- ซาโปนิน (Saponins)
- ซาโปนินคืออะไร
- แหล่งที่พบซาโปนิน
- โครงสร้างและคุณสมบัติของซาโปนิน
- ความเป็นพิษของซาโปนิน
- การใช้ประโยชน์ของซาโปนิน
- การประยุกต์ใช้ด้านอาหาร
- การประยุกต์ใช้ด้านเครื่องสำอาง
- การประยุกต์ใช้ด้านเภสัช /สุขภาพ
- การผลิต การสกัด และการทำให้บริสุทธิ์
- การวิเคราะห์ปริมาณซาโปนิน
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
ความเป็นพิษของซาโปนิน (Toxicity of saponins)
ซาโปนินมีความเป็นพิษสูงต่อสัตว์เลือดเย็น เช่น ปลา หอย กบ และสัตว์ที่หายใจด้วยเหงือก โดยทำให้เกิดอัมพาต (paralysis) ที่เหงือก จึงนำมาใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ เช่น ส่วนของ sapogenin aglycone ที่พบในพิษงู ปลาดาวและแตงกวาทะเล ซาโปนินบางชนิดรวมทั้งซาโปนินจาก soapberry มีความเป็นพิษถ้ากลืนเข้าไปและเป็นสาเหตุของผื่นคันที่ผิวหนังได้ ซาโปนินที่เป็นพิษเรียกว่า sapotoxin ซึ่งซาโปนินจาก Digitalis ถูกนำมาใช้เป็นสารพิษอาบหัวลูกศรและหอกของชาวพื้นเมืองแอฟริกาและอเมริกาใต้ นอกจากนี้ซาโปนินยังมีความเป็นพิษสูงถ้าถูกฉีดเข้าในร่างกายเนื่องจากทำให้เกิดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง (erythrocyte) ขณะปล่อยฮีโมโกลบินออกมา ซาโปนินสามารถแยกสลายด้วยน้ำ (hydrolysis) เป็นน้ำตาลและอะไกลโคนหรือซาโปจินินได้เมื่อกลืนเข้าไปในร่างกาย ทำให้ความเป็นพิษของซาโปนินลดลง แต่บางคนก็อาจเกิดผื่นคันบริเวณผิวหนังได้ ชาวพื้นเมืองอเมริการับประทานไอศกรีมที่ทำจาก Canada Buffaloberry ซึ่งมีซาโปจินินอยู่และอาหารสุนัขที่มีถั่วเหลืองและหัวบีทเป็นส่วนประกอบในอาหารอาจเป็นพิษต่อสุนัขได้ (Saponins, 2008) ความเป็นพิษของกรด glycyrrhizic ในชะเอมมีผลทำให้มิเนอราลคอร์ติคอยด์ (mineralcorticoid) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากอะดรีนัลคอร์เทกซ์ของต่อมหมวกไต (mineralcorticoid activity) ทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความไม่สมดุลของแร่ธาตุในร่างกายเนื่องจากเกิดการตกค้างของโซเดียม (sodium retention) และการขับโพแตสเซียม (potassium excretion) ออกจากร่างกาย รวมทั้งน้ำในร่างกายเป็นผลให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมา (Guclu-Ustundag, O. and Mazza, G., 2007)