- ผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม
- ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green products)
- การตลาดสีเขียวและผู้บริโภคสีเขียว (Green marketing and green consumer)
- การออกแบบผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม (Eco-design)
- การติดฉลากสีเขียว (Eco-labelling) (Atilgan, T., 2007)
- การประเมินวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA)
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
บทนำ
การตลาดกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดูเหมือนจะไปด้วยกันไม่ได้ กล่าวคือฝ่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต้องการให้การบริโภคลดลง แต่ฝ่ายการตลาดต้องการให้มีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น โดยฝ่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ต่อต้านแนวคิดบริโภคนิยม ซึ่งการตลาดที่ดีควรสามารถชักจูงผู้บริโภคให้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้เร็วและมากขึ้น โดยการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือขายสินค้า-บริการที่ช่วยให้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรือต้องลงทุนมากเกินไป จากผลกระทบของภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดการอนุรักษ์ การประหยัดพลังงาน และกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยสิ่งแวดล้อมและทุกคนในสังคมต้องปรับตัวกัน มีการคาดว่าในอนาคต ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนจะทำให้มนุษย์ต้องลดการใช้ทรัพยากรที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมลงถึง 60-85% และวิถีชีวิตของทุกคนในสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การเปลี่ยนแปลงนี้นำมาสู่ยุคของการตลาดสีเขียว (green marketing) ที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้อยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ เมื่อทุกคนในสังคมตื่นตัวต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะทำให้การตลาดสีเขียวเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกหลายเท่าตัว เมื่อผู้คนมีทางเลือกมากขึ้นและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลายเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของทุกคนแล้ว ตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็จะเติบโตขึ้น และเข้ามาแทนที่ตลาดยุคเก่า ทุกวันนี้มีหลายบริษัทได้บุกเบิกสินค้าและบริการสู่โลกของตลาดสีเขียว แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับเบื้องต้นคือ เน้นการขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางของตลาดสีเขียวแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ green, greener และ greenest โดยแต่ละระดับจะมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างกัน การตลาดแบบ green เป็นตลาดของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือ กระบวนการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน รถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน สวนผักปลอดสารพิษ เครื่องสำอางที่ไม่ใช้สัตว์ทดลอง ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใช้ถุงกระดาษแทนถุงพลาสติก หรือห้างสรรพสินค้าที่มีโครงสร้างอาคารประหยัดพลังงาน เกณฑ์ในการวัดผลทางธุรกิจของการตลาดแบบ green จะดูจากยอดขายสินค้า โดยไม่ได้วัดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากเท่าใด (การโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์) ส่วนการตลาดแบบ greener มีจุดประสงค์มากกว่าการทำยอดขาย โดยหวังผลด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการส่งเสริมให้ผู้บริโภคร่วมมือกันเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์และทรัพยากรให้มากขึ้น เช่น การขายรถยนต์นอกจากต้องประหยัดพลังงานแล้ว บริษัทยังต้องมีแคมเปญรณรงค์ให้ผู้บริโภคใช้รถอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมวันเช็คสภาพรถ การให้ความรู้และหมั่นตรวจสภาพรถ ซึ่งจะช่วยประหยัดน้ำมัน และลดปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกมาสู่อากาศได้ ดังนั้นการวัดผลของตลาดแบบ greener จึงดูได้จากยอดขายและจำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรม การตลาดแบบ greenest ซึ่งเป็นการตลาดแบบสุดท้ายที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงใหม่ขึ้นในสังคม เช่น การบริการให้คนที่เป็นเจ้าของรถยนต์ประหยัดน้ำมันที่ต้องไปทำงานต่างประเทศช่วงหนึ่งนั้นได้นำรถมาให้คนอื่นเช่าขับในช่วงนั้น หรือ อาจบริการจัดคิวให้คนที่อยู่ทางเดียวกันได้ใช้รถร่วมกัน
- Prev
- Next >>