- น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์คืออะไร
- ประเภทของน้ำมันมะพร้าว
- การสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- การผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- คุณสมบัติของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ทางเคมีและกายภาพ
- องค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- บทบาทของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่มีต่อร่างกาย
- การใช้ประโยชน์จากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ระหว่างการทอด
- การเก็บรักษาที่มีผลต่อองค์ประกอบของกรดไขมันของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
คุณสมบัติของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ทางเคมีและกายภาพ
1. คุณสมบัติทางเคมี
Marina, AM., Che Man, YB. and Nazimah, SAH. (2009)ได้ศึกษาตลาดของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเกี่ยวกับลักษณะทางเคมีและองค์ประกอบของกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ พบว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์แต่ละตัวอย่างมีปริมาณกรดลอริก (lauric acid content) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญโดยที่น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ส่วนใหญ่มีปริมาณกรดลอริก 46.64-48.00 เปอร์เซ็นต์ มีค่าไอโอดีน (iodine value : I.V) อยู่ในช่วง 4.47-8.55 ซึ่งหมายถึง จำนวนกรัมของไอโอดีนที่เข้าไปทำปฏิกิริยากับพันธะคู่ของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่เป็นส่วนประกอบในโมเลกุลของไขมันหรือน้ำมัน 100 กรัม ค่า I.V เป็นตัวชี้บ่งว่าไขมันหรือน้ำมันนั้นว่ามีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเป็นส่วนประกอบอยู่ในโมเลกุลมากน้อยเพียงใด ถ้าค่า I.V สูง แสดงว่ามีปริมาณกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเป็นส่วนประกอบมากและสามารถเกิดการหืนได้ง่ายจากการเข้าทำปฏิกิริยาของออกซิเจน จะเห็นได้ว่าค่าไอโอดีนของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีค่าต่ำ จึงทำให้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวต่ำ แต่ทั้งนี้ค่า I.V ก็ไม่ใช่ค่าที่ดีที่สุดในการประเมินความเสถียรของปฏิกิริยาออกซิเดชัน(Henna Lu, FS. and Tan, PP., 2009) sponification value (S.V) ของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีค่าเท่ากับ 250.07-260.67 mg KOH ซึ่งหมายถึง จำนวนมิลลิกรัมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่ทำปฏิกิริยาพอดีกับไขมันหรือน้ำมัน 1 กรัม S.V เป็นค่าเฉพาะที่เป็นตัวบ่งสมบัติเฉพาะของไขมันหรือน้ำมันแต่ละชนิด เนื่องจากสามารถบ่งชี้ถึงขนาดโมเลกุลหรือน้ำหนักโมเลกุลของกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบในโมเลกุลของไขมันหรือน้ำมัน น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีค่า S.V สูง แสดงว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ค่าเปอร์ออกไซด์ (peroxide value : P.V) ของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีค่าต่ำ คือ 0.21-0.57 mequiv oxygen/kg ซึ่งค่า P.V หมายถึง จำนวนมิลลิลิตรของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตความเข้มข้น 0.002 นอร์มอล ที่ใช้ในการไตเตรตไขมันหรือน้ำมัน 1 กรัม หรือ หมายถึง จำนวนมิลลิลิตรสมบูรณ์ของเปอร์ออกไซด์ออกซิเจนที่มีในไขมันหรือน้ำมัน 1 กิโลกรัม น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีค่า P.V. ต่ำ แสดงว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีความเสถียรต่อการเข้าทำปฏิกิริยาของออกซิเจน (oxidation stability) ในอากาศได้มาก จึงทำให้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์เกิดการหืน (oxidative rancidity) ได้น้อย oxidative rancidity เป็นการหืนที่เกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการทางธรรมชาติ (auto-oxidation) ที่พันธะคู่ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศเกิดเป็น peroxide linkage ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาเมื่อไขมันและน้ำมันสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีปริมาณของกรดไขมันอิสระต่ำคือ อยู่ในช่วง 0.15-0.25 แสดงว่าน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์เป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดีชนิดหนึ่ง
2. คุณสมบัติทางกายภาพ
คุณภาพของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่ทดสอบจากการประเมินทางประสาทสัมผัส (sensory evaluation) มีดังนี้กล่าวคือ สีของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ควรมีใสเหมือนน้ำ การเกิดสีของน้ำมันมะพร้าวอาจเนื่องมาจากการปนเปื้อนในน้ำมันระหว่างกระบวนการที่ใช้ความร้อนสูงและการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ (microbial contaminant)ในเนื้อมะพร้าวก่อนขั้นตอนการสกัด (Bawalan, DD., and Chapman, KR., 2006) ถ้ามีการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์จะทำให้สีของน้ำมันเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูหรือแดงส้ม ทั้งนี้กลิ่นของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์คุณภาพดี ควรมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ของมะพร้าว ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการที่ใช้ในการสกัด รสชาติของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ต้องไม่ระคายเคืองในลำคอเมื่อรับประทานเข้าไป คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ รวมทั้งคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์เปรียบเทียบกับน้ำมันชนิดต่างๆ แสดงไว้ในตารางที่ 2 และตารางที่ 3 ตามลำดับ
คุณสมบัติ |
มาตรฐานของ Codexa |
มาตรฐานของ APCCb |
ลักษณะเฉพาะ (identify characteristics) ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (Relative density) (40°C/ water at 20°C) ดัชนีหักเห (Refractive index) ที่ 40°C ความชื้น (Moisture % wt. max) สิ่งอื่นที่ไม่ละลายน้ำ (Insoluble impurities percent by mass) ค่าสปอนิฟิเคชัน (Sponification value) (mg KOH/g oil) ค่าไอโอดีน (iodine value) (g iodine/100 g oil) สารที่สปอนิฟายไม่ได้ (Unsponifiable matter % by mass. Max.) ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity at 30 deg./ 30 deg. C) ค่าความเป็นกรด (Acid value max.) Polenske value (min.) องค์ประกอบของกรดไขมัน (%) Medium-chain fatty acid Caproic acid หรือ C 6:0 Caprylic acid หรือ C8:0 Capric acid หรือ C10:0 Lauric acid หรือ C12:0 Long-chain fatty acid Myristic acid หรือ C14:0 Palmitic acid หรือ C16:0 |
0.908-0.921
1.448-1.450 <0.2 % 0.05 %
248-265
6.3-10.6 £15
0.6 mg KOH/g oil 13-18
ND-0.7 4.6-10.0 5.0-8.0 45.1-53.2
16.8-21.0 7.5-10.2 |
0.915-0.920
1.4480-1.4492 0.1-0.5 % 0.05 %
250-260
4.1-11.0 0.2-0.5
0.915-0.920
0.5 mg KOH/g oil 13
0.4-0.6 5.0-10.0 4.5-8.0 43.0-53.0
16.0-21.0 7.5-10.0 |
คุณสมบัติ |
มาตรฐานของ Codexa |
มาตรฐานของ APCCb |
Unsaturated fatty acid Stearic acid หรือ C18:0 Oleic acid หรือ C18:1 Linoleic acid หรือ C18:2 Linolenic acid หรือ C18:3-C24:1 ลักษณะด้านคุณภาพ (Quality characteristics) สี (Colour) กรดไขมันอิสระ (Free fatty acid) ค่าเปอร์ออกไซด์ (Peroxide value) จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด (Total plate count) E.coli Salmonella spp. ยีสต์ กลิ่นและรสชาติ (Odour and taste) สิ่งปนเปื้อน (Contaminants) สารระเหยง่าย (Matter volatile at 105 °C) เหล็ก (Iron: Fe) ทองแดง (Cu) ตะกั่ว (Lead) สารหนู (Arsenic) |
2.0-4.0 5.0-10.0 1.0-2.5 ND-0.7
ไม่มีสี หรือ สีเหลืองอ่อน สูงสุด 0.2 % (กรดลอริก) £3 meq peroxide oxygen /kgoil <10 cfu <1 cfu <1 cfu <10 cfu ปราศจากกลิ่นหืนและรสชาติ
0.2 % 5.0 mg/kg 0.4 mg/kg 0.1 mg/kg 0.1 mg/kg |
2.0-4.0 5.0-10.0 1.0-2.5 <0.5
สีเหมือนน้ำและสะอาด £0.5 % £3 meq peroxide oxygen /kg oil <10 cfu
ปราศจากกลิ่นและรสชาติ
0.2 % 5.0 mg/kg 0.4 mg/kg 0.1 mg/kg 0.1 mg/kg |
ตารางที่ 3 คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์เปรียบเทียบกับน้ำมันชนิดต่างๆ
ลักษณะทางเคมีและกายภาพ |
น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ |
น้ำมันปาล์ม |
น้ำมันถั่วเหลือง |
น้ำมันถั่วลิสง |
น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน |
น้ำมันงา |
น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย |
น้ำมันฝ้าย |
น้ำมันเมล็ดองุ่น |
น้ำมันข้าวโพด |
Relative density (40°C/ water at 20°C)
Refractive index (ND 40°C)
Saponification value (mg KOH/g oil)
Iodine value
Unsaponifiable matter (g/kg) |
0.908-0.921
1.448-1.450
248-265
6.3-10.6
£15 |
0.891-0.899
1.454-1.456 (at 50°C)
190-209
50.0-55.0
£12 |
0.919-0.925
1.461-1.468
188-194
118-141
£15 |
0.912-0.920
1.460-1.465
187-196
86-107
£15 |
0.918-0.923
1.461-1.468
188-194
118-141
£15 |
0.915-0.924
1.465-1.469
1865-195
104-120
£20 |
0.922-0.927
1.467-1.470
186-198
136-148
£15
|
0.918-0.926
1.458-1.466
189-198
100-123
£15
|
0.920-0.926
1.467-1.477
188-194
128-150
£20 |
0.917-0.925
1.465-1.468
187-195
103-135
£28 |
หมายเหตุ : Relative density คือ ความหนาแน่นสัมพัทธ์, Refractive index คือ ดัชนีหักเห, Unsaponifiable matter คือ องค์ประกอบของไขมันที่ไม่ถูกไฮโดรไลซ์ด้วยด่าง
(ที่มา : Codex alimentarius commission (2001))