ชื่อสามัญ Ebony tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros mollis Griff.
วงศ์ EBENACEAE
ชื่อท้องถิ่น มักเกลือ (เขมร-ตราด), มักเกลือ หมักเกลือ มะเกลือ (ตราด), ผีเผา ผีผา (ฉาน-ภาคเหนือ), มะเกือ มะเกีย (ภาคเหนือ), เกลือ (ภาคใต้), มะเกลื้อ (ทั่วไป) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า และไทย โดยสามารถพบต้นมะเกลือได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ โดยต้นไม้ชนิดนี้จะพบได้มากในจังหวัดลพบุรี ราชบุรี สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร และอุดรธานี นอกจากนี้ต้นมะเกลือยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :- | |
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร มีเรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นเปลา ที่โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน ที่ผิวเปลือกเป็นรอยแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว สีดำ เปลือกด้านในมีสีเหลือง ส่วนกระพี้มีสีขาว แก่นมีสีดำสนิท เนื้อมีความละเอียดมันสวยงาม ที่กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นอยู่ประปราย โดยทุกส่วนของมะเกลือเมื้อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และต้นมะเกลือจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด | |
ใบ :- | |
ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรี เรียงแบบสลับ โคนใบกลมหรือมน ปลายใบสอบเข้าหากัน ผิวใบเกลี้ยง ใบกว้างประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-10 เซนติเมตร ใบอ่อนจะมีขนปกคุลมอยู่ทั้งสองด้าน | |
ดอก :- | |
ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศต่างต้นกัน ดอกตัวผู้จะมีขนาดเล็ด สีเหลืองอ่อน ในหนึ่งช่อจะมีอยู่ 3 ดอก ส่วนดอกตัวเมียจะเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกเหมือนกัน คือ กลีบรองดอกจะยาวประมาณ 0.1-0.2 เซนติเมตร ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบดอกจะแยกเป็น 4 กลีบ มีสีเหลือง เรียงเวียนซ้อนทับกัน ที่กลางดอกจะมีเกสร | |
ผล :- | |
ลักษณะของผลกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง ส่วนผลแก่เป็นสีดำ ผลเมื่อแก่จัดจะแห้ง ที่ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่บนผล 4 กลีบ ผมจะแก่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ในผลมีเมล็ดแบนสีเหลืองประมาณ 4-5 เมล็ด มีขนาดกว้างประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร | |
ส่วนที่ให้สี :- | |
คือ ผล | |
สีที่ได้ :- | |
สีดำ, เทา | |
วิธีการย้อมสี :- | |
Hits: 27119