ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod

ชื่อวิทยาศาสตร์  Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby

วงศ์  LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย CEASALPINIOIDEAE

ชื่อท้องถิ่น  ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี), ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง,สุราษฎร์ธานี), ผักจี้ลี้ แมะขี้แหละพะโด (แม่ฮ่องสอน), ยะหา (ปัตตานี), ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง), ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้)

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ .-

ต้น :-  
เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกมีสีเทาถึงน้ำตาลดำแตกเป็นร่องตื้นๆตามยาว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ ส่วนลักษณะของผลขี้เหล็ก มีลักษณะเป็นฝักแบนกว้าง 1.4 เซนติเมตร ยาว 15-23 เซนติเมตร มีความหนามีสีน้ำตาล มีเมล็ดหลายเมล็ด
ใบ :-  
เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน ใบเป็นสีเขียวเข้ม มีใบย่อยรูปรี 5-12 คู่ กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ที่ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ปลายใบเว้าตื้น โคนใบมน ขอบและแผ่นใบเรียบ โดยใบขี้เหล็ก 100 กรัมจะมีเบต้าแคโรทีน 1.4 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 156 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 190 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 5.8 มิลลิกรัม, เส้นใยอาหาร 5.6 กรัม, โปรตีน 7.7 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม, พลังงาน 87 กิโลแคลอรี่
ดอก :-  
จะออกดอกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง มีดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลมมี 3-4 กลีบ ปลายมน กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายคนโคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกจะยาว 1-1.5 เซนติเมตร และมีเกสรตัวผู้หลายอัน และในบรรดาผักผลไม้ไทยทั้งหลายดอกขี้เหล็กก็จัดเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยมีวิตามินซีมากถึง 484 มิลลิกรัมต่อดอกขี้เหล็ก 100 กรัม และยังมีเบต้าแคโรทีน 0.2 กรัม, ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม, เส้นใยอาหาร 9.8 กรัม, โปรตีน 4.9 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม และให้พลังงาน 98 กิโลแคลอรี่
แก่นต้นขี้เหล็ก :-  
 
ส่วนที่ให้สี :-  
แก่น, ใบ, เปลือก  
สีที่ได้ :-  
เขียวแกมเหลือง, น้ำตาลไหม้  
วิธีการย้อม :-
       น้ำสีที่สกัดได้จากการต้มใบขี้เหล็กบ้าน (ใบแก่) กับสารละลายกรดน้ำส้ม 1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อย้อมเส้นไหมที่อุณหภูมิ 85 - 90 องศาเซลเซียส นาน 40 นาที หลังจากนั้นนำเส้นไหมขึ้นและล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วจึงแช่ในสารละลายจุนสี 5 เปอร์เซ็นต์ ได้เส้นไหมสีเหลืองอมเขียว เมื่อแช่ในน้ำมะขามและสารส้ม เส้นไหมเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล สีที่ได้มีความคงทนต่อแสง และการซักดีปานกลาง
โทษของขี้เหล็ก การรับประทานขี้เหล็กในลักษณะที่นำใบขี้เหล็กไปตากแห้งแล้วบรรจุเป็นเม็ด อาจทำให้เกิดการเสื่อมและการตายของเซลล์ตับ หรืออาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้เกิดโรคตับได้ ซึ่งการรับประทานขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบเพสลาดหรือตั้งแต่ยอดอ่อนถึงใบขนาดกลาง และนำไปต้มให้เดือดเทน้ำทิ้งสัก 2-3 น้ำ แล้วค่อยนำมาปรุงอาหารหรือนำไปทำเป็นยา ซึ่งวิธีการแบบพื้นบ้านนี้จะช่วยฆ่าฤทธิ์และทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้ และยังช่วยลดความขมลงอีกด้วย