ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
การใช้ประโยชน์จากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
              น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งแบบรับประทานได้ (edible use) ได้แก่ น้ำมันทอดอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ และแบบรับประทานไม่ได้ (inedible use) ได้แก่ วัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ซักรีดและสบู่อาบน้ำ พลังงาน และเครื่องสำอาง (Bawalan, DD., and Chapman, KR., 2006) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
              1. แบบรับประทานได้ (edible use)
                    A. น้ำมันทอดอาหาร  น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สามารถนำมารับประทานได้ (edible use) โดยการนำมาใช้เป็นน้ำมันทอดอาหารและน้ำมันปรุงอาหาร เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีคุณสมบัติในการต้านกลิ่นหืน (rancidity resistance) สามารถนำมาใช้แทนไขมันในน้ำนมที่มีราคาแพง โดยไม่ทำให้รสชาติเปลี่ยน (Bawalan, DD., and Chapman, KR., 2006) การทอดเป็นกรรมวิธีหนึ่งในการทำอาหารโดยการสัมผัสของอาหารกับน้ำมันที่ร้อน ขณะทอดน้ำมันปรุงอาหารจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อน (heat transfer media) ไปสู่อาหาร การทอดโดยใช้อุณหภูมิสูง (elevated temperature) และคงที่ รวมทั้งสภาวะของการทอดที่มีอากาศและความชื้นนั้นจะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา เช่น polymerization, oxidation และ  hydrolysis (Henna Lu, FS. and Tan, PP., 2009) ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ด้านอื่นๆ เช่น เป็นแหล่งของไขมันสำหรับทารกหรืออาหารสำหรับทารก (baby foods) เนื่องจากสามารถย่อย (digestibility) และดูดซึมง่าย (absorbability) ใช้เป็น spray oil สำหรับขนมปังกรอบ (crackers) คุกกี้ (cookies) และอาหารเช้าที่ทำจากธัญพืช (cereal) เพื่อเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา (shelf-life) และเพิ่มความมันเงาของอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถนำมาผสมในขนมหวาน (confectionaries) ได้แก่ ขนมที่มีลักษณะเป็นแท่งแบน (candy bar) ท็อฟฟี (toffee) และคาราเมล (caramel) (Bawalan, DD., and Chapman, KR., 2006) 
                   B. ยาและผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ประกอบด้วยกรดไขมันที่มีขนาดความยาวปานกลาง (คาร์บอน 8-12 อะตอม) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับไขมันในน้ำนมแม่และสามารถสร้างระบบคุ้มกัน (immunity systems) ให้กับทารกและผู้ใหญ่ได้ อีกทั้งน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ยังมีคุณสมบัติของ anti-inflammatory, anti-microbial และ antioxidant properties ที่ทำงานร่วมกันและป้องกันโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) และโรคหัวใจ (cardiovascular disease) โดยการเพิ่ม high density lipoprotein (HDL) ซึ่งเป็นไขมันที่ดีที่ยิ่งมีมากก็จะป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตันได้ HDL จะทำหน้าที่จับไขมันส่วนเกินหรือคอเลสเตอรอลในร่างกายจากการขับของเสียออกมาจากร่างกายโดยตับ และช่วยให้ย่อยง่าย โดยไม่ต้องใช้น้ำดี (bile) จากตับเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน ช่วยเร่งขบวนการเมตาบอลิซึมและป้องกันการตกตะกอนของไขมัน จึงช่วยป้องกันภาวะอ้วนลงพุง (obesity) ได้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการติดเชื้อโรค (infectious disease) ช่วยปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารโดยการเพิ่มการดูดซึมของวิตามิน แร่ธาตุ และกรดอะมิโนต่างๆ และช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็ง (cancer-forming)

              2. แบบรับประทานไม่ได้ (inedible use)

                    A. วัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ซักรีดและสบู่อาบน้ำ น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สามารถนำมาใช้เป็นสารเคมีในการผลิตสารชำระล้างที่มีความสามารถในการย่อยสลาย (biodegradable detergent) แชมพู เจลอาบน้ำและเป็นสารทำความสะอาด (cleaning agent) ในผลิตเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับชำระล้าง และเป็นสารช่วยให้เกิดฟอง (foaming booster) (Bawalan, DD., and Chapman, KR., 2006) ทั้งนี้จะขอยกตัวอย่างการนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้ทำสบู่ก้อน (VCO soap) ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้

                             -  VCO soap ส่วนผสมที่ใช้ คือ น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 60 กรัม โซเดียมไฮดรอกไซด์ 10 กรัม  น้ำปราศจากไอออน (de-ionized water) 28 กรัม โซเดียมเบนโซเอต (สารกันเสีย) 0.5 กรัม และน้ำมันหอมระเหย (บริสุทธิ์ หรือไม่ผ่านการเจือจาง) 1-2  กรัม (น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ในสูตรนี้ ได้แก่ ตะไคร้ 1.5 เปอร์เซ็นต์ หญ้าหอมจำพวกตะไคร้ (citronella) 1.5 เปอร์เซ็นต์  มะกรูด 1.5 เปอร์เซ็นต์ ขมิ้น 1.0 เปอร์เซ็นต์ และหญ้าแฝก 1.0 เปอร์เซ็นต์)
                             วิธีการคือ ละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และโซเดียมเบนโซเอตในน้ำและรอจนกว่าส่วนผสมของทั้ง 2 ตัวจะเย็นลงที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส จากนั้นเทส่วนผสมลงในน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ใช้เวลาในการคน 10-15 นาที จนกว่าส่วนผสมจะเริ่มเหนียวแล้วเติมน้ำมันหอมระเหยลงไป คนให้เข้ากัน เทส่วนผสมลงในแม่พิมพ์ของสบู่ที่ทำจากท่อพีวีซีขนาด 50  มิลลิเมตร ทิ้งไว้ให้ส่วนผสมเซ็ตตัวประมาณ 2 วัน นำออกมาจากแม่พิมพ์และตัดให้ได้สบู่ก้อนที่มีน้ำหนักประมาณ 100  กรัม วางสบู่ก้อนทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 2-4 สัปดาห์ แล้วนำสบู่ก้อนมาห่อด้วยกระดาษไขและบรรจุใส่ภาชนะในภาชนะบรรจุที่เตรียมไว้ ทั้งนี้คุณสมบัติทางฟิสิกส์-เคมีของ VCO soap แสดงไว้ในตารางที่ 5
     ตารางที่ 5 คุณสมบัติทางฟิสิกส์-เคมีของ VCO soap 
 

คุณสมบัติ

หน่วยวัด

น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (TISTR)

ความถ่วงจำเพาะ(specific gravity)

ดัชนีหักเห(refractive index)

ค่าสปอนิฟิเคชัน(sponification value)

ค่าไอโอดีน(iodine value)

สารที่สปอนิฟายไม่ได้ (unsponifiable matter)

ค่าความเป็นกรด (acid value)

กรดไขมันอิสระ (ร้อยละของกรดลอริก)

สารที่ระเหยได้ (water and volatile matter at 105 °C)

Colour platinum-cobalt scale

Lovibond colour

องค์ประกอบของกรดไขมันอิสระ

-

-

Mg KOH/ g oil

Wijs

g/kg

 

 

%

%

 

-

 

C 8:0

C 10:0

C 12:0

C 14:0

C 16:0

C 18:0

C 18:1

C 18:2

อื่นๆ

0.914

1.453

259

7.36

-

 

-

0.12

0.19

 

-

0.9 Y, 0.3 R

7.2

5.6

47.9

19.0

9.1

1.0

5.7

3.0

1.5

 

หมายเหตุ  TISTR หมายถึง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

(ที่มา : Bawalan, DD., and Chapman, KR. (2006))

                    B. พลังงาน ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา มีการใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตจาก coco methyl ester สำหรับใช้ผลิตเชื้อเพลิงดีเซลทดแทน ปัจจุบันประเทศฟิลิปปินส์ใช้ coco methyl ester เป็นสารเพิ่มประสิทธิภาพในเชื้อเพลิงดีเซล (fuel additive) โดยใช้ส่วนผสม 5 เปอร์เซ็นต์เพื่อลดการปล่อยควันและการเกิดของไนตรัสออกไซด์ ในประเทศไทยมีการนำน้ำมันมะพร้าวมาผสมกับ 10-20 % kerosene ในการกำจัดไขมันต่างๆ นำมาใช้เป็นสารตัวเติม (filler) และใช้เป็นสารทดแทนน้ำมันดีเซลด้วยเช่นเดียวกัน

                    C. เครื่องสำอาง เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีคุณสมบัติอ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่าย (hypoallergenic properties) ปัจจุบันจึงนิยมใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ในด้านหลักๆ ดังนี้คือ คอนดิชันเนอร์สำหรับเส้นผมและผิวหนัง เป็นส่วนผสมน้ำมันในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หรือเป็นน้ำมันพื้นฐาน (carrier oil) ในสุวคนธบำบัด (aromatherapy) และน้ำมันนวด (massage oil) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                        -  การเตรียมน้ำมันสุวคนธบำบัดและน้ำมันนวด (Preparation of aromatherapy and massage oil) สามารถเตรียมได้ 2 วิธี คือ 

                           1. น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีความอ่อนโยนและสามารถดูดซึมสู่ผิวหนังได้ง่าย จึงใช้เป็นน้ำมันพื้นฐานสำหรับเติมผสมลงไปในน้ำมันหอมระเหย โดยทั่วไปจะใช้น้ำมันหอมระเหย 20 หยด (1 มิลลิลิตร) ต่อน้ำมันพื้นฐาน 30 มิลลิลิตร  สำหรับน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นแรงมากๆ เช่น พิมเสน (patchouli) จะใช้ในปริมาณ 2 มิลลิลิตร เติมลงในน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 98 มิลลิลิตรเพื่อให้ได้สารละลาย 2 เปอร์เซ็นต์ (2 % solution) สำหรับน้ำมันหอมระเหย 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ควรนำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์โดยตรง ควรจะทำให้เจือจางโดยการผสมกับแอลกอฮอล์หรือตัวทำละลายอื่นก่อนผสมกับน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์

                           2. การเตรียมน้ำมันสุวคนธบำบัดจากสมุนไพรต่างๆ เป็นวิธีการที่ง่าย โดยเริ่มต้นจากการอบสมุนไพรแห้งในภาชนะแก้วที่สามารถกันความร้อนได้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง (สำหรับใบของโรสแมรี)  หรือ 2 ชั่วโมง (สำหรับรากขิง) อัตราส่วนที่ใช้คือ สมุนไพรอบแห้ง  60  กรัม ต่อ น้ำมันพื้นฐาน (น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์) 480 มิลลิลิตร

                        -  การเตรียมสำหรับใช้เป็นส่วนผสมน้ำมันในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหนัง (Coco oil-based body/skin care products) ได้แก่

                           Coconut moisturizing jelly 

                           ส่วนผสมที่ใช้ คือ น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 120 มิลลิลิตร ขี้ผึ้ง (beeswax) 30 กรัม และน้ำมันหอมระเหย (สะระแหน่ ลาเวนเดอร์ กระดังงา ตะไคร้ ฯลฯ)  2  มิลลิลิตร 

                           วิธีการคือ นำขี้ผึ้งมาหลอมให้ละลายอย่างช้าๆ และให้ความร้อนแก่น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ในภาชนะที่มีน้ำเป็นตัวให้ความร้อน จากนั้นนำส่วนผสมของขี้ผึ้งและน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มาผสมให้เข้ากันและนำไปเคี่ยวต่อที่อุณหภูมิ 50  องศาเซลเซียส  เติมน้ำมันหอมระเหยลงไปในส่วนผสม  คนให้เข้ากันและเทลงในภาชนะบรรจุที่จัดเตรียมไว้แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น

                           Moisturizing body butter 

                           ส่วนผสมที่ใช้ คือ ขี้ผึ้ง 30 กรัม  เนยโกโก้ (cocoa butter) 90 กรัม น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 90 กรัม น้ำผึ้ง 10 มิลลิลิตร และน้ำมันหอมระเหย (ตามที่เลือกใช้) 3 มิลลิลิตร

                           วิธีการคือ หลอมขี้ผึ้งให้ละลายช้าๆ เติมเนยโกโก้ น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ และน้ำผึ้งลงไปผสม ตามลำดับ คนให้เข้ากันและนำไปเคี่ยวที่อุณหภูมิ  50  องศาเซลเซียส เติมน้ำมันหอมระเหยลงไปและผสมให้เข้ากัน เสร็จแล้วนำไปเทลงในภาชนะแห้งและสะอาดที่เตรียมไว้

                           Lip balm  

                           ส่วนผสมที่ใช้ คือ เนยโกโก้ (cocoa butter) 20 กรัม ขี้ผึ้ง 20 กรัม และน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 40 กรัม

                           วิธีการคือ นำเนยโกโก้และขี้ผึ้งมาหลอมละลายช้าๆ เติมน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ลงไปผสมคนให้เข้ากันจนส่วนผสมมีลักษณะข้นเหนียว จากนั้นเทส่วนผสมลงในภาชนะที่เตรียมไว้ ปล่อยให้ส่วนผสมเย็นตัวลงและเติมสารแต่งกลิ่นและรส  เช่น กลิ่นสะระแหน่หรือส้ม ตามความต้องการโดยควรเติมก่อนที่ส่วนผสมจะเริ่มเซ็ตตัว