ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
การเตรียมน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำและแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ
              1. การเตรียมน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ  น้ำยางข้นชนิดแอมโมเนียต่ำ 60% DRC (dry rubber content) จะถูกนำมาเจือจางด้วย sodium lauryl sulphate 1% จนได้ 30% DRC จากนั้นใส่เอนไซม์ KAO protease 1%  ปริมาณ  0.04  phr  (part per hundred rubber) และกวนอย่างช้าๆ  ด้วยความเร็ว 30-50 รอบ/นาที ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ  40  องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง แล้วนำน้ำยางมา centrifugation 2  ครั้ง ที่ความเร็ว 10,000 รอบต่อนาที อุณหภูมิ  25 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที น้ำยางข้นหลังจาก centrifugation จะมีลักษณะเป็นครีม (เข้มข้น 70%) จะถูกนำมาเจือจางจนได้ความเข้มข้น 30% หรือ 60% แล้วนำน้ำยางที่ได้นั้นมาศึกษาคุณสมบัติโดยทั่วไปตามมาตรฐาน ASTM 1076-97  ต่อไป  (เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี และ ทวีศักดิ์ คงคต, 2547) 
              2. การเตรียมแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ (เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี และ ทวีศักดิ์ คงคต, 2547)
 
              แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติโปรตีนต่ำเตรียมโดยวิธีการจุ่ม ดังนี้