ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
คุณสมบัติของน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำและแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ
              1. คุณสมบัติของน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ ปกติปริมาณเนื้อยางแห้งและของแข็งทั้งหมดของน้ำยางข้นชนิดแอมโมเนียต่ำ (NR-LA) และน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ (DPNR)  จะมีค่าแตกต่างกันน้อยกว่า  2%  ค่า pH ของ DPNR มีค่าต่ำกว่า NR-LA เพียงเล็กน้อย เนื่องจากแอมโมเนียบางส่วนระเหยออกไปในช่วงที่มีการ centrifugation  ส่วนค่าความหนืดและความตึงผิวของ DPNR  มีค่าต่ำกว่า NR-LA เนื่องจาก DPNR มีการเติมสารลดแรงตึงผิว (SDS) ลงไปเพื่อรักษาความเสถียรของน้ำยางในขั้นตอนของการเตรียม  DPNR  โดยความเสถียรเชิงกลของ DPNR  มีค่าสูงกว่า NR-LA  ประมาณ 3 เท่า จากการตรวจสอบน้ำหนักโมเลกุล (molecular weight) โดยวิธีการวัดความหนืดของ NR-LA และ DPNR  มีค่าแตกต่างกันเล็กน้อย (ตารางที่ 2)   เนื่องจากโปรตีนที่ต่ออยู่ตรงปลายโครงสร้างโมเลกุลของยางธรรมชาติบางส่วนได้ถูกย่อยและสกัดออกไปขณะ centrifugation  การตรวจสอบปริมาณไนโตรเจนโดยวิธี Kjeldahl  พบว่า  NR-LA มีค่าเท่ากับ 0.46% ในขณะที่ DPNR  ซึ่งผ่านการบ่มด้วยเอนไซม์เพื่อสลายโปรตีนแล้วนำมา centrifugation 1 ครั้งนั้น มีปริมาณไนโตรเจนลดลง 65% (เหลือ 0.16%) จาก NR-LA และหลังจากการ centrifugation 2 ครั้ง ปริมาณไนโตรเจนจะลดลง 89% (เหลือ 0.05%) (รูปที่ 5) 
 
ตารางที่ 2  เปรียบเทียบคุณสมบัติของน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำและน้ำยางข้นชนิดแอมโมเนียต่ำ
 

       Properties                                               NR-LA                                                 DPNR

DRC (%)                                                         60.38                                                   60.41

TSC (%)                                                          61.59                                                   61.36

pH                                                                   10.03                                                     9.23

Viscosity (cps)                                                94.0                                                       72.0

Surface tension (dyne/cm)                              44.0                                                       34.5

MST (sec)                                                        720                                                      2,426

Average Particle size (mm)                            0.827                                                     0.818

Molecular weight (g/mol)                              6.92 ´105                                              6.71 ´105           

ที่มา :  เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี และ ทวีศักดิ์ คงคต (2547)

              2. คุณสมบัติทางกายภาพของแผ่นฟิล์มที่เตรียมจากยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ คุณสมบัติมอดูลัส ความทนทานต่อแรงดึงจนขาด  ความทนทานต่อการยืดจนขาด และสัมประสิทธิความเสียดทานของแผ่นฟิล์มยางที่เตรียมจาก DPNR และ NR-LA (ตารางที่ 3 ) พบว่า 300% มอดูลัส, 500% มอดูลัส และความทนทานต่อแรงดึงจนขาดของแผ่นฟิล์มยางที่เตรียมจาก DPNR มีค่าต่ำกว่า NR-LA ทั้งก่อนและหลังการบ่มเร่งที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 22 ชั่วโมง เนื่องจาก DPNR มีการกำจัดโปรตีนบางส่วนออกด้วยเอนไซม์ การเกิดพันธะเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของ DPNR จะมีค่าน้อยลง ทำให้สมบัติทางกายภาพของ DPNR ลดลง ทำนองเดียวกันความทนทานต่อการยืดจนขาดของแผ่นฟิล์มยางที่เตรียมจาก DPNR จะมีค่าสูงกว่า NR-LA ทั้งก่อนและหลังการบ่มเร่ง สำหรับสัมประสิทธิความเสียดทานของแผ่นฟิล์มยางที่เตรียมจาก DPNR มีค่าต่ำกว่า NR-LA เนื่องจากโปรตีนบนอนุภาคยางมีปริมาณน้อยลง ทำให้ความสามารถในการเกาะติดผิวของยางกับวัสดุอื่นลดลง        

รูปที่ 5  แสดงปริมาณไนโตรเจนในน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำและน้ำยางข้นชนิดแอมโมเนียต่ำ 
(เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี และ ทวีศักดิ์ คงคต, 2547)
 
ตารางที่ 3  เปรียบเทียบคุณสมบัติของแผ่นฟิล์มยางที่เตรียมจากน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำและน้ำยางข้นชนิดแอมโมเนียต่ำ
 

Properties

NR-LA

DPNR

Before age

After age*

Before age

After age*

300 % Modulus (MPa)

500 % Modulus (MPa)

Tensile Strength (MPa)

Elongation at break (%)

Friction coefficient

1.72 ±0.24

2.75 ±0.30

29.38 ±1.40

811 ±32

1.21

2.51 ±0.17

6.55 ±0.20

21.47 ±1.37

612 ±25

**

1.03 ±0.28

1.46 ±0.32

23.20 ±1.07

992 ±37

0.82

1.39 ±0.19

2.16 ±0.12

17.46 ±1.50

762 ±15

**

ที่มา  : เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี และ ทวีศักดิ์ คงคต (2547)
หมายเหตุ   * at 100 °C for 22 hrs.   **No results