- ครีมกันแดด
- การจำแนกและหน้าที่ของผิวหนัง
- ประเภทและผลกระทบที่เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลต
- องค์ประกอบของครีมกันแดด
- คุณสมบัติของครีมกันแดด (Prpperties of sunscreens)
- ครีมกันแดดสำหรับผิวหนังที่เป็นสิว (Sunscreen for acne-prone skin)
- การเลือกและใช้ครีมกันแดดที่ถูกต้อง
- การเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพ
- มะเร็งผิวหนัง (Skin cancer)
- การป้องกันมะเร็งผิวหนังด้วยวิตามินดี
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
การป้องกันมะเร็งผิวหนังด้วยวิตามินดี
สภาวะของวิตามินดีที่ผิวหนังมีความแตกต่างกันโดยถิ่นฐาน เชื้อชาติ และสีผิว ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการขาดวิตามินดีเป็นผลจากมีเม็ดสีที่ผิวหนังมากขึ้น จากผลการศึกษาข้อมูลจำนวน 63 การทดลอง ของการขาดวิตามินดีกับความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ผลการศึกษาส่วนใหญ่พบความสัมพันธ์ในการป้องกันระหว่างระดับวิตามินดีที่พอเพียงและอัตราเสี่ยงของมะเร็งที่ลดลง ส่วนใหญ่มักทราบเกี่ยวกับการขาดวิตามินดีมีผลให้เกิดโรคกระดูกเปราะ แต่ในยุคใหม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคมะเร็งลำไส้ เต้านม รังไข่ ต่อมลูกหมาก เป็นต้น จากการค้นพบสาเหตุจึงแนะนำให้รับวิตามินดีให้เพียงพอเพื่อลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง สูตรทางเคมีของวิตามินดีประกอบด้วย 25(OH)D พบว่าทุกเชื้อชาติมีการขาดวิตามินดี และในกลุ่มสตรีผิวดำมีระดับ 25(OH)D ต่ำมาก (น้อยกว่า 15 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร) ในบริเวณแถบทางเหนือของทวีปอเมริกามีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาวเป็นเวลานานทำให้รับรังสี UV-B น้อย จึงมีผลให้ขาดวิตามินดี เนื่องจากผิวหนังไม่เกิดการสังเคราะห์แสง (photosynthesized) แม้ว่าจะใช้ครีมกันแดดชนิด zinc และ titanium oxide เป็นประจำทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง มีผลให้การสร้างวิตามินดีลดลง ผลที่เกิดขึ้นช่วยได้โดยการรับประทานเพื่อยกระดับไม่ให้ปริมาณของ 25(OH)D ต่ำกว่า 15-20 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ระดับที่มีผลต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้นที่ระดับต่ำกว่า 30 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร หากระดับเกินกว่า 150 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรสามารถทำให้เกิดพิษ ปริมาณวิตามินดีที่แนะนำให้รับประทานสำหรับผู้มีอายุ 1-50 ปี ควรได้รับ 200 IU: international unit ผู้มีอายุ 51-70 ปี ควรได้รับ 400 IU ผู้มีอายุมากกว่า 71 ปี ควรได้รับ 600 IU ผู้ใหญ่ต้องการปริมาณวิตามินดีสูงกว่าเนื่องจากการดูดซับลดลง (Garland, F., et al. 2006)