- น้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ความหมายของน้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ประเภทของสุคนธบำบัด
- แหล่งที่มาของน้ำมันหอมระเหย
- องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย
- คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยจากพืชแต่ละวงศ์
- ฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหย
- รูปแบบการใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหย
- ธุรกิจสปาในประเทศไทย
- ตัวอย่างของน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยม
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
ความหมายของน้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
น้ำมันหอมระเหย (Essentail Oils) เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้น มักมีกลิ่นหอมและระเหยได้ง่ายที่อุณหภูมิห้อง พืชเหล่านี้จะมีต่อมหรือท่อที่สร้างและกักเก็บน้ำมันหอมระเหยไว้ (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2548) โดยสามารถพบได้ตามส่วนต่างๆของพืชหอม ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด เป็นต้น โดยระดับของน้ำมันหอมระเหยที่พบในพืชแต่ละชนิดจะมีตั้งแต่ 0.01% ถึง 10% (Prats, MS., and Jimenez, A., 2010) ประกอบด้วยองค์ประกอบทางเคมีกว่า 100 ชนิด นอกจากพืชหอมจะให้กลิ่นหอมแล้ว บางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ด้วย เช่น ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือเกิดอาการเป็นพิษ (Mcguinness, H., 2003)
สุคนธบำบัด (Aromatherapy) คือ ศาสตร์และศิลปะแห่งการใช้กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยจากพืชธรรมชาติในการช่วยบำบัดรักษาโรคทางร่างกายและจิตใจ มีผลต่อระบบประสาท บรรเทาความเครียดและอาการวิตกกังวล ผ่อนคลายหรือกระตุ้นให้ร่างกายและจิตใจเกิดความสมดุลและมีสภาพที่ดีขึ้น รวมทั้งป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่ร้ายแรงได้อีกด้วย จึงนับได้ว่าเป็นการแพทย์ทางเลือกแบบหนึ่ง (Kuriyama, H., et al., 2005)