- น้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ความหมายของน้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ประเภทของสุคนธบำบัด
- แหล่งที่มาของน้ำมันหอมระเหย
- องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย
- คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยจากพืชแต่ละวงศ์
- ฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหย
- รูปแบบการใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหย
- ธุรกิจสปาในประเทศไทย
- ตัวอย่างของน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยม
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
บทนำ
ปัจจุบันมนุษย์มักประสบปัญหาทางสภาพร่างกายและจิตใจ เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างๆไม่ว่าจะเป็นมลภาวะทางอากาศ ได้แก่ ควันพิษจากรถยนต์ ควันบุหรี่ หรือสารเคมี รวมถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ไม่พึงประสงค์ทั้งทางด้านสังคมและการเมือง ทำให้เกิดความวิตกกังวลและความเครียดต่างๆตามมา มนุษย์จึงหันมาเอาใจใส่ ดูแลสุขภาพกันมากขึ้น โดยใช้วิธีทางธรรมชาติ ทางเลือกหนึ่งที่นิยมกันมากคือ การบำบัดด้วยกลิ่นหอม หรือสุคนธบำบัด (Aromatherapy) นั่นเอง ซึ่งทำให้เกิดความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ มักใช้บริการได้ทั่วไปในสถานบริการที่เรียกว่า สปา (Spa)
การใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยมีมาตั้งแต่สมัย 5,000 ปีก่อน ชาวอียิปต์โบราณเป็นชนชาติแรกที่มีการสกัดน้ำมันหอมระเหยมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง หลังจากนั้นก็มีชนชาติอื่นตามมา ได้แก่ จีน อินเดีย อียิปต์ ฝรั่งเศส เป็นต้น กลิ่นหอมต่างๆที่นำมาบำบัดเป็นสารสกัดที่มาจากน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ ซึ่งมีสรรพคุณและประโยชน์มากมาย เช่น น้ำมันพริกไท น้ำมันกานพลู น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันสะระแหน่ ฯลฯ โดยทั่วไปน้ำมันหอมระเหยสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ได้แก่ การสูดดม การซึมผ่านผิวหนังและการรับประทาน แต่ละชนิดมีฤทธิ์ต่อระบบต่างๆของร่างกายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทและสรรพคุณของพืชชนิดนั้นๆ น้ำมันหอมระเหยจึงเป็นการแพทย์ทางเลือกแบบหนึ่งที่สามารถป้องกันและรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่ไม่ร้ายแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามแม้ว่าน้ำมันหอมระเหยจะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่หากใช้ผิดวิธีก็ย่อมก่อให้เกิดโทษได้ ดังนั้นผู้ใช้จึงควรศึกษารายละเอียดของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดอย่างละเอียดก่อนนำมาใช้
- Prev
- Next >>