- น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์คืออะไร
- ประเภทของน้ำมันมะพร้าว
- การสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- การผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- คุณสมบัติของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ทางเคมีและกายภาพ
- องค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- บทบาทของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่มีต่อร่างกาย
- การใช้ประโยชน์จากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ระหว่างการทอด
- การเก็บรักษาที่มีผลต่อองค์ประกอบของกรดไขมันของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
การเก็บรักษาที่มีผลต่อองค์ประกอบของกรดไขมันของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
Henna Lu, FS. and Tan, PP. (2009) ได้ทดลองเก็บรักษา (storage) น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์และน้ำมันมะกอกโดยดูจากการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของกรดไขมัน จากการทดลองพบว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ยังคงรักษาองค์ประกอบของกรดไขมันให้คงที่ได้ตลอดระยะเวลาในการเก็บรักษา เช่นเดียวกับการทดลองของธวัชชัย ธูปแก้ว, สงบทิพย์ พงศ์สถาบดี และธราพงษ์ วิทิตศานต์ (2553) ที่พบว่า องค์ประกอบของน้ำมันกะทิที่เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องจำนวน 1-5 วัน หลังผ่านเครื่องเหวี่ยงแยกที่ความเร็ว 1,000 รอบต่อนาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมงนั้นมีร้อยละองค์ประกอบของน้ำกะทิ (โดยน้ำหนัก) โดยเฉลี่ยค่อนข้างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเก็บกี่วันก็ตาม ดังแสดงในรูปที่ 3
(ที่มา : ธวัชชัย ธูปแก้ว, สงบทิพย์ พงศ์สถาบดี และ ธราพงษ์ วิทิตศานต์ (2553))
รูปที่ 3 กราฟแสดงองค์ประกอบของน้ำกะทิต่อจำนวนวันในการเก็บ
จากการที่น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีปริมาณของกรดไขมันไม่อิ่มตัวอยู่น้อยมาก จึงมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของกรดไขมันน้อยเมื่ออยู่ภายใต้สภาวะการให้ความร้อนและการเก็บรักษา ส่วนน้ำมันมะกอกมีองค์ประกอบของกรดไขมันเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย ภายหลังการให้ความร้อน พบว่า เปอร์เซ็นต์ของ linoleic acid มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่เปอร์เซ็นต์ของ palmitic acid มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายหลังการเก็บรักษา เนื่องจากผลของปฏิกิริยา lipid oxidation ในน้ำมัน การลดลงของ linoleic acid อาจเนื่องมาจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ดีกว่ากรดไขมันชนิดอื่นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเลย