- น้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ความหมายของน้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ประเภทของสุคนธบำบัด
- แหล่งที่มาของน้ำมันหอมระเหย
- องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย
- คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยจากพืชแต่ละวงศ์
- ฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหย
- รูปแบบการใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหย
- ธุรกิจสปาในประเทศไทย
- ตัวอย่างของน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยม
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
Page 13 of 14
บทสรุป
ในสภาวะแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษ ผู้คนมักประสบปัญหามากมายจนก่อให้เกิดความวิตกกังวลหรือโรคเครียดตามมา การบำบัดโดยใช้กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยเป็นวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากพืชธรรมชาติ มีคุณสมบัติในการบำบัดหรือรักษาโรคที่ไม่ร้ายแรง มักนิยมใช้ควบคู่กับสุคนธบำบัด ซึ่งเป็นศาสตร์และศิลปะแห่งการบำบัดด้วยกลิ่นหอม โดยกลิ่นหอมของพืชจะเข้าสู่ระบบต่างๆภายในร่างกาย เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด ฯลฯ โดยวิธีการสัมผัสผ่านทางผิวหนังหรือจากการสูดดม ช่วยให้ระบบต่างๆภายในร่างกายและจิตใจเกิดความสมดุล รวมทั้งกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานดีขึ้น การบำบัดด้วยกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยจึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ที่ดูแลและเอาใจใส่สุขภาพ