ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วิธีการที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนในน้ำยางธรรมชาติ (Perrella, FW., and Gaspari, AA., 2002)
              1. การเหวี่ยงหมุนของน้ำยางธรรมชาติ (centrifugation of NRL) โปรตีนประมาณ 75% ในน้ำยางธรรมชาติ จะละลายอยู่ในรูปของ serum fraction ขณะที่อีก 25 % จะรวมตัวกันอยู่ที่บริเวณผิวหน้าของอนุภาคน้ำยาง การเหวี่ยงหมุนน้ำยางจะทำให้น้ำยางมีความข้นมากขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำในน้ำยางลดลง ปริมาณครึ่งหนึ่งของสารละลาย extracted protein จะถูกกำจัดออกจากน้ำยางธรรมชาติโดยการเหวี่ยงหมุน จากรูปที่ 4 จะเห็นได้ว่า การเหวี่ยงหมุนสามารถลดโปรตีนในน้ำยางดิบได้ถึง 50% และเมื่อทำการเหวี่ยงหมุน 2 ครั้ง จะมีผลทำให้ปริมาณโปรตีนถูกกำจัดออกไปมากถึง 63%
 
รูปที่ 3  กลไกการแทนที่ของโปรตีนโดยซิลิกา (Amdur, S., 1999)
 
 
 
รูปที่ 4   ปริมาณโปรตีนและสารอื่นๆ ในน้ำยางดิบก่อนและหลังการเหวี่ยงหมุน 
              (Perrella, FW., and Gaspari, AA., 2002)
 

              2. การทำให้น้ำยางธรรมชาติเป็นเนื้อครีม (creaming of NRL) เป็นวิธีการที่ทำให้อนุภาคของยางในน้ำยางลอยตัวสูงขึ้นอย่างช้าๆ เกิดชั้นของน้ำยางที่มีลักษณะเป็นเนื้อครีม (creamed latex) บริเวณด้านบนโดยการเติมสารที่เรียกว่า creaming agents  เช่น  alginate และเมทิลเซลลูโลสพอลิเมอร์ เพื่อเพิ่มความหนาแน่นในการลอยตัวของน้ำยาง วิธีการนี้มีประสิทธิภาพมากกว่า centrifugation แต่ก็ใช้เวลานานกว่า โดยทั่วไป creamed latex จะมีความเข้มข้นตั้งแต่ 68% เนื่องจากชั้นของ serum phase ถูกกำจัดออกไปมากกว่า centrifugation นอกจากนี้ยังสามารถกำจัดโปรตีนในน้ำยางที่มีขนาดเล็กออกไปได้มากกว่าด้วย

              3. พรีวัลคาไนเซชัน  (prevulcanization of NRL) เป็นวิธีการที่มีผลต่อ extracted protein ของน้ำยางธรรมชาติ  โดยการผสมสาร stabilizers เพื่อป้องกันการรวมตัวหรือจับตัวเป็นก้อนของอนุภาคยางระหว่างกระบวนการผลิตและ vulcanizing chemicals  ซึ่งเป็นสารเคมีสำหรับผสมในยางเพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยางเกิดเป็น โครงสร้างตาข่ายสามมิติ อุณหภูมิที่ใช้ตั้งแต่  70 องศาเซลเซียส  สาร stabilizers และ crosslink agents เช่น dialkyldithiocarbamate accelerators, zinc oxide และซัลเฟอร์  มีความจำเป็นต้องใช้ในขณะให้ความร้อนแก่ยางเพื่อช่วยให้ยางเกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุล ข้อดีของวิธีนี้คือ เมื่อแผ่นฟิล์มของยางแห้งจะมีความแข็งแรงและคุณสมบัติความยืดหยุ่นดี แต่ข้อเสียคือ ความแข็งแรงของแผ่นฟิล์มยางดิบขณะเป็นเจลเปียก(wet gel strength) มีค่าน้อยกว่าแผ่นฟิล์มยางดิบที่ไม่ผ่านการพรีวัลคาไนเซชัน (nonprevulcanization) โดยทั่วไปถุงมือยางที่ผ่านการพรีวัลคาไนเซชันจะมีปริมาณ  extracted protein สูงกว่าโพสท์วัลคาไนเซชัน (postvulcanization) ซึ่งอาจเป็นเพราะน้ำยางที่ผ่านการพรีวัลคาไนเซชันมีปริมาณน้ำและความพรุนของแผ่นฟิล์มมากกว่านั่นเอง ทำให้  extracted protein  ซึมเข้าสู่ผิวหน้าของแผ่นฟิล์มยางได้ขณะอบแห้ง ยิ่งใช้อุณหภูมิในการอบแห้งสูงก็จะทำให้ปริมาณ extracted protein สูงขึ้นด้วย