- การใช้ประโยชน์ของไคโตแซนในการยืดอายุของอาหารและเครื่องดื่ม
- คำนิยามและองค์ประกอบของไคโตแซน (Definition and composition of chitosan)
- ลักษณะเฉพาะของไคโตแซน (Characteristics of chitosan)
- แหล่งวัตถุดิบในธรรมชาติของไคตินและไคโตแซน (Nature source of chitin and chitosan)
- การผลิตไคตินและไคโตแซน (Production of chitin and chitosan)
- ประโยชน์ของไคโตแซนในการยืดอายุอาหารและเครื่องดื่ม
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
Page 2 of 8
คำนิยามและองค์ประกอบของไคโตแซน (Definition and composition of chitosan)
ไคโตแซนจัดเป็นสารพอลิเมอร์ธรรมชาติและเป็นอนุพันธ์ของไคติน ไคโตแซนมีองค์ประกอบเป็นกลูโคซามีน (glucosamine) และ เอน-แอซิติลกลูโคซามีน (N-acetyled glucosamine) เป็นหน่วยย่อยที่เรียงต่อกันเป็นสายด้วยพันธะ (1-4) - กลูโคสิดิก [(1-4) glucosidic bonds] (รูปที่ 1) จำนวนและลำดับของหน่วยย่อยในสายพอลิเมอร์จะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมี กายภาพและชีวภาพของไคโตแซน
รูปที่ 1 โครงสร้างของไคติน (a) และไคโตแซน (b) (Harish Prashanth, KV. and Tharanathan, RN., 2007)