- น้ำยาปรับผ้านุ่ม
- คุณลักษณะของน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- ผลของการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม
- หลักการทำงานของน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- หลักการทำงานของสารออกฤทธิ์ทำให้ได้คุณสมบัติบางอย่างจากน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- คุณสมบัติของส่วนประกอบหลักของน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- การผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มและเครื่องมือที่ใช้
- การตรวจสอบคุณภาพของน้ำยาปรับผ้านุ่มหลังการผลิต
- ความปลอดภัยในการปฏิบัติ
- สิ่งแวดล้อม
- คำเตือน
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
Page 2 of 14
คุณลักษณะของน้ำยาปรับผ้านุ่ม
น้ำยาปรับผ้านุ่มที่ขายในต่างประเทศมีทั้งชนิดน้ำและชนิดแผ่น น้ำยาปรับผ้านุ่มชนิดน้ำมีแบบธรรมดาและแบบเข้มข้น 3-5 เท่า ในประเทศไทยน้ำยาปรับผ้านุ่มที่จำหน่ายโดยทั่วไปจะเป็นชนิดน้ำที่ใช้ใส่ภายหลังการซักผ้าโดยผสมกับน้ำสุดท้ายที่ใช้ล้างผ้า มีวางจำหน่ายทั้งแบบธรรมดาและแบบเข้มข้น ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะเป็นแบบธรรมดา ดังนั้นบทความนี้จะกล่าวถึงน้ำยาปรับผ้านุ่มแบบธรรมดาเป็นหลัก เพราะการทำน้ำยาปรับผ้านุ่มแบบเข้มข้น 3-5 เท่าจะ ต้องใช้สูตรและกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและมีความแตกต่างกันกับน้ำยาปรับผ้านุ่มแบบธรรมดามาก
น้ำยาปรับผ้านุ่มแบบธรรมดาเป็นของเหลวที่มีได้หลายสี ส่วนใหญ่เป็นสีชมพู ฟ้า เหลืองหรือขาวขุ่น ใช้ใส่ในน้ำสุดท้ายหลังล้างผ้าด้วยน้ำเปล่าจนสะอาดและหมดผงซักฟอกแล้ว วิธีใช้จะต้องตวงน้ำยาปรับผ้านุ่มตามปริมาตรที่กำหนดโดยบริษัทผู้ผลิตสินค้า ปริมาตรที่ใช้นี้สามารถปรับเพิ่มลดได้ตามความชอบของผู้บริโภค เทน้ำยาที่ตวงลงในน้ำ ทำให้น้ำยากระจายตัวในน้ำแล้วนำเสื้อผ้าที่ล้างน้ำจนสะอาดแล้วมาแช่ในน้ำยาประมาณ 5-15 นาที แล้วนำเสื้อผ้าไปตากจนแห้ง