- น้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ความหมายของน้ำมันหอมระเหยและสุคนธบำบัด
- ประเภทของสุคนธบำบัด
- แหล่งที่มาของน้ำมันหอมระเหย
- องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
- วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย
- คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยจากพืชแต่ละวงศ์
- ฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหย
- รูปแบบการใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหย
- ธุรกิจสปาในประเทศไทย
- ตัวอย่างของน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยม
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
น้ำมันหอมระเหยเป็นสารประกอบที่มีส่วนผสมซับซ้อน แต่ละชนิดประกอบด้วยองค์ประกอบทางเคมีหลายชนิด ส่วนใหญ่มักจะเป็นสารประกอบจำพวกเทอร์พีนส์ (terpenes) สูตรโดยทั่วไป คือ (C5H8)n สามารถแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมีได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. โมโนเทอร์พีนส์ (Momoterpenes) มีอะตอมของคาร์บอนเป็นโครงสร้างหลัก 10 อะตอม เกิดจากการนำ isoprene 2 ตัวมาเชื่อมต่อกัน มีทั้งในรูปของสารเรียงตัวแบบเป็นวง เช่น limonene พบมากในน้ำมันมะนาวและน้ำมันผิวส้ม และเรียงตัวแบบไม่เป็นวง เช่น ß-myrcene, linalool (ดังรูปที่ 1) (ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ, 2550) น้ำมันหอมระเหยในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการกระตุ้นระบบประสาท ระงับเชื้อและขับเสมหะ นอกจากนี้ยังพบว่า มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งและชักนำให้เกิด apoptosis ได้อีกด้วย (จีรเดช มโนสร้อยและคณะ, 2553
Limonene ß-Myrcene
2. เสสควิเทอร์พีนส์ (Sesquiterpenes) มีอะตอมของคาร์บอนเป็นโครงสร้างหลัก 15 อะตอม เกิดจากการนำ isoprene 3 ตัวมาเชื่อมกัน (ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ, 2550) เช่น สาร ß-caryophyllene พบมากในน้ำมันในฝรั่ง สาร zingiberene พบมากในน้ำมันสกัดจากพืชตระกูลขิง (ดังรูปที่ 2) สารในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยผ่อนคลาย
Humulene Zingiberene
รูปที่ 2 แสดงโครงสร้างของสารในกลุ่ม Sesquiterpenes
3. ฟีนิลโพรพีน (Phenylpropenes) มีโครงสร้างหลักเป็นวงอะโรมาติก (aromatic ring) ต่อกับอะตอมของคาร์บอน 3 อะตอม เช่น สาร Eugenol/Cinnamic aldehyde พบในน้ำมันหอมระเหยจากกานพลู อบเชยจีน อบเชยลังกา มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียและชาเฉพาะที่ (local anesthetic) สาร Anethole/Estragole พบได้ในน้ำมันหอมระเหยจากต้นจันทน์เทศ (nutmeg) โหระพา (sweet basil) เป็นต้น มีคุณสมบัติในการแก้อาการเกร็ง (ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ, 2550)