- อาหารฉายรังสี
- ความหมายของอาหารฉายรังสีและวัตถุประสงค์ในการฉายรังสี
- ข้อควรรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการฉายรังสีอาหาร หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
- อาหารฉายรังสีในสหภาพยุโรปและประเทศไทย
- มาตรฐานของ CODEX 106-1983 (CODEX, 2008)
- ความปลอดภัยของอาหารฉายรังสี
- ผลของการฉายรังสีต่อเชื้อโรคในอาหารและบรรจุภัณฑ์แบบต่าง ๆ
- การยอมรับของผู้บริโภคเกี่ยวกับอาหารฉายรังสี
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
ข้อควรรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการฉายรังสีอาหาร หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ชนิดของรังสี (CODEX, 2008; กระทรวงสาธารณสุข, 2549) ชนิดของรังสีที่อนุญาตให้ใช้ได้ในกระบวนการฉายรังสีอาหารต้องได้จากแหล่งของรังสีที่เป็นต้นกำเนิดดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของการฉายรังสีอาหารชนิดต่างๆ
ชนิดของอาหาร |
ผลของการฉายรังสี |
เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก |
ทำลายเชื้อจุลินทรีย์และพยาธิ เช่น Salmonella, Clostridium botulinum and Trichinae |
อาหารที่เน่าเสียได้ |
ชะลอการเน่าเสีย ชะลอการเจริญของเชื้อรา ลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ |
ธัญพืช เมล็ดข้าว ผลไม้ |
ควบคุมแมลงในพืชผัก ผลไม้แห้ง เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส |
หัวหอม แครอท มะเขือเทศ กระเทียม ขิง |
ยับยั้งการงอก |
กล้วย มะม่วง มะละกอ ฝรั่ง ผลไม้ไม่เปรี้ยว |
ชะลอการสุก |
ข้าว ผลไม้ |
ลดเวลาในการอบแห้ง |
ที่มา : สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย (2551 ก)
3. ปริมาณรังสีดูดกลืน (Radiation absorbed dose) ปริมาณรังสีดูดกลืน หมายความว่า ปริมาณพลังงานที่อาหารดูดกลืนไว้ต่อหนึ่งหน่วยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์อาหารเมื่อได้รับรังสี มีหน่วยเป็นเกรย์ และต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการฉายรังสีตามแต่กรณี ทั้งนี้ปริมาณรังสีดูดกลืนต้องไม่เกินที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เว้นแต่มีเหตุผลทางวิชาการหรือความจำเป็นทางเทคนิคที่สมควรต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร (กระทรวงสาธารณสุข, 2549)
4. การติดฉลาก การแสดงฉลากของอาหารฉายรังสี นอกจากต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ฉลาก และประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องของอาหารนั้น ๆ แล้ว ต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้