- น้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ความหมายของน้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ประเภทของสุคนธบำบัด
- แหล่งที่มาของน้ำมันหอมระเหย
- องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย
- คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยจากพืชแต่ละวงศ์
- ฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหย
- รูปแบบการใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหย
- ธุรกิจสปาในประเทศไทย
- ตัวอย่างของน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยม
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
Page 12 of 14
ตัวอย่างของน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยม
จากงานวิจัยที่ทำการสำรวจถึงความนิยมของผู้ใช้บริการสปาในปี 2552 น้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยมจากมากไปน้อยได้แก่ น้ำมันลาเวนเดอร์ ตะไคร้ ส้ม สาระแหน่ฝรั่ง และมะลิ ตามลำดับ ซึ่งจะขอกล่าวถึงข้อมูลโดยทั่วไปของน้ำมันหอมระเหย โดยจะยกตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยข้างต้น ดังนี้
1. น้ำมันลาเวนเดอร์ (Lavender Oil)
เป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีประโยชน์และรู้จักกันมากที่สุด (Mcguinness, H., 2003) ทำให้ระบบต่างๆภายในร่างกายเกิดความสมดุลและอื่นๆอีกมากมาย
ลักษณะทางกายภาพ น้ำมันไม่มีสี (ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ, 2550)
องค์ประกอบทางเคมี linalool, linalyl acetate, a-pinene, ß-pinene, myrcene, Camphene, terpinene ฯลฯ (Masada, Y., 1976)
ส่วนที่ให้น้ำมัน อยู่ที่ยอดดอกสด ของต้น (คมสัน หุตะแพทย์, 2546)
วิธีการสกัด กลั่นด้วยไอน้ำหรือสกัดด้วยสารละลาย
ความรุนแรงของกลิ่น ระดับปานกลาง
คุณสมบัติ แก้ปวด ป้องกันโรคชัก บรรเทาอาหารซึมเศร้า ต้านเชื้อไวรัส ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรค ฯลฯ
( ที่มา : www.summerbluesky.exteen.com/2009031...lavender)
2. น้ำมันตะไคร้ (Lemongrass Oil)
เป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีสมบัติเด่นสำหรับระบบภูมิคุ้มกัน ต่อมน้ำเหลือง ฯลฯ
ลักษณะทางกายภาพ น้ำมันสีเหลือง (ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ, 2550)
องค์ประกอบทางเคมี ß and a-citral, a-pinene, camphene, ß-pinene, limonene, linalool, nerol, geraniol ฯลฯ (Masada, Y., 1976)
ส่วนที่ให้น้ำมัน อยู่ที่ใบสดและใบแห้งของต้น (คมสัน หุตะแพทย์, 2546)
วิธีการสกัด กลั่นด้วยไอน้ำ
ความรุนแรงของกลิ่น ระดับปานกลางถึงสูง
คุณสมบัติ แก้ปวด ลดไข้ บรรเทาอาหารซึมเศร้า ฆ่าเชื้อโรค ช่วยสมานแผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ช่วยดับกลิ่น ช่วยในการย่อย บรรเทาความผิดปกติของเส้นประสาทบำรุงร่างกายและจิตใจ ฯลฯ
(ที่มา : www.phudin.com/post_tea.php%3Fs_...d%3D0030)
3. น้ำมันส้ม (Orange Oil)
เป็นน้ำมันที่มีราคาถูก ใช้สำหรับดูแลผิวพรรณได้ดี ช่วยลดริ้วรอยบนผิวหนัง รวมทั้งมีคุณสมบัติให้ความสดชื่น บำรุงจิตใจให้กระชุ่มกระชวย คลายความวิตกกังวล ซึมเศร้า ท้อแท้หรือหดหู่ (คมสัน หุตะแพทย์, 2546)
ลักษณะทางกายภาพ น้ำมันที่ได้จากการบีบจะมีสีเหลืองเข้มหรือสีส้ม ส่วนที่ได้จากการกลั่นจะไม่มีสีหรือสีเหลืองอ่อน (ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ, 2550)
องค์ประกอบทางเคมี limonene (~90%), decyl, octyl, nonyl, dodecyl aldehydes, citral, acids และ esters (Masada, Y., 1976)
ส่วนที่ให้น้ำมัน ผิวหรือเปลือกของผลส้มสุก (คมสัน หุตะแพทย์, 2546)
วิธีการสกัด สกัดด้วยวิธีบีบอัดหรือกลั่นด้วยไอน้ำ
องค์ประกอบทางเคมี ส่วนใหญ่เป็น monoterpenes limonene
ความรุนแรงของกลิ่น ระดับปานกลาง
คุณสมบัติ บรรเทาอาหารซึมเศร้า ฆ่าเชื้อโรค ช่วยในการย่อย ลดไข้ ทำให้สงบ รักษากระเพาะ บำรุงร่างกายและจิตใจ ฯลฯ
(ที่มา : www.cmlifes.com/108-%25E0%25B9%2...5A1.html)
4. น้ำมันสะระแหน่ (Peppermint Oil)
เป็นน้ำมันหอมระเหยที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มาก ช่วยกระตุ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นที่รู้จักกันดีในการส่งผลเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและทางเดินอาหาร
ลักษณะทางกายภาพ ไม่มีสีหรือสีเหลืองอ่อน (ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ, 2550)
องค์ประกอบทางเคมี menthol (29-48%) , menthone (20-31%), a-pinene, ß-pinene, limonene, cineol, ethylamylalcohol ฯลฯ (Masada, Y., 1976)
ส่วนที่ให้น้ำมัน ใบ ต้น ดอก (คมสัน หุตะแพทย์, 2546)
วิธีการสกัด กลั่นด้วยไอน้ำ
ความรุนแรงของกลิ่น ระดับปานกลางถึงสูง
คุณสมบัติ แก้ปวด แก้อักเสบ ฆ่าเชื้อโรค ต้านเชื้อไวรัส ลดน้ำมูก ขับเสมหะ ลดไข้ คลายกล้ามเนื้อ ฯลฯ
(ที่มา : www.ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/herb...021.html)
5. น้ำมันมะลิ (Jasmine Oil)
เป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นหอมหวานรัญจวนใจ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและยกระดับจิตใจ เป็นน้ำมันที่มีความโดดเด่นในการส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์และผิวพรรณ
ลักษณะทางกายภาพ น้ำมันสีส้มดำหรือสีน้ำตาล (ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ, 2550)
ส่วนที่ให้น้ำมัน ดอก (คมสัน หุตะแพทย์, 2546)
วิธีการสกัด สารละลายหรือการกลั่นด้วยไอน้ำหรือการสกัดโดยใช้ไขมันดูดซับ
องค์ประกอบทางเคมี benzyl acetate (70-80%), linalyl acetate (7.5%), linalool (15-20%), nerol, nerolidol, terpineol, bezylaconol, cresol, eugenol ฯลฯ (Masada, Y., 1976)
ความรุนแรงของกลิ่น ระดับสูงมาก
คุณสมบัติ บรรเทาอาการซึมเศร้า แก้การอักเสบ ฆ่าเชื้อโรค กระตุ้นกำหนัด ขับเสมหะ ทำให้จิตใจสงบ ให้ความชุ่มชื้น มีความสุข ฯลฯ (D'Amelio, SF., 1998)
(ที่มา : www.musicradio.in.th/station/vie...d%3D1645)