- น้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ความหมายของน้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ประเภทของสุคนธบำบัด
- แหล่งที่มาของน้ำมันหอมระเหย
- องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย
- คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยจากพืชแต่ละวงศ์
- ฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหย
- รูปแบบการใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหย
- ธุรกิจสปาในประเทศไทย
- ตัวอย่างของน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยม
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
Page 11 of 14
ธุรกิจสปาในประเทศไทย
ปัจจุบันน้ำมันหอมระเหยได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในวงการอุตสาหกรรมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ฯลฯ รวมถึงได้ถูกนำไปใช้ในสุคนธบำบัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจสปาและกลายเป็นธุรกิจที่สำคัญสำหรับผู้ที่สนใจและเอาใจใส่สุขภาพ โดยเป็นการเน้นการบำบัดโดยใช้กลิ่นหอมของพืชจากธรรมชาติหรือน้ำมันหอมระเหยเป็นหลัก จากงานวิจัยที่มีการสำรวจข้อมูลของธุรกิจสปาไทยในปี 2552 โดยการตอบแบบสอบถามของผู้จัดการหรือเจ้าของธุรกิจสปาในสถานประกอบการ 105 แห่งที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขแล้วพบว่า (รวีวรรณ พัดอินทร์และคณะ, 2552)
• ธุรกิจส่วนใหญ่มีการลงทุนน้อยกว่า 50 ล้านบาท และมักตั้งอยู่ในโรงแรมหรือรีสอร์ท
• น้ำมันหอมระเหยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้เป็นน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติมากกว่าน้ำมันหอมระเหยจากการสังเคราะห์
• บริการหลักของธุรกิจสปาคือ การนวดน้ำมัน การบำรุงผิวหน้าและผิวกายและการอบไอน้ำ
• น้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ น้ำมันลาเวนเดอร์ (35.71%) ตะไคร้ (20.54%) ส้ม (16.07%) สาระแหน่ฝรั่ง (15.18%)และมะลิ (12.50%) (ดังแผนผังที่ 1)

แผนผังที่ 1 แผนผังแสดงชนิดของน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยมสูงสุด สำหรับสุคนธบำบัด (ที่มา : รวีวรรณ พัดอินทร์และคณะ, 2552)
เราสามารถจำแนกธุรกิจสปาได้ตามหลักขององค์กรสปาระหว่างประเทศหรือ Internation Spa Associations ได้ดังนี้ (ปฐมไชย นนทวงษ์, 2547)
1. Hotel & Resort Spa เป็นสถานบริการสปาที่อยู่ในโรงแรมหรือรีสอร์ท เพื่อรองรับผู้มาพักแรมที่ต้องการใช้บริการสปา นอกเหนือจากใช้บริการห้องพัก
2. Destination Spa เป็นสปาที่แยกออกมาอย่างเด่นชัด เพื่อให้บริการโดยเฉพาะอย่างครบวงจร
3. Medical Spa เป็นสปาที่มีการบำบัดรักษาควบคู่กับศาสตร์ทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์บางอย่าง อยู่ภายใต้การควบคุมของบุคลากรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มักอยู่ตามสถานรักษาพยาบาลต่างๆ
4. Day Spa or City Spa เป็นสปาระยะสั้น ใช้เวลาแค่ 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง สถานที่ตั้งมักอยู่ในเมืองใหญ่ๆหรือย่านธุรกิจสำคัญที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก
5. Mineral Spring Spa เป็นบริการสปาตามแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นบ่อน้ำแร่หรือน้ำพุร้อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
6. Club Spa เป็นสปาที่ผสมผสานกับฟิตเนสหรือการออกกำลังกาย เพื่อไว้บริการสำหรับผู้ที่มาออกกำลังกาย
7. Cruise Ship Spa เป็นการใช้สปาบนเรือสำราญผสมกับการออกกำลังกาย การจัดเตรียมอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพกาย เพื่อให้มีความสุขสบาย ผ่อนคลายและปลอดโปร่งระหว่างเดินทาง