- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
- มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
- กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
- แหล่งผลิตปลาส้มที่สำคัญในประเทศไทย
- ปัญหาที่มักพบในการผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
- การแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
- ผลิตภัณฑ์ปลาส้มที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
บทนำ
ปลาส้มทำจากปลาสดที่ตัดแต่งแล้วมาหมักด้วยเกลือ ข้าวเจ้าสุกหรือข้าวเหนียวนึ่ง อาจเติมส่วนผสมอื่น เช่น กระเทียม พริกไทย จนมีรสเปรี้ยว สามารถทำจากปลาทั้งตัวหรือเฉพาะเนื้อปลาก็ได้ จัดเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์อาหารหมักที่ได้รับความนิยมบริโภคมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง การผลิตปลาส้มในประเทศไทยมีปริมาณการผลิตในระดับสูง ซึ่งสร้างรายได้จำนวนมากให้กับผู้ประกอบการ แต่การผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน โดยอาศัยกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมา ทำให้ผู้ประกอบการมักประสบปัญหาในเรื่องการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ เกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์และสารเคมีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค อีกทั้งมีรสชาติไม่คงที่ ส่งผลให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ปลาส้มไม่ได้มาตรฐานและไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการหลายรายจึงยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานจึงมีความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพราะสามารถช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการเลือกซื้อสินค้าของ (วรัศณีญา, 2558) รวมถึงส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้สินค้า OTOP ประเภทปลาส้มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และสร้างรายได้ที่ดีให้แก่ผู้ประกอบการภายในชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
- Prev
- Next >>