี่ยนเป็นกรด (acids) ที่ไปทำลายส่วนที่แข็งที่สุดของฟัน เพื่อป้องกันการสลายของเคลือบฟันยาสีฟันที่ใช้ควรมีส่วนผสมของโซเดียมฟลูออไรด์ หรือโมโนฟลูออโรฟอสเฟต หรือมีส่วนผสมของสมุนไพร (herbal) และไบคาร์โบเนตซึ่งจะให้ผลของโพไฟแลกติก (prophylactic effect)
4. คราบหินปูน (tartar) คราบแบคทีเรียที่เกาะอยู่บนฟัน (plaque) เมื่อรวมกับแคลเซียมและฟอสเฟตที่อยู่ในน้ำลายภายในปากจะทำให้เกิดการสะสมของคราบแบคทีเรียบนฟันที่เรียกว่า “tartar ” ซึ่งเป็นสารประเภทแคลเซียมฟอสเฟตและแคลเซียมคาร์บอเนต โดยมีลักษณะแข็งและกำจัดออกได้ยาก