ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

กฎระเบียบของอาหารดัดแปรพันธุกรรมพืชในประเทศต่างๆ

              1. ประเทศสหรัฐอเมริกา พืชอาหารจีเอ็มได้นำออกจำหน่ายเป็นการค้าครั้งแรกปี ค.ศ. 1994 และ 2004 สหรัฐอเมริกามีพื้นที่ปลูก 47.6 ล้านเฮกแตร์ (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้ายและคาโนลา) จึงถือได้ว่าเป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรของโลก รัฐบาลมีกฎหมายที่ให้ความมั่นใจต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์จีเอ็ม  โดย FDA รับผิดชอบความปลอดภัยด้านอาหารและอาหารสัตว์ Plant Health Inspection Service (APHIS) รับผิดชอบด้านการประเมินความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมของพืชจีเอ็มและThe Environmental Protection Agency (EPA) รับผิดชอบต่อการพัฒนาและปล่อยพืชจีเอ็มที่มีคุณสมบัติในการควบคุมแมลง กฎหมายที่ใช้ในการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มาจากเทคโนโลยีใหม่ ได้แก่ พระราชบัญญัติต่างๆ เช่น The Plant Protection Act (PPA), the Federal Food, Drug and Cosmetic Act (FFDCA), the Federal Insecticide, Fungicide, and Rodenticide Act (FIFRA) และ the Toxic Substance Control Act (TSCA) ในปี ค.ศ. 1992  FDA ได้ออกนโยบายเกี่ยวกับอาหารที่มาจากพืชพันธุ์ใหม่ ผู้พัฒนาจะต้องรับผิดชอบที่จะให้ความมั่นใจต่อผู้บริโภคว่าอาหารนั้นปลอดภัยและสอดคล้องกับข้อกำหนด ในปี ค.ศ. 2001 FDA ได้เสนอกฎและร่างเอกสารข้อแนะนำสำหรับอาหารจีเอ็ม (Zarrilli, S., 2005) 

              การใช้เทคโนโลยีชีวภาพดัดแปรพันธุกรรมพืช ได้มีการคำนึงถึงแนวโน้มของความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ดังนั้นขณะที่เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมกำลังพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้วางกฎระเบียบและผู้วางนโยบายเห็นพ้องต้องกันว่า พืชจีเอ็มควรได้รับการประเมินอย่างระมัดระวังก่อนที่จะนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง  สหรัฐอเมริกาได้ตีพิมพ์ Coordinated Framework for Regulation of Biotechnology วางแนวทาง กฎระเบียบ ข้อกฎหมายและนิยามของสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงพันธุกรรม โดยมี 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ USDA, EPA และ FDA เพื่อประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์อันเนื่องมาจากพืชจีเอ็ม บริษัทต้องยื่นอาหารจีเอ็มใหม่ให้กับ FDA เพื่อทำการประเมินโดยทดสอบความปลอดภัยตามกฎระเบียบที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์แหล่งที่มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีประวัติที่จะทำให้เกิดภูมิแพ้ เป็นพิษหรือต้านการดูดซึมสารอาหารหรือไม่ (GAO, 2002)  โดย FDA ได้ประเมินอาหารจากพืชดัดแปรสำหรับมนุษย์ที่สามารถบริโภคได้ ดังแสดงในตารางที่ 2

              2. ประเทศออสเตรเลีย พืชดัดแปรพันธุกรรมที่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานอาหารของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (Food Standards  Australia New Zealand, FSANZ) ยอมให้ขายได้ในประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ ถั่วเหลือง คาโนลา (canola) ข้าวโพด  มันฝรั่ง ซูการ์บีท (sugarbeet) และฝ้าย อาหารจากพืชดัดแปรพันธุกรรมได้แก่ ขนมปัง ของขบเคี้ยว  น้ำมัน ขนมหวาน เครื่องดื่ม และ sausage skin ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี ค.ศ 2001 อาหารเหล่านี้ต้องมีฉลากระบุแต่ไม่ครอบคลุมถึงอาหารที่มาจากสัตว์เลี้ยงด้วยพืชดัดแปรพันธุกรรม เช่น เนื้อ นม ไข่ และน้ำผึ้ง (Carman, J., 2004)

ตารางที่ 2  การดัดแปรพันธุกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของพืชอาหาร  

สารโภชนาการ

พืชเป้าหมาย

ผลผลิตยีนเป้าหมาย

ไขมันและน้ำมัน

 

 

 

โปรตีน

 

 

 

คาร์โบไฮเดรต

 

 

 

แคโรตินอยด์ และวิตามิน อี

ถั่วเหลือง

คาโนล่า

ทานตะวัน

 

ข้าว

ถั่วเหลือง

มันเทศ

 

มันฝรั่ง

มันสำปะหลัง

กล้วย

 

ผลไม้และผัก

ถั่วเหลือง

Omega-3-fatty acid

Stearidonic acid (SDA)

Docosahexaenoic

 

Beta-phaseolin

Methionine enriched glycinin

Essential amino acid rich protein

 

Amylose and amylopectin (structure/ratio)

Amylose and amylopectin (structure/ratio)

Amylose and amylopectin (structure/ratio)

 

Beta-carotene

Alpha-tocopherol

 

ที่มา : Bouis, HE., Chassy, BM., and Ochanda, O. (2003)

              3. สหภาพยุโรป อาหารชนิดใหม่ (ของคนและสัตว์) และส่วนประกอบอาหารชนิดใหม่ที่เป็นจีเอ็มต้องขึ้นทะเบียนอาหารตาม EU Regulation  1829/2003  ซึ่งต้องมีการประเมินก่อนที่จะวางจำหน่าย Regulation 1830/2003  จะว่าด้วยการตรวจสอบย้อนกลับและการติดฉลากของสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปรพันธุกรรม (Thomson, J., 2003 ; Zarrilli, S., 2005)

              4. ประเทศกรีซ  มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจีเอ็มโอในอาหารคือ Hellenic Food Safety Authority ผู้ที่นำเข้าและดำเนินการด้านจีเอ็มโอโดยไม่ได้รับอนุญาตและการไม่ติดฉลากผลิตภัณฑ์จะต้องถูกลงโทษ หากบริษัทใดให้ใบรับรองไม่ถูกต้องก็ต้องถูกลงโทษเช่นกัน (Varzakas, th., Chryssochoidis, g., and Argyropoulos, D., 2007) แต่ละประเทศจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบและมีกฎระเบียบบังคับสำหรับพืชและสัตว์ที่มาจากการดัดแปรพันธุกรรมและผลิตภัณฑ์จีเอ็มว่าจะอนุญาตให้มีการนำเข้า วางจำหน่ายหรือไม่ (Zarrilli, S., 2005)